Tag: จิต

  • พ่อแม่ฟ้อง “มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด” ที่ไม่ดูแล และปล่อยให้ลูกชายของพวกเขา ‘ฆ่าตัวตาย’

    พ่อแม่ฟ้อง “มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด” ที่ไม่ดูแล และปล่อยให้ลูกชายของพวกเขา ‘ฆ่าตัวตาย’

    ปัญหาทางด้านจิตใจนั้นเป็นสิ่งที่ควรได้รับการดูแลและเอาใจใส่จากคนรอบข้าง เพราะบางครั้งปัญหาเหล่านี้อาจนำไปสู่ การฆ่าตัวตาย อันเป็นความสูญเสียที่ครอบครัวยากจะทำใจรับได้ เช่นเดียวกับ Luke Z. Tang หนุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด วัย 18 ปีที่ได้ตัดสินใจจบชีวิตตัวเองลงอย่างน่าเศร้า จนทำให้ครอบครัวของเขาต้องเดินหน้าเอาผิดกับทางมหาวิทยาลัย     ในวันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมาคือวันครบรอบ 3 ปีที่เขาเสียชีวิต Wendell W. Tang พ่อของเขาจึงฟ้องคดีดังกล่าวกับศาลสูงสุดในเคาน์ตีมิดเดิลเซ็กส์ เขาดำเนินการฟ้องร้องโดยมี องค์กรฮาร์วาร์ด, Catherine R. Shapiro คณบดีฝ่ายสถานที่พักอาศัย, Caitlin Casey คณบดีของบ้านพัก, Melanie G. Northrop ผู้ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และ David W. Abramson จิตแพทย์ HUHS เป็นคู่กรณี ในเอกสารยื่นฟ้อง มีข้อความว่า… “ในฐานะที่เป็นผลพวงของการละเลยและความไม่เอาใจใส่ของฮาร์วาร์ด ผู้เสียชีวิตของฝ่ายโจทก์จึงได้รับความเจ็บปวดทางกายและจิต และอื่นๆ จนกระทั่งนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด”   Luke Z. Tang หนุ่มน้อยผู้เสียชีวิต   โดยการฟ้องร้องในครั้งนี้ ฝ่ายโจทก์ได้ร้องขอจำเลยให้ชดใช้ความเสียหายนี้เป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (กว่า 650…

  • 10 ประโยคช่วยเหลือ “คนที่คิดจะฆ่าตัวตาย” พูดอย่างไรให้ถูก ให้พวกเขาอยากมีชีวิตต่อ

    10 ประโยคช่วยเหลือ “คนที่คิดจะฆ่าตัวตาย” พูดอย่างไรให้ถูก ให้พวกเขาอยากมีชีวิตต่อ

