วิจัยพบ “ไซโลไซบิน” แค่หนึ่งโดส ซ่อมแซมการเชื่อมต่อประสาทที่เสียไปจากภาวะซึมเศร้าได้

Date:

เชื่อว่าหลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินกันมาบ้างว่าโรคซึมเศร้านั้นไม่ได้มีผลกระทบเพียงแค่ในด้านจิตใจของผู้คนเท่านั้น แต่ในด้านร่างกายเองโรคซึมเศร้ายังมีหลักฐานอยู่หลายชิ้นว่าสามารถทำลายการเชื่อมต่อประสาทบางส่วนได้ โดยเฉพาะที่สมองคอร์เทกซ์กลีบหน้า

ดังนั้นนี่จึงอาจจะเป็นข่าวดีที่น่าสนใจของเหล่าคนที่เป็นโรคซึมเศร้า หรือมีญาติเป็นโรคซึมเศร้าเลย เพราะเมื่อล่าสุดนี้ เขาก็เพิ่งมีงานวิจัยใหม่จากมหาวิทยาลัยเยลซึ่งออกมาบอกว่า

การได้รับสาร “ไซโลไซบิน” แม้แค่เพียงหนึ่งโดสนั้น จะสามารถช่วยกระตุ้นการซ่อมแซมการเชื่อมต่อประสาทที่เสียไปจากภาวะซึมเศร้าได้ และอาจกลายเป็นอีกทางเลือกการรักษาโรคซึมเศร้า ที่น่าสนใจเลย

 

 

สารไซโลไซบินนั้นเป็นสารออกฤทธิ์ที่พบได้ในเห็ดขี้ควาย หรือ เห็ดวิเศษ โดยที่ผ่านๆ มา มันได้รับการพิสูจน์หลายต่อหลายครั้งแล้วว่าสามารถช่วยลดอาการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้จริงๆ

อย่างไรก็ตามในงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Neuron ฉบับวันที่ 5 กรกฎาคม 2021 ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้เกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่ามันจะเป็นไปได้ไหมที่สารตัวนี้จะช่วยซ่อมแซมสิ่งที่โรคซึมเศร้าทำลายไป

ซึ่งในกรณีนี้คือจำนวนและความหนาแน่นของ “หนามเดนไดรต์” ระบบเชื่อมเซลล์ประสาทเพื่อการสื่อสารชนิดหนึ่ง ซึ่งมักมีจำนวนลดลงในหมู่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

 

 

พวกเขาพบว่าหลังจากที่ฉีดสารไซโลไซบินให้กับหนูทดลองเป็นเวลา 24 ชั่วโมงหนามเดนไดรต์ภายในคอร์เทกซ์ส่วนหน้าของหนูจะมีจำนวนการเชื่อมต่อเพิ่มขึ้นถึง 10 เปอร์เซ็นต์

แถมตัวหนามส่วนใหญ่ยังมีขนาดใหญ่ถึงอีก 10 เปอร์เซ็นต์ แสดงให้เห็นถึงการเชื่อมต่อที่แข็งแรงขึ้น และผลที่เห็นนี้ ก็จะคงอยู่แบบนั้นแม้เวลาผ่านไปนานถึงหนึ่งเดือนแล้วก็ตามด้วย

เท่านั้นยังไม่พอนอกจากหนามเดนไดรต์แล้ว นักวิจัยยังสังเกตเห็นสารสื่อประสาทอีกหลายชนิดมีการถูกกระตุ้นเพิ่มขึ้นในสมองของหนูด้วยซึ่งบ่งชี้ได้เป็นอย่างดีว่า การขาดดุลของสารต่างๆ ในสมองจากภาวะซึมเศร้า อาจกำลังถูกซ่อมแซมโดยไซโลไซบินอยู่

และเราก็คงจะไม่ต้องพูดถึงว่าหนูที่ได้รับยาเองยังมีการแสดงพฤติกรรมที่ดีขึ้นเมื่อเผชิญกับความเครียดด้วย

 

 

“เป็นเรื่องน่าประหลาดใจอย่างยิ่งที่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนแบบนี้จากไซโลไซบินเพียงโดสเดียว…
ไม่แน่เหมือนกันว่า การเชื่อมต่อใหม่เหล่านี้อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่สมองใช้เพื่อเก็บประสบการณ์ใหม่ก็ได้”

Alex Kwan รองศาสตราจารย์ด้านจิตเวชศาสตร์และประสาทวิทยา
แห่งมหาวิทยาลัยเยล ผู้เขียนหลักของงานวิจัยระบุ

 

 

จริงอยู่ว่าผลการทดลองที่นักวิทยาศาสตร์พบในหนูนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องมีผลแบบเดียวกันในมนุษย์แต่อย่างไร และทีมวิจัยเองก็เชื่อว่าพวกเขายังคงต้องมีการวิจัยอีกมากกว่าที่จะมั่นใจได้ว่าสารไซโลไซบินสามารถรักษาหนามเดนไดรต์ในมนุษย์ได้เช่นกัน

แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามนี่ก็เป็นอีกหนึ่งในผลการทดลองที่คงจะทำให้หลายๆ คนรู้สึกดีได้ไม่น้อย และหากโชคดี มันก็ไม่แน่เหมือนกันว่าการวิจัยสารไซโลไซบินเหล่านี้ ก็อาจจะกลายเป็นสิ่งที่ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เอาไว้ได้หลายต่อหลายคนในอนาคตเลย

 

ที่มา iflscience และ cell

Share post:

Subscribe

spot_imgspot_img

Popular

More like this
Related

I AM KRU. พื้นที่ปลอดภัยสำหรับครู เชื่อมสังคมสร้างสรรค์ของคนสอน ปรับการสอน ก้าวเดินไปพร้อมกับครูทุกคน

เมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และยากที่จะคาดการณ์ล่วงหน้า “การเตรียมความพร้อมในด้านความรู้ ทักษะ และจิตใจ” จึงเป็นสิ่งสำคัญมากๆ และต้องอาศัย “ครูมืออาชีพ” ร่วมเป็นสังคมสร้างสรรค์ของคนสอน เพื่อผนึกกำลังในการเปลี่ยนห้องเรียนปรับการสอนให้เท่าทันโลกยุคดิจิทัล I...

มนต์รัก The Glory Dispatch เผย อีโดฮยอน เดตกับ อิมจียอน

เช้าวันที่ 1 เมษายน 2023 เป็นวันที่ทำเอา #เหมียวนานะ เจ็บปวดหัวใจสุดๆ เพราะล่าสุดสำนักข่าวดังของเกาหลีใต้อย่าง Dispatch...

เผยโฉมน้อง Maia Kealoha ผู้จะมารับบทบาท ลีโล่ ใน Lilo & Stitch (2024)

ในที่สุด Lilo & Stitch การ์ตูนในดวงใจใครหลายคนกำลังจะถูกนำมาสร้างในเวอร์ชั่น Livre Action แล้วค่ะ แน่นอนว่าหลายคนคงรอคอยให้ดิสนีย์ประกาศนักแสดงผู้มารับบทบาท "ลีโล่"...

เด็ก Gen Z สหรัฐ กำลังกลับมานิยม ใช้ มือถือแบบเก่า/Dumb phones มีเอาไว้ใช้แค่ “โทรเข้า-ออก” ก็เกินพอ

ในยุคที่เทคโนโลยีกำลังพัฒนาอย่างก้าวกระโดดแบบนี้ "สมาร์ตโฟน" ถือเป็นสิ่งที่แทบทุกคนต้องมีไว้ในครอบครองกันสักเครื่อง แต่เชื่อไหมว่าสำหรับเด็กรุ่นใหม่โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา เราก็กำลังมีอีกเทรนด์โทรศัพท์ที่กำลังได้รับความนิยมขึ้นอย่างก้าวกระโดดเลย เพราะด้วยเหตุผลบางอย่างในปัจจุบัน โทรศัพท์แบบธรรมดาๆ อย่างรุ่นฝาพับหรือ 3310 นั้น ได้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งในหมู่เด็ก...