รู้จัก “Massospora cicadina” เชื้อราหลอนประสาท ที่ทำให้จักจั่นคึกคัก ร่วมเพศจนบั้นท้ายขาด


มันเป็นเรื่องที่เราทราบกันว่าในช่วงฤดูร้อนของหลายๆ ประเทศเช่นนี้ ถือเป็นช่วงที่แมลงอย่างจักจั่นจะออกมาใช้เวลาช่วงโตเต็มวัยไปกับการผสมพันธุ์

อย่างไรก็ตามในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ช่วงเวลานี้ กลับถือว่าเป็นช่วงที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่สำหรับจักจั่น โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาไปเสียแล้ว

นั่นเพราะในปัจจุบันดุเหมือนว่าจักจั่นที่นั่น จะกำลังต้องพบกับปัญหาเชื้อราประหลาดที่ติดต่อทางการผสมพันธุ์ ที่ทำให้จักจั่นมั่วเซ็กซ์จนถึงขั้นบั้นท้ายขาดอยู่นั่นเอง

 

เหล่าจักจั่นที่ติดเชื้อรา Massopora

 

เจ้าเชื้อราที่ว่านี้มีชื่อว่า Massospora cicadina หรือเรียกสั้นๆ ว่า Massospora เชื้อราประหลาดที่ หากไปในร่างของจักจั่นได้ มันจะเปลี่ยนนิสัยของจักจั่นให้ดูร่าเริง กระฉับกระเฉง และพร้อมที่จะผสมพันธุ์อยู่ตลอดเวลา

ส่งผลให้หลายๆ ครั้งจักจั่นตัวผู้ที่ติดเชื้อสองตัวก็ถึงขั้นที่จะร่วมเพศกันเอง หรือทำตัวเลียนแบบตัวเมียเพื่อให้จักจั่นตัวอื่นๆ เขามาผสมพันธุ์ด้วยเพื่อแพร่เชื้อราต่อไป

 

 

ถึงขนาดที่ว่าเมื่อจักจั่นผสมพันธุ์กันบางครั้งบั้นท้ายของจักจั่นที่ติดเชื้อจะหลุดออกไปติดกับจักจั่นที่ผสมพันธุ์ด้วย แต่ถึงอย่างนั้นพวกมันก็ยังดึงดันจะผสมพันธุ์ต่อไป แม้ตัวจะขาดก็ตาม

เท่านั้นยังไม่พอเมื่อเจ้าจักจั่นติดเชื้อราตัวนี้แล้วตัวขาด ในบางครั้งพวกมันก็จะออกบินเพื่อปล่อย “ชิ้นส่วนของร่างกาย” ลงมาจากท้องฟ้า เพื่อที่จะให้เชื้อราสามารถแพร่กระจายไปยังเหยื่อตัวอื่นๆ ในสภาพไม่ต่างอะไรกับซอมบี้อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นโรคที่น่ากลัวแบบสุดๆ เลย

 

สภาพจักจั่นที่คาดว่าตายหลังจากออกบินครั้งสุดท้ายเพื่อโปรยชิ้นส่วนของร่างกายที่ปนเปื้อนเชื้อราลงมาจากฟ้า

 

Massospora cicadina  นั้นถูกค้นพบในปี 1850 อย่างไรก็ตามการศึกษาโรคนี้กลับเป็นไปได้ค่อนข้างช้า เนื่องจากการหาตัวอย่างจักจั่นติดเชื้อในอดีตทำได้ค่อนข้างยาก

โดยจนถึงปัจจุบันเราสงสัยกันว่า เจ้าเชื้อราดังกล่าวน่าจะทำให้จักจั่นหลอนเช่นนี้ด้วยสารไซโลไซบิน ที่พบในเห็ดขี้ควาย หรือไม่ก็สารแอมเฟตามีน ที่พบในยาหลอนประสาทและยาเสพติดก็ได้

นี่นับว่าเป็นการค้นพบที่น่าสนใจเลยทีเดียวเพราะไม่ว่าจะเป็นไซโลไซบินแอมเฟตามีน สารเหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นสารเคมีที่เรารู้จักกันดีและมีผลร้ายแรงกับมนุษย์ทั้งนั้น

 

สภาพจักจั่นที่ไม่เหลือส่วนปั้นท้ายแล้วแต่ก็ยังพยายามผสมพันธุ์

 

แน่นอนว่าชื่อสารที่ออกมาคุ้นเคยสุดๆ แบบนี้ มันก็ย่อมสร้างความหวาดกลัวในกลุ่มคนทั่วไปว่า เชื้อราดังกล่าวอาจจะข้ามมาติดในมนุษย์ได้เป็นอย่างดี

ถึงอย่างนั้นก็ตามก่อนที่เราจะกลัวกันมากเกินไปทางนักวิทยาศาสตร์ก็ระบุเอาไว้ด้วยว่า การค้นพบสารเสพติดในตัวแมลง ถือว่าเป็นเรื่องที่สามารถเห็นได้ค่อนข้างบ่อย และไม่ใช่อะไรที่น่าแปลกใจนัก

กลับกันเรื่องที่เราต้องกลัวจริงๆ เกี่ยวกับเชื้อราตัวนี้ก็ควรจะเป็นจำนวนประชากรจักจั่นที่อาจจะลดลงในอนาคตต่างหาก

 

ที่มา iflscience, sciencedaily


Like it? Share with your friends!

0 Comments

Choose A Format