    ปัจจุบันโรคภัยที่มาแบบเงียบๆ แต่แฝงความอันตรายเอาไว้คือ โรคทางจิต เพราะเราไม่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนเหมือนกันโรคทางกายที่เพียงปวดศีรษะหรือปวดท้องก็ไปพบแพทย์ได้ แต่อาการทางจิต บางครั้งคนเราไม่รู้ว่าแบบไหนที่เรียกว่าผิดปกติหรือเข้าข่ายมีอาการทางจิต ประกอบกับบางคนก็กลัวว่าสังคมจะไม่ยอมรับหากเข้าพบจิตแพทย์ จึงทำให้ผู้ที่มีเพียง “อาการทางจิต” หลายคนอาจพัฒนาจนเป็น “โรคทางจิต” ได้     ปัจจุบัน โรคทางจิตที่แพร่หลายและค่อนข้างใกล้ตัวผู้คนกว่าโรคอื่นก็คือ โรคซึมเศร้า ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง รวมทั้งอาจเกิดจากการประสบกับเหตุการณ์สะเทือนใจอย่างรุนแรง ผู้ป่วยอาจมีอาการเซื่องซึม เบื่อหน่าย ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยชอบหรือเคยทำได้ กินน้อยหรือมากผิดปกติ นอนไม่หลับ รู้สึกไร้ค่า โทษตัวเอง ซึ่งหากอาการรุนแรงก็จะเกิดความคิดอยาก ฆ่าตัวตาย ขึ้นมาด้วย อาการซึมเศร้า โรคซึมเศร้า และความคิดที่จะฆ่าตัวตายที่ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดกับตนเองหรือคนใกล้ชิด ฉะนั้นหากใครที่ต้องรับมือกับคนที่กำลังอยาก “ฆ่าตัวตาย” ก็ควรรู้วิธีช่วยเหลือพวกเขาเอาไว้สักนิดก็ยังดี วันนี้เราจึงขอเสนอ 10 ประโยคที่ควรพูด กับคนที่กำลังคิดจะฆ่าตัวตาย ให้พวกเขาได้คิดดีๆ อีกครั้ง   1. “ดีใจนะที่คุณบอกฉันว่าคุณกำลังคิดจะฆ่าตัวตาย” (หรือประโยคที่ความหมายใกล้เคียง) แทนที่จะพูดด้วยอารมณ์รุนแรงหรือพูดแบบไม่ใส่ใจ หันมาพูดกับเขาอย่างเปิดใจและยอมรับความคิดของเขาดีกว่า   2. “ฉันรู้สึกไม่ดีเลยที่เห็นคุณต้องเจ็บปวดแบบนี้” ประโยคทำนองนี้นอกจากจะแสดงความใส่ใจแล้วยังช่วยให้ผู้ฟังรู้สึกคลายเหงาได้ด้วย อย่าพยายามปฏิเสธความคิดของเขาหรือทำให้ความเจ็บปวดของเขาดูเล็กน้อย เช่น “ไม่ขนาดนั้นหรอกมั้ง” หรือ “อย่าลืมว่าคุณมีอะไรต้องทำอีกเยอะ”…

  • นักจิตบำบัดใช้ประสบการณ์ของตน เสียดสีพฤติกรรมมนุษย์ด้วย “หน้าปก” หนังสือ

    นักจิตบำบัดใช้ประสบการณ์ของตน เสียดสีพฤติกรรมมนุษย์ด้วย “หน้าปก” หนังสือ

    หลายครั้งที่เราเข้าไปยังร้านขายหนังสือ เราก็จะเห็นหนังสือต่างๆ ที่เป็นประเภทสอนให้ใช้ชีวิตหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชีวิตด้วยตนเอง หารู้ไม่ว่าเหล่านักจิตบำบัดทั้งหลายยังมองว่าหนังสือประเภทนี้ไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าใดนัก เพราะมันทำสำเร็จได้ยาก แต่นักจิตบำบัด Johan Deckmann ทำบางอย่างออกมาได้น่าสนใจยิ่งนัก เขาได้วิเคราะห์พฤติกรรมของมนุษย์และเขียนออกมาเป็น “ชื่อของหนังสือ” เชิงสอนแก้ไขปัญหาและดำเนินชีวิต และมันก็กลายเป็นมุกตลกเสียดสีสังคมมนุษย์ไปเสียอย่างนั้น และแม้ว่าชื่อหนังสือของ Deckmann จะอยู่ระหว่างมุกตลกกับมุกเสียดแทงพฤติกรรมมนุษย์ แต่การเล่นสีและตัวอักษรกลับเรียบง่าย จึงทำให้ผู้อ่านอ่านแล้วสะท้อนภาพของตัวเองออกมาว่ามีพฤติกรรมแบบนั้นจริงหรือไม่ ลองมาดูชื่อหนังสือของ Deckmann กันเลยดีกว่าว่าจะมีหนังสือเรื่องอะไรบ้าง…   1. วิธีการประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วด้วยการลดมาตรฐานของคุณลง   2. วิธีใช้ชีวิตคู่กับคนที่ไม่ใช่เพราะดีกว่าต้องเป็นโสดลำพัง   3. ฉันในโลกโซเชียลมีเดีย (เล่มใหญ่) ตัวฉันจริงๆ (เล่มเล็ก)   4. ทำยังไงให้แยกน้ำเปล่ากับว้อดก้าไม่ออก   5. วิธีการใช้ชีวิตของตัวคุณเองให้เป็นไปตามคำนิยามจากผู้อื่นว่าคุณเป็นอย่างไร   6. วิธีการเพิ่มพูนมูลค่างานศิลป์ของคุณด้วยการลาโลก   7. เงียบอย่างไรให้ผู้อื่นคิดว่าคุณฉลาด   8. วิธีการก่อความผิดพลาดแบบเดิมซ้ำๆ แต่ยังคาดหวังผลลัพธ์ที่แตกต่าง   9. วิธีสร้างความพึงพอใจในสิ่งธรรมดา ทั้งที่ทุกสิ่งที่ต้องการมันเกินคำว่าธรรมดาไปเยอะเลย   10. วิธีการสร้างกำแพงกั้นเพื่อไม่ให้คนอื่นเข้ามาทำความรู้จักคุณ…

