วิจัยพบ การยับยั้งกลูตาเมต หยุดอาการซึมเศร้าได้ทันที อาจนำไปสู่การรักษาใหม่ ไม่ต้องพึ่งสารเสพติด

Date:

สำหรับประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาพวกเขาได้มีการนำสาร “เคตามีน” หรือที่เรารู้จักกันในฐานะ “ยาเค” มาใช้เป็นอีกหนึ่งในช่องทางการรักษาที่ได้ผลดีของโรคซึมเศร้า

แต่ถึงอย่างนั้นเคตามีนก็จัดว่าเป็นสารเสพติดอยู่ดี ในช่วงที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์จึงได้ศึกษาเคตามีนเรื่อยมา เพื่อหาว่าทำไมสารดังกล่าวถึงยับยั้งโรคซึมเศร้าได้ดีนัก และจะเป็นไปได้ไหมที่เราจะเลียนแบบผลของมันโดยไม่ต้องใช้สารเสพติด

และความพยายามของเหล่านักวิจัยก็ดูจะประสบผลแล้ว เมื่อล่าสุดนี้เองได้มีงานวิจัยซึ่งออกมาระบุว่า ที่เคตามีนสามารถยับยั้งโรคซึมเศร้าได้ดีและรวดเร็วขนาดนี้ อาจเป็นเพราะมันไปยับยั้งสารสื่อประสาทที่ชื่อ “กลูตาเมต” ก็ได้

 

อ้างอิงจากในงานวิจัยซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Molecular Psychiatry แนวคิดที่ว่าเคตามีนยับยั้งสารสื่อประสาทบางชนิดเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เคยสงสัยกันมานานแล้ว

ดังนั้นเพื่อทำความเข้าใจว่ากลไกต่างๆ เหล่านี้มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร นักวิจัยจึงได้ทดลองฉีดเคตามีน ในหนูตัดต่อพันธุกรรมให้มีโรคซึมเศร้า 2 ตัว

โดยหนูตัวหนึ่งจะได้รับสารเคมีบล็อกหน่วยรับความรู้สึกซึ่งควบคุมการปล่อยกลูตาเมตจากการถูกแซกแซงโดยสารอื่นๆ เพิ่มอีกขั้น

 

พวกเขาพบว่า หนูตัวที่ไม่ได้รับสารเคมีบล็อกหน่วยรับความรู้สึก จะมีปริมาณของกลูตาเมตในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็วในเวลาแค่ 30 นาทีหลังจากที่ได้รับเคตามีนเข้าไป และเริ่มแสดงอาการซึมเศร้าลดลงอย่างเห็นได้ชัด

ในขณะที่หนูซึ่งถูกสารเคมีบล็อกหน่วยรับความรู้สึก แม้จะได้รับเคตามีนเข้าไปก็จะยังคงมีระดับกลูตาเมตคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง และแน่นอนว่าในหนูตัวนี้ เคตามีนก็ไม่ได้ช่วยลดอาการซึมเศร้าเลยด้วย

 

นี่นับว่าเป็นการค้นพบที่น่าสนใจมาก เพราะมันไม่เพียงแต่ให้คำตอบเราว่าเคตามีนมีผลอย่างถึงยับยั้งโรคซึมเศร้าได้เท่านั้น แต่มันยังแสดงให้เห็นด้วยว่าหากเราสามารถควบคุมระดับกลูตาเมตได้ เราก็จะสามารถควบคุมอาการซึมเศร้าได้ตามไปด้วย

และผลงานของนักวิจัยในครั้งนี้ก็อาจจะสามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนายาต้านโรคซึมเศร้าตัวใหม่ ที่ไม่ใช่ยาเสพติดหรือมีผลข้างเคียงอื่นๆ มาใช้แทนที่เคตามีนได้ไม่ยากเลย

 

 

ที่มา

www.nature.com/articles/s41380-021-01246-3

www.iflscience.com/health-and-medicine/ketamine-immediately-halts-depression-by-inhibiting-glutamate-release-study-finds/

 

 

Share post:

Subscribe

spot_imgspot_img

Popular

More like this
Related

นักวิทย์เตือน พบคลื่นความร้อนใต้ทะเล เปลี่ยนมหาสมุทรเป็น “อ่างน้ำร้อน” พังระบบนิเวศ เร่งปัญหาภาวะโลกร้อน

กลายเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่กำลังสร้างความกังวลในหมู่นักวิทยาศาสตร์เลยครับ เมื่อไม่นานมานี้เอง องค์การบริหารมหาสมุทรศาสตร์และชั้นบรรยากาศ สหรัฐอเมริกา (NOAA) ได้ออกมาเปิดเผยว่า พวกเขาได้ค้นพบว่าคลื่นความร้อนสามารถเกิดขึ้นใต้ทะเลได้ด้วย และมันก็กำลังทำให้มหาสมุทรร้อนขึ้นจนกลายเป็นอ่างน้ำร้อนอยู่ จนอาจจะกลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ที่นั่นได้ไม่ยากเลยด้วย โดยการค้นพบใหม่นี้ เกิดขึ้นจากการพัฒนาของเทคโนโลยี...

เรื่องแปลกแดนจิงโจ้ นักวิทย์พบ ที่ออสเตรเลีย “ทอง” งอก บนต้นไม้ ได้ เพราะราก ยูคาลิปตัส ดูดทองจากใต้ดิน

เมื่อพูดถึงการตามหาแร่ทอง ภาพในหัวของหลายๆ คนก็คงไม่พ้นการขุดเหมืองหาเป็นอย่างแรกๆ แต่สำหรับนักวิทยาศาสตร์ที่ออสเตรเลียแล้ว อีกหน่อยเราก็อาจจะได้ตามหาทองกันตามใบต้นยูคาลิปตัสก็ได้นะ นั่นเพราะตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมาพวกเขาก็ได้ค้นพบว่า ระหว่างที่ต้นไม้ยูคาลิปตัสบางสายพันธุ์ (เช่น Eucalyptus...

พบไบสันอายุ 8,000 ปีในเพอร์มาฟรอสต์ อาจมี DNA สมบูรณ์มากจนนักวิทย์อยากเอามาโคลน

กลายเป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่กำลังเป็นที่สนใจในวงการวิทยาศาสตร์เลยครับ เมื่อไม่นานมานี้เองทีมนักวิทยาศาสตร์ในรัสเซียได้ ทำการชันสูตรซากไบซันอายุ 8,000 ปี ตัวหนึ่ง ก่อนจะพบว่ามันมีความสมบูรณ์สูงมาก จนพวกเขาเล็งที่จะทำการโคลนนิ่งมันเลย ไบซันตัวนี้ ถูกพบเป็นครั้งแรกในช่วงปี 2022...

อย่างโบ๊ะบ๊ะ!! คุณป้าท่านหนึ่ง ส่งโพยหวย ในไลน์กลุ่มแจ้งเหตุด่วน ที่ดูแลโดยตำรวจ ทำเลิ่กลั่กกันหมด

บอกเลยว่าเป็นเหตุการณ์ที่โบ๊ะบ๊ะจริง ๆ เลยล่ะฮะ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นใน ไลน์กลุ่ม "สมาร์ทเซพตี้โซน สภ.เมืองตราด" ซึ่งเป็นกลุ่มไลน์สำหรับแจ้งเหตุด่วน ในพื้นที่รับผิดชอบของ สภ.เมืองตราด...