ชม 20 ภาพถ่ายกล้องจุลทรรศน์รางวัล “Nikon Small World 2021” ที่จะเผยให้เห็นโลกอีกใบได้อย่างดี

Date:

ว่ากันว่าโลกของเรานั้น กว้างใหญ่และมีอะไรให้เราค้นหามากมาย เพราะแม้ของใกล้ตัวหากเราหยิบมันขึ้นมาส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ เราก็อาจจะเห็นสิ่งงดงามใหม่ๆ ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนได้ไม่ยาก

ไม่แน่ว่าความงดงามเหล่านี้เองที่อาจจะเป็นสิ่งที่ผลักดันผู้คนเข้าแข่งขันภาพกล้องจุลทรรศน์ อย่างรางวัล “Nikon Small World contest” กันก็เป็นได้ เพราะภาพของเหล่าชนะรางวัลงานแข่งในปีนี้ไม่ว่าจะภาพไหนก็เรียกได้ว่าแปลก มีเสน่ห์และน่าค้นหาเอามากๆ เลย

ด้วยเหตุนี้เองในวันนี้   #เหมียวศรัทธา จึงจะพาเพื่อนๆ ไปชมส่วนหนึ่งของภาพถ่ายรางวัลจากการประกวด  Nikon Small World contest 2021 กัน เราไปดูกันว่า ภาพกล้องจุลทรรศน์ระดับโลกนั้นจะออกมาสวยขนาดไหน และเป็นรูปของอะไรกันบ้าง

 

เรามาเริ่มกันจากภาพถ่ายรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 โดยคุณ Jason Kirk

โดยมันเป็นภาพของ “ไตรโคม”  (ขนเล็กๆ สีขาวที่ติดอยู่ตามบริเวณรอบใบพืช) และปากใบสีม่วงของต้นโอ๊กทางใต้

 

ต่อกันด้วยภาพถ่ายรางวัลอันดับที่ 2 โดยคุณ Esmeralda Paric และ Holly Stefen

เป็นภาพของอุปกรณ์ไมโครฟลูอิดิก (microfluidic device) ที่มีเซลล์ประสาทเครือข่ายจำนวนมหาศาล โดยมันถูกแยกออกเป็นสองกลุ่มและถูกนำไวรัสที่ต่างกัน 2 แบบมาใส่เป็นที่มาของสีที่แตกต่างกัน

 

ภาพถ่ายรางวัลอันดับที่ 3 โดยคุณ Frank Reiser

เป็นภาพของ ขาหลัง กรงเล็บ และหลอดลมของเหา (Haematopinus suis)

 

ภาพถ่ายรางวัลอันดับที่ 4 โดยคุณ Paula Diaz

เป็นภาพของ เซลล์ประสาทรับความรู้สึกจากตัวอ่อนหนู

 

ภาพถ่ายรางวัลอันดับที่ 5 โดยคุณ Oliver Dum

เป็นภาพปากของแมลงวันบ้าน (Musca domestica)

 

ภาพถ่ายรางวัลอันดับที่ 6 โดยคุณ  Andrea Tedeschi

เป็นภาพหลอดเลือดของสมองหนูแบบ 3D

 

ภาพถ่ายรางวัลอันดับที่ 7 โดยคุณ Tong Zhang และ Paul Stoodley

เป็นภาพของหัวเห็บ

 

ภาพถ่ายรางวัลอันดับที่ 8 โดยคุณ Amy Engevik

เป็นภาพตัดขวางของลำไส้หนู

 

ภาพถ่ายรางวัลอันดับที่ 9 โดยคุณ Jan van IJken

เป็นภาพของ หมัดน้ำ (Daphnia) ที่กำลังอุ้มตัวอ่อน

 

ภาพถ่ายรางวัลอันดับที่ 10 โดยคุณ Sébastien Malo

เป็นภาพของเส้นเลือดและเกล็ดบนปีกผีเสื้อ (Morpho didius)

 

ภาพถ่ายรางวัลอันดับที่ 11 โดยคุณ Jason Kirk และ Carlos P. Flores Suarez

เป็นภาพหลอดเลือด จอเรตินาของหนู

 

ภาพถ่ายรางวัลอันดับที่ 12 โดยคุณ Jakub Sumbal

เป็นภาพของ อวัยวะเต้านม ซึ่งมีเซลล์กล้ามเนื้อ (สีน้ำเงิน) กระจายคลุมเซลล์คัดหลั่งเต้านม

 

ภาพถ่ายรางวัลอันดับที่ 13 โดยคุณ Felice Placenti

เป็นภาพของผ้าฝ้ายที่ปนเปื้อนเกสร

 

