นาซาเผยภาพเด็ด “มือแห่งจักรวาลกำลังเอื้อมไปยังกำแพง” อยู่ห่างจากโลกไป 17,000 ปีแสง


เช่นเดียวกับก้อนเมฆบนท้องฟ้าที่สามารถถูกจินตนาการเป็นอะไรได้หลากหลาย มันไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่บ่อยครั้งภาพของดวงดาวต่างๆ ในจักรวาลเอง ก็อาจจะออกมาคล้ายกับสิ่งต่างๆ ที่เราคุ้นเคยกัน

อย่างไรก็ตามภาพที่ได้รับการเผยแพร่จากหอดูดาวจันทราเอกซ์เรย์ของนาซาก็ดูจะกำลังกลายเป็นภาพที่จากอวกาศที่ได้รับความสนใจและพูดถึงจากผู้คนบนโลกออนไลน์อยู่ดี

นั่นเพราะด้วยเหตุผลบางอย่างภาพถ่ายที่ออกมานั้น มันเหมือนกับภาพของ “มือแห่งจักรวาล” ที่กำลังเอื้อมไปยังกำแพงก๊าซคอสมิกสีแดงไม่มีผิดเลย

 

 

ภาพที่เห็นนี้แน่นอนว่าไม่ใช่มือของสิ่งมีชีวิตที่อยู่เหนือล้ำกว่าจินตนาการของผู้คนแต่อย่างไร

กลับกันตัวตนจริงๆ ของมันคือเนบิวลาของพลังงานและอนุภาคที่เกิดจาก “พัลซาร์” ดาว​นิวตรอนที่หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูงมากจนแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาเป็น​จังหวะ ซึ่งมักเกิดขึ้นจากการระเบิดของดาวที่เรียกว่าซูเปอร์โนวาอีกที

โดยในกรณีของเจ้ามือที่เราเห็นนี้ มันอยู่ห่างจากโลกไปราวๆ 17,000 ปีแสง และได้รับการตั้งชื่อว่า “MSH 15-52”

 

 

MSH 15-52 นั้นจริงๆ แล้วถูกติดตามโดยนักวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่ปี 2004 โดยมันเคลื่อนที่ไปในจักรวาลด้วยความเร็วราว 14.5 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมง ด้วยแรงระเบิดจากซูเปอร์โนวาในอดีต

ความเร็วนี้แม้จะดูเยอะแต่จริงๆ แล้วมันถือเป็นความเร็วที่ “ลดลงแล้ว” นั่นเพราะมือที่เราเห็นนั้นในปัจจุบันได้กำลังเข้าไปชนกับเมฆก๊าซในอวกาศที่ชื่อ “RCW 89” อยู่ (ส่วนสีส้มแดงในภาพ)

และหากมันไม่ชนกับ RCW 89 เสียก่อนนักวิทยาศาสตร์ก็คาดว่ามันอาจจะเคลื่อนที่ได้ด้วยความเร็วถึง 50 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมง “โดยเฉลี่ย” เลย

 

 

นี่นับว่าเป็นภาพที่มีความสำคัญทางการวิจัยดวงดาวอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะเห็นแบบนี้แต่นี่คือครั้งแรกที่มนุษย์สามารถวัดการเคลื่อนที่ของซูเปอร์โนวาที่ระเบิดได้เลย

และต่อให้เราจะไม่มีความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์เลยก็ตาม ภาพของมือยักษ์สีฟ้าที่กำลังเอื้อมไปยังกำแพงแห่งจักรวาล ก็คงทำให้คนที่มีโอกาสได้เห็นรู้สึกทึ่งเอามากๆ ได้อยู่ดี

 

 

ที่มา iflscience และ chandra


Like it? Share with your friends!

0 Comments

Choose A Format