  • ช่วงสุดท้ายของชีวิต ภาพเจ็บปวดหัวใจของ ‘สิงโตจ้าวป่า’ กับสภาพไร้อำนาจและพลัง

    ช่วงสุดท้ายของชีวิต ภาพเจ็บปวดหัวใจของ ‘สิงโตจ้าวป่า’ กับสภาพไร้อำนาจและพลัง

    ‘สิงโต’ ถือเป็นจ้าวแห่งป่า เป็นตัวแทนของการมีอำนาจ และความยิ่งใหญ่ รูปลักษณ์ของมันสื่อให้เห็นถึงความน่าเกรงขาม เป็นที่หวาดหวั่นของบรรดาสัตว์น้อยใหญ่ในป่า แต่สำหรับวันนี้ #เหมียวหง่าว จะขอพาเพื่อนๆ ไปชมภาพแห่งความเจ็บปวดหัวใจ ของสิงโตจ้าวป่า ที่ต้องตกอยู่ในสภาพ ‘ไร้พลัง’     Kruger หรือที่รู้จักกันในชื่อ Skybed Scar ในอดีตมันเคยเป็นสิงโตผู้ยิ่งใหญ่ แต่เพราะความแก่ชราของมัน ทำให้ความยิ่งใหญ่ที่มันสร้างมากับมือพังทลายหายไปในพริบตา ทั้งความยำเกรงจากสัตว์อื่น และความสามารถในการปกป้องครอบครัว ช่างภาพวัย 64 ปี นาย Larry Anthony Pannell เฝ้าสังเกตช่วงชีวิตตกอับของอดีตจ้าวป่าเป็นเวลาหลายชั่วโมง เป็นความจริงที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ เส้นคาบเกี่ยวระหว่างชีวิตและความตาย เจ้า Kruger ถูกช้างป่าวิ่งไล่จนต้องหนีกระเจิง สภาพของมันดูอ่อนแอ และไร้ความน่าเกรงขาม จากความหิวโหยที่มันต้องเผชิญ     “ชีวิตมันช่างโหดร้ายจริงๆ ทั้งชีวิตการเป็นช่างภาพของผมผ่านอะไรมาตั้งมากมาย ผมเคยเห็นภาพของคนที่สูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างมาแล้วกับตา จากภัยธรรมชาติ ทั้งดินถล่ม แผ่นดินไหว ไฟป่า หรือแม้แต่อุบัติเหตุจากรถยนต์” “แต่ภาพเหล่านั้นก็ยังไม่ทำให้ผมรู้สึกสะเทือนใจเท่ากับภาพชีวิตของสิงโตจ้าวป่าในช่วงสุดท้าย ที่ใกล้กับความตายเข้าไปทุกที” Larry กล่าว     “ผมเห็นมันห่างไปไม่กี่เมตรเท่านั้น…

  • คำตัดสินจากศาล ‘ทำจิตใจบอบช้ำ = ลงมือฆ่า’ เมื่อแฟนหนุ่มบีบบังคับ ให้เธอต้องดับชีวิตลง…

    คำตัดสินจากศาล ‘ทำจิตใจบอบช้ำ = ลงมือฆ่า’ เมื่อแฟนหนุ่มบีบบังคับ ให้เธอต้องดับชีวิตลง…

    ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวนั้นใกล้ตัวเราเกินกว่าจะรู้สึกได้ ซึ่งกว่าจะรู้ว่ากำลังถูกคุกคามอย่างรุนแรงจนสภาพร่างกายและจิตใจไม่สามารถแบกรับต่อไปได้ไหว มันก็อาจจะสายเกินไปสายแล้ว คดีความตัวอย่างของการทำร้ายจิตใจในรูปแบบทางความสัมพันธ์ ระหว่างอดีตทหารกับหญิงสาวผู้ถูกกระทำ ทั้งทำร้ายร่างกายและบั่นทอนจิตใจผ่านวาจา จนทำให้ฝ่ายหญิงตัดสินใจปลิดชีพตนเอง ซึ่งทำให้ได้รับโทษเทียบเท่ากับการลงมือฆาตกรรม…     อดีตทหาร Steven Gane วัย 31 ปี ถูกตัดสินว่ามีความผิดจากพฤติกรรมบีบบังคับหรือควบคุมอีกฝ่าย จากความสนิทสนมทางความสัมพันธ์ ผลการตัดสินของศาล ทำให้ Gane นั้นได้รับโทษจำคุกเป็นระยะเวลา 4 ปี 3 เดือน ในข้อหาเป็นต้นเหตุทำให้นาง Kellie Sutton วัย 30 ปี ทำการฆ่าตัวตาย หลังจากที่ต้องทรมานกับความเจ็บทางร่างกายและจิตใจมาอย่างยาวนาน   Steven Gane   Philip Grey ผู้พิพากษาได้กล่าวกับเขาว่า “พฤติกรรมของคุณ ชักจูงให้ Kellie Sutton ทำการแขวนคอในเช้าวันนั้น คุณทำร้ายเธอ และทำลายจิตใจของเธอ”   Kellie Sutton   ทางด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้นำสำนวนในครั้งนี้มาตั้งเป็นบรรทัดฐานใหม่ เพื่อใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบีบบังคับและควบคุมเหยื่อ…

  • เผยภาพหลอนจากโรงพยาบาลบ้าในอดีต ของผู้ป่วยโรค ‘ฮิสทีเรียหญิง’ จากศตวรรษที่ 19

    เผยภาพหลอนจากโรงพยาบาลบ้าในอดีต ของผู้ป่วยโรค ‘ฮิสทีเรียหญิง’ จากศตวรรษที่ 19

    ในยุคสมัยความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์ยังไม่เอื้ออำนวย อาการผิดปกติทางระบบประสาทและจิตนั้นจะถูกมองว่าเป็นผลของเวทมนตร์คาถาในสายตาของผู้คนทั่วไป แต่ทว่าทางด้านการแพทย์นั้นจะถูกมองโดยรวมว่าเป็นบ้าแทน… สิ่งสำคัญที่ทำให้แพทย์สามารถวิเคราะห์อาการของผู้ป่วยได้ก็คือภาพถ่าย หนึ่งในการเก็บข้อมูลผู้ป่วยเพื่อใช้ในการวินิจฉัยและหาหนทางรักษา ซึ่งในอดีตนั้นภาพถ่ายเก่าๆ ก็จะมีความซีดจางบวกการแสดงอาการของผู้ป่วยก็ยิ่งทำให้ดูหลอนได้อีก!!   หนึ่งในผู้ป่วยที่กำลังกรีดร้องต่อหน้ากล้องถ่ายภาพ   ภาพถ่ายชุดนี้คาดว่าถูกถ่ายไว้ในช่วงปีค.ศ. 1878 – 1910 จากโรงพยาบาล ปีเต-แซลแปตริแยร์ (Pitié-Salpêtrière) ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และอาการของผู้ป่วยหญิงเหล่านี้ถูกจำกัดความด้วยชื่อโรค “ฮิสทีเรียหญิง” หรือชื่อพฤติกรรมการกินผิดปกติในปัจจุบัน     ประวัติของผู้ป่วยนั้นไม่ได้รับการเปิดเผยแต่อย่างใด โดยที่รูปถ่ายเหล่านี้เป็นฝีมือของ Albert Londe ช่างภาพที่ถูกจ้างจากนักประสาทวิทยา Jean-Marie Charcot เพื่อถ่ายภาพของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาอาการทางจิต     นานนับศตวรรษ โรคฮิสทีเรียหญิงถูกจัดให้เป็นโรคทั่วไปและจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงเท่านั้น พร้อมทั้งอาการที่กระทบต