ไขปริศนาคาใจ หากเราตบยุงตอนมันดูดเลือด ปากของมันจะหลุดคาอยู่ในตัวเราไหม?

Date:

เชื่อว่าในการใช้ชีวิตอันยาวนานของผู้คน ไม่ว่าใครก็คงจะเคยตบยุงกันมาสักครั้ง เพราะเชื่อว่าต่อให้ไม่พูดถึงโรคร้ายอย่างไข้เลือดออกหรือมาลาเรีย สำหรับหลายๆ คนแล้ว การถูกยุงกัดมันก็คงไม่ใช่ความรู้สึกที่ดีนัก

แต่เคยคิดกันเล่นๆ ไหมว่า หากเราตบยุงตอนมันดูดเลือดมันจะสามารถเกิดผลกระทบอะไรได้บ้าง มันจะเป็นไปได้ไหมที่ปากของยุงจะคาอยู่ในตัวเรา? ในวันนี้เราจะมาหาคำตอบกัน

 

 

นับว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าสนใจเลย เพราะแม้เราจะมีงานวิจัยที่ระบุข้อมูลการดูเลือดของยุงอยู่ค่อนข้างเยอะ แต่มันกลับแทบไม่มีข้อมูลใดๆ เลยที่ระบุอย่างชัดเจนว่าปากของยุงนั้นจะเป็นอย่างไรต่อไปหากยุงถูกตบระหว่างดูดเลือด

อย่างไรก็ตามเราก็มีหลักฐานมากมายอยู่เช่นกันว่าปากของยุงนั้นจริงๆ แล้ว ไม่เชิงว่าเป็นเข็มแข็งๆ แบบเข็มฉีดยาเสียทีเดียว กลับกันปากของยุงจะประกอบด้วยเข็ม 6 เข็มที่มีผิวคล้ายท่อคลุมอยู่ อีกชั้น

 

 

โดยเข็มเหล่านี้จริงๆ แล้วจะมีความยืดหยุ่นสูงมาก และสามารถควบคุมได้อย่างเต็มที่ เปิดโอกาสให้ยุงสามารถงอปากไปมาใต้ผิวของเราเพื่อตามหาหลอดเลือดได้

ความยืดหยุ่นนี้เองทำให้ปากของยุงมีความทนทานอย่างไม่น่าเชื่อ จนโดยปกติแล้วต่อให้ยุงถูกตบจนเละปากของมันก็จะมีโอกาสสูงที่จะหลุดติดไปกับซากยุงมากกว่าที่จะคาอยู่ใต้ผิวของเรา

 

ส่วนปากขยองยุงขยับเพื่อตามหาเส้นเลือด

 

แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามแม้ในกรณีปากที่ของยุหลุดจากซากยุงและปักคาอยู่ในร่างกายของคนได้จริงๆ มนุษย์ก็มีความสามารถที่จะจัดการกับมันได้ง่ายๆ อยู่ดี

เพราะนอกจากการที่เราดึงปากของยุงออกเองด้วยมือหรือแหนบแล้ว ดูเหมือนว่าร่างกายของเราก็จะมีวิธีรับมือกับมันได้อีกหลายแบบเลย

โดยหนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดที่ร่างกายเราจะนำสิ่งแปลกปลอมออกจากผิวก็คงจะไม่พ้นการผลัดผิวหนังเก่าออก ในรูปแบบของขี้ไคล ซึ่งมักจะเกิดขึ้นทุก ๆ 28 วัน

ในขณะที่ชิ้นส่วนของยุงที่อาจจะฝังลึกกว่านั้น มันก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกร่างกายของเราย่อยสลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยและขับออกไปทางเลือดอีกที เช่นเดียวกับสิ่งแปลกปลอมขนาดเล็กส่วนใหญ่ที่หลงเข้ามาในร่างกายของเรา

 

 

ดังนั้นแล้วแม้เราจะยังคงมีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่เยอะ แต่มันก็คงมากพอที่จะยืนยันได้ว่าการตบยุงระหว่างที่มันดูเลือดเรานั้น ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลอะไรนัก

กลับกันมันก็คงจะเป็นเรื่องที่ดีกว่าแน่ๆ หากเราจะไม่โดนยุงกัดเลย นั่นเพราะสุดท้ายแล้วสิ่งที่น่ากลัวของยุงก็ไม่ใช่การที่มันดูดเลือดเราโดยตรง แต่เป็นโรคต่างๆ ที่มียุงเป็นพาหะต่างหาก

 

 

ที่มา nationalgeographic, reddit 1, reddit 2 และ quora

Share post:

Subscribe

spot_imgspot_img

Popular

More like this
Related

คุณพ่อสักรอยเท้าลูกไว้ที่หน้าอก ชาวเน็ตเป็นห่วงกลัวลูกได้บาป ช่างสักบอก ก็รักลูกทำแบบนี้ไม่ดีตรงไหน?

ทำด้วยความรัก แต่เจอดราม่าจากชาวเน็ตซะงั้น!? คลิปนี้กำลังเป็นที่พูดถึงใน TikTok เลย เมื่อผู้ใช้งานรายหนึ่งได้โพสต์คลิปของคุณพ่อป้ายแดง ที่ตัดสินใจสักรูปรอยเท้าลูกคนแรกของครอบครัวไว้ที่หน้าอก "รักไม่มีข้อแม้...หวงเจ้าดั่งดวงใจ ความรักเป็นสิ่งสวยงามเสมอ รักรอยฝ่าเท้าลูก" ข้อความในแคปชัน ทีนี้พอคลิปถูกเผยแพร่ออกไปก็มีทั้งคนเข้ามาชื่นชม...

พรรคก้าวไกล เปิดตัว แคน แคน อดีต BNK48 ลง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ

วันนี้ (27 มี.ค. 66) ที่พรรคก้าวไกล มีการเปิดตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อ โดยมีชื่อของน.ส.นายิกา ศรีเรียน หรือ...

พบ มัมมี่หัวแกะ จำนวนร่วม 2,000 หัว ถูกฝังไว้ใกล้ วิหารฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 คาดใช้เป็นเครื่องบูชาเมื่อ 2,300 ปีก่อน

ถือเป็นข่าวการค้นพบที่น่าทึ่งอีกชิ้นของประเทศอียิปต์เลยครับ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2023 ที่ผ่านมากระทรวงการท่องเที่ยวและโบราณวัตถุของอียิปต์ได้ประกาศการค้นพบ หัวแกะตัวผู้จำนวนมากถึง 2,000 หัว ถูกฝังไว้ในลักษณะหลายมัมมี่...

หมีน้ำ ยังเทพได้อีก วิจัยพบเราสามารถ นำ “โปรตีน” จากตัวมัน ไปช่วย เก็บรักษายาบางตัว โดยไม่ต้องแช่เย็นได้

นับว่าเป็นอีกข่าวที่ช่วยเพิ่มความน่าทึ่งของสิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วแต่อึดสุดๆ ตัวหนึ่งของโลกอย่าง "หมีน้ำ" (Tardigrades) เลยครับ เพราะนอกจากมันจะทนถึงขนาดถูกส่งไปในอวกาศก็ไม่ตายเท่านั้น แต่ล่าสุดนี้เองนักวิทยาศาสตร์ยังพบด้วยว่าเราอาจใช้โปรตีนของมันในการช่วยเก็บรักษายา "โรคฮีโมฟีเลีย" (โรคเลือดออกไม่หยุด) โดยที่ไม่ต้องแช่เย็นอีกด้วย ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะที่ผ่านมายาโรคฮีโมฟีเลียนั้น...