ภาพถ่ายรางวัลอันดับที่ 14 โดยคุณ Joern N. Hopke

เป็นภาพของเกล็ดหิมะ

 

ภาพถ่ายรางวัลอันดับที่ 15 โดยคุณ Bernard Allard

เป็นภาพของไดอะตอม (Arachnoidiscus)

 

ภาพถ่ายรางวัลอันดับที่ 16 โดยคุณ Ruohan Zhong

เป็นภาพของเซลล์ประสาทรอบปากและหนวดของดอกไม้ทะเล (Nematostella vectensis)

 

ภาพถ่ายรางวัลอันดับที่ 17  โดยคุณ Martin Kaae Kristiansen

เป็นภาพเส้นใยของไซยาโนแบคทีเรียที่จับอยู่ภายในเจลาติน

 

ภาพถ่ายรางวัลอันดับที่ 18 โดยคุณ Saulius Gugis

เป็นภาพของผลึกเกลือแกง

 

ภาพถ่ายรางวัลอันดับที่ 19 โดยคุณ Billie Hughes

เป็นภาพของคริสทัลแคลไซต์ในอัญมณีนิล

 

และภาพถ่ายรางวัลอันดับที่ 20 โดยคุณ Billie Hughes

เป็นภาพของราเมือก (Arcyria pomiformis)

 

เป็นอย่างไรกันบ้าง มีภาพไหนที่ชอบกันเป็นพิเศษไหม?

เพราะหากยังไม่จุใจ เพื่อนๆ ก็สามารถเข้าไปชมภาพถ่ายรางวัลอื่นๆ กันต่อ

ได้โดยตรงที่ Nikon Small World เลย

 

ที่มา Nikon Small World 

Share post:

Subscribe

spot_imgspot_img

Popular

More like this
Related

คุณพ่อสักรอยเท้าลูกไว้ที่หน้าอก ชาวเน็ตเป็นห่วงกลัวลูกได้บาป ช่างสักบอก ก็รักลูกทำแบบนี้ไม่ดีตรงไหน?

ทำด้วยความรัก แต่เจอดราม่าจากชาวเน็ตซะงั้น!? คลิปนี้กำลังเป็นที่พูดถึงใน TikTok เลย เมื่อผู้ใช้งานรายหนึ่งได้โพสต์คลิปของคุณพ่อป้ายแดง ที่ตัดสินใจสักรูปรอยเท้าลูกคนแรกของครอบครัวไว้ที่หน้าอก "รักไม่มีข้อแม้...หวงเจ้าดั่งดวงใจ ความรักเป็นสิ่งสวยงามเสมอ รักรอยฝ่าเท้าลูก" ข้อความในแคปชัน ทีนี้พอคลิปถูกเผยแพร่ออกไปก็มีทั้งคนเข้ามาชื่นชม...

พรรคก้าวไกล เปิดตัว แคน แคน อดีต BNK48 ลง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ

วันนี้ (27 มี.ค. 66) ที่พรรคก้าวไกล มีการเปิดตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อ โดยมีชื่อของน.ส.นายิกา ศรีเรียน หรือ...

พบ มัมมี่หัวแกะ จำนวนร่วม 2,000 หัว ถูกฝังไว้ใกล้ วิหารฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 คาดใช้เป็นเครื่องบูชาเมื่อ 2,300 ปีก่อน

ถือเป็นข่าวการค้นพบที่น่าทึ่งอีกชิ้นของประเทศอียิปต์เลยครับ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2023 ที่ผ่านมากระทรวงการท่องเที่ยวและโบราณวัตถุของอียิปต์ได้ประกาศการค้นพบ หัวแกะตัวผู้จำนวนมากถึง 2,000 หัว ถูกฝังไว้ในลักษณะหลายมัมมี่...

หมีน้ำ ยังเทพได้อีก วิจัยพบเราสามารถ นำ “โปรตีน” จากตัวมัน ไปช่วย เก็บรักษายาบางตัว โดยไม่ต้องแช่เย็นได้

นับว่าเป็นอีกข่าวที่ช่วยเพิ่มความน่าทึ่งของสิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วแต่อึดสุดๆ ตัวหนึ่งของโลกอย่าง "หมีน้ำ" (Tardigrades) เลยครับ เพราะนอกจากมันจะทนถึงขนาดถูกส่งไปในอวกาศก็ไม่ตายเท่านั้น แต่ล่าสุดนี้เองนักวิทยาศาสตร์ยังพบด้วยว่าเราอาจใช้โปรตีนของมันในการช่วยเก็บรักษายา "โรคฮีโมฟีเลีย" (โรคเลือดออกไม่หยุด) โดยที่ไม่ต้องแช่เย็นอีกด้วย ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะที่ผ่านมายาโรคฮีโมฟีเลียนั้น...