นักวิทย์หวั่น พบ “ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน” ลุกโชนอีกครั้ง ใต้ซากโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล


กลายเป็นเรื่องราวที่กำลังเป็นที่สนใจและจับตามองของทั้งประเทศยูเครนและคนทั่วโลกไปแล้ว

เมื่อล่าสุดนี้เอง ลึกลงไปในซากปรักหักพังของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิล ได้เกิดเหตุปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันเริ่มลุกโชนขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่เหตุภัยพิบัติเพิ่งจะครบรอบ 35 ปีไปได้ไม่นาน

 

 

เรื่องราวในครั้งนี้ถูกรายงานออกมาเป็นครั้งแรก จากนักวิทยาศาสตร์ชาวยูเครนจากสถาบันความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (ISPNPP) เมื่อช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

โดยพวกเขาได้ตรวจพบนิวตรอนจำนวนมากผิดปกติเล็ดลอดออกมาจากห้องที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ซึ่งเป็นหลักฐานอย่างดีว่าปฏิกิริยาฟิชชันภายในนั้น กำลังเริ่มขึ้นอีกครั้งด้วยเหตุผลบางอย่าง

 

 

“มันเหมือนถ่านไฟแดงฉานในหลุมบาร์บีคิวไม่มีผิด”

Neil Hyatt ศาสตราจารย์ด้านเคมีวัสดุนิวเคลียร์แห่งมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ระบุ

 

อ้างอิงจากข้อมูลของเขาห้องที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ที่กล่าวมานี้ตั้งอยู่ที่บริเวณชั้นใต้ดินของแกนหลักของเครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 4 โดยเมื่อราวๆ 35 ปีก่อน ที่แห่งนี้ได้ถูกยูเรเนียมซึ่งกำลังแผ่รังสีราวๆ 170 ตันไหลลงไปขังตัวอยู่

ก่อนที่ทั้งตัวห้องจะถูกปิดตายเนื่องจากยูเรเนียมเหล่านั้นในเวลาต่อมาได้แข็งตัวจากอุณหภูมิที่ลดลงคล้ายลาวา และค่อยๆ มีระดับรังสีที่ค่อนข้างคงที่ขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

จนกระทั่งเมื่อล่าสุดนี้ซึ่งจู่ๆ ค่านิวตรอนในพื้นที่ก็เริ่มเพิ่มขึ้นอีกครั้ง

 

 

“ในปัจจุบันผลตรวจนี้ ยังมีความไม่แน่นอนอีกมาก

แต่เราก็ไม่สามารถตัดความเป็นไปได้ที่จะเกิดอุบัติเหตุได้เลย”

Maxim Saveliev เจ้าหน้าที่จาก ISPNPP กล่าว

 

นับว่าเป็นเรื่องน่าเสียดายมากที่ในปัจจุบันเรายังไม่สามารถระบุได้เลยว่าสาเหตุของปฏิกิริยาที่ถูกพบนี้มันมาจากอะไรกันแน่

เพราะแม้ในอดีตเราอาจจะเคยมีการเพิ่มขึ้นของนิวตรอนได้จากเหตุน้ำฝนไหลเข้าไปในห้องดังกล่าว แต่ในปัจจุบันตัวโรงไฟฟ้าก็ได้ถูกคลุมไว้โดยโดมแบบใหม่เพื่อแก้ปัญหานี้แล้ว

 

 

ดังนั้นในปัจจุบันทีมนักวิทยาศาสตร์จึงวางแผนที่จะใช้หุ่นยนต์เอาาไปติดตั้งแท่งโบรอนในซากยูเรเนียมแข็งตัวเพื่อลดปริมาณนิวตรอนที่รั่วออกมาเอาไว้ก่อน

ซึ่งมันถือเป็นโชคดีของพวกเขามากที่ปริมาณนิวตรอนที่กำลังเพิ่มขึ้นนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นแบบรวดเร็วนัก ดังนั้นพวกเขาจึงน่าจะมีเวลาให้วางแผน ตามหาต้นตอของปัญหา และดำเนินการแก้ไขมันอีกมาก

และด้วยการจับตามองดังแต่เนิ่นๆ เช่นนี้มันก็ทำให้มันมีโอกาสน้อยมากที่เรื่องราวที่เกิดขึ้น จะกลายเป็นภัยพิบัติครั้งใหญ่อีกครั้ง ดั่งเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อราวๆ 35 ปีก่อน

 

ที่มา iflscience และ sciencemag


Like it? Share with your friends!

0 Comments

Choose A Format