บุหรี่ไฟฟ้าเป็น “ผู้ร้าย” ในสังคมไทยจริงหรือไม่?


ประเด็นเรื่องของ “บุหรี่ไฟฟ้า” กลายเป็นข้อถกเถียงในสังคมไทยเรามานาน และล่าสุด ก็มีประเด็นน่าสนใจเกิดขึ้นบนโลกออนไลน์

เริ่มจากทาง “สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ” (สสส.) ทำโฆษณารณรงค์ต่อต้านบุหรี่ ด้วยการทำคลิปอาการของหนูทดลองที่ได้รับควันบุหรี่ไฟฟ้า

โดยเนื้อหาในคลิป ได้หยิบยกเรื่องนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าส่งผลอันตรายต่อสมองได้

 

คลิปต้นฉบับจาก สสส.

 

โฆษณาดังกล่าวก็มีเสียงตอบรับหลากหลายด้าน นอกจากฝั่งที่ชม ก็ยังมีฝั่งที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งมองว่าคลิปรณรงค์ดังกล่าว มีการพูดถึงแต่บุหรี่ไฟฟ้า แต่กลับไม่มีการพูดถึงข้อเสียของบุหรี่จริง

กลายเป็นว่า คอมเมนต์ในคลิป ก็เริ่มมีการมองว่าคลิปตั้งใจนำเสนอข้อเสียของบุหรี่ไฟฟ้ามากเกินไปหรือไม่?

นอกจากนี้ บางส่วนยังบอกว่ามีการรณรงค์เน้นย้ำบุหรี่ไฟฟ้าเป็นพิเศษ เหมือนกับตั้งใจทำให้เห็นว่าเป็นของที่มีโทษมากกว่าบุหรี่จริง

 

 

อ้างอิงจากสำนักงานสถิติฯ ในปี พ.ศ. 2560 มีประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปรวม 10.7 ล้านคนเป็นผู้สูบบุหรี่ คิดเป็น 19.1% ของประชากรทั้งหมด และในจำนวนนี้มีคนกลุ่มหนึ่งไม่ต้องการเลิกบุหรี่ด้วย

ซึ่งส่วนหนึ่ง พวกเขาก็เลือกที่จะใช้บุหรี่ไฟฟ้า ในการสูบแทนบุหรี่จริง รวมไปถึงเพื่อเป็นทางเลือกในการลดปริมาณการสูบบุหรี่จริงอีกทาง

เพราะฉะนั้นบางส่วนก็เลยมองว่า “ควรเป็นสิทธิของประชาชน” ในการเลือกว่าจะสูบบุหรี่ไฟฟ้า หรือสูบบุหรี่จริง ไม่ใช่การแบนสิ่งหนึ่ง แต่ปล่อยขายสิ่งหนึ่ง

 

 

นอกจากนี้ ล่าสุดในคลิปสัมภาษณ์ของ Daniel Ong นักธุรกิจสิงคโปร์ CEO ของ Kardinal Group ซึ่งออกมาพูดถึงเรื่องดังกล่าวกับทาง VoiceTV

ได้มีการนำเสนอถึงเรื่องการที่บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายในไทย (ปัจจุบันผิดกฎหมาย) อาจจะมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย

ตัวอย่างเช่น

– ถ้าบุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายรัฐจะสามารถเก็บภาษีได้ก้ปัญหาการลักลอบนำเข้าและการขายทำให้รัฐสูญเสียรายได้

– สามารถควบคุมมาตรฐานการผลิตให้ปลอดภัยและได้คุณภาพมากที่สุด

– ทำให้เกิดการแข่งขันในตลาด เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด

 

คลิปความเห็นของคุณ Daniel ต่อโฆษณา สสส.

 

ซึ่งเรื่องนี้ก็ยังคงเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และสุดท้ายแล้วนโยบายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าของไทยจะดำเนินไปในทิศทางไหน มันก็คงจะเป็นเรื่องที่เราต้องติดตามกันต่อไปอย่างใกล้ชิด


Like it? Share with your friends!

Choose A Format