ผมไปเจอเรื่องน่าสนใจมาครับ มีคนโพสต์ว่าในปี ค.ศ. 1582 เดือนตุลาคม มีแค่ 21 วัน คือวันที่ 4 แล้วก็ข้ามไปเป็นวันที่ 15 เลย!?
โพสต์ต้นทาง : https://www.facebook.com/kodkid.iq/posts/pfbid02ApmTv2Mwzg9y2rCPhburvwLyoqmyBS1N4TSdh1RDN2qb9tBy1GTXPYtnpECNqedRl
ด้วยสาเหตุนี้ผมก็เลยลองเลื่อนดู ปรากฏว่า “เป็นเรื่องจริง” ซะด้วย!? แล้วทำไมถึงเป็นแบบนั้น!? ผมก็เลยไปเสิร์ชหาข้อมูลเพิ่มเติมมา และจะมาเล่าให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกันในบทความนี้แหละฮะ
– ต้องอธิบายก่อนว่าเรื่องนี้มันไม่ได้เกี่ยวกับความผิดพลาดทางเทคนิคของโปรแกรมเมอร์แต่อย่างใด และไม่ได้เกิดจากการเข้าอุโมงค์ หรือแกนวาร์ปข้ามเวลาด้วย
– ถ้าให้อธิบายแบบสั้น ๆ มันเกิดมาจาก “การเปลี่ยนปฏิทิน” ในการนับจำนวนวันใน 1 ปี นั่นเองฮะ ก็เลยทำให้จำนวนวันมันคลาดเคลื่อน
– เดิมทีในศาสนาคริสต์ เค้าจะใช้การนับวันแบบปฏิทิน Julian ที่ถูกเสนอขึ้นมาโดย Julius Caesar เมื่อช่วง 45 ปีก่อนคริสตกาล
– และทางศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก ก็ตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้การนับปฏิทินแบบใหม่ ที่ชื่อว่าการนับปฏิทินแบบ Gregorian (เกรกอเรียน) ในเดือนตุลาคม ปี 1582
– ซึ่งทั้งสองวิธีการนับวันนั้นมีลักษณะคล้าย ๆ กัน ประกอบไปด้วยมี 12 เดือนเหมือนกัน, มีบางเดือนที่มี 31 วัน และ 30 วัน มีเดือนนึงที่จะมี 28 วัน, สลับกับ 29 วันทุก ๆ 4 ปี, และใน 1 ปีจะมี 365-366 วัน
– ในส่วนของความแตกต่าง มันจะอยู่ที่วิธีการหารนี่แหละฮะ คือของ Julian เนี่ยเค้าจะกำหนดให้เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันทุก ๆ 4 ปี ก็มาจากการคำนวณจำนวนวันใน 1 ปีนี่แหละ ที่ใช้ตัวเลข 365.25 แบบเป๊ะ ๆ
– แต่ของ Gregorian เนี่ยเค้าจะคำนวณตัวเลขได้ว่า 365.2425 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับความจริงมากที่สุด ก็เลยใช้หลักเกณฑ์ตามเดิม แต่จะพิเศษตรงที่ในทุก ๆ จำนวนปีที่หาร 100 ลงตัว จะไม่มีการเพิ่มวันที่ 29 ของเดือนกุมภาพันธ์ และเพิ่มวันที่ 29 เข้ามาในปฏิทินอีกทีในปีที่หาร 400 ลงตัว (หวังว่าจะพอเข้าใจนะ)
– แม้ว่าจากความคลาดเคลื่อนนั้นอาจจะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่สำหรับคริสตจักรแล้วมันเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะเดิมทีจะมีการกำหนดให้วันอิสเตอร์ ตรงกับวันอาทิตย์หลังจากวันพระจันทร์เต็มดวงครั้งแรก ถัดจากวันวสันตวิษุวัต (21 มีนาคม)
– แต่จากความคลาดเคลื่อนนั่นแหละ มันทำให้วันวสันตวิษุวัตมันเริ่มขยับเข้ามาเร็วขึ้นเรื่อย ๆ จนในช่วงปี 1582 ดันไปตรงกับวันที่ 11 มีนาคม เป็นจำนวนวัน 10 วันพอดีเป๊ะ และทำให้วันอีสเตอร์มันคลาดเคลื่อนจากที่ควรจะเป็น
– ด้วยสาเหตุนี้พระสันตะปาปา Gregorian ก็เลยเสนอวิธีการแก้ปัญหาด้วยการเปลี่ยนวิธีการนับปฏิทิน มาเป็นแบบ Gregorian แทนซึ่งแม่นยำกว่า
– ทีนี้พอเปลี่ยนปุ๊บ มันก็ทำให้ทางคริสตจักรต้องตัดจำนวนวันออกไป 10 วัน มีการประชุมหารือกันและสุดท้ายก็เลือกเป็นเดือนตุลาคม เพราะไม่มีวันสำคัญทางศาสนาคริสต์ในช่วงนั้น
– ก็เลยเป็นที่มาของการที่อยู่ ๆ วันที่ 4 ตุลาคม อยู่ ๆ ก็โดนข้ามไปเป็นวันที่ 15 ตุลาคม ในปี 1582 นั่นเองฮะ
#เหมียวหง่าว
ที่มา : https://www.iflscience.com/why-october-is-missing-10-days-in-the-year-1582-on-your-phone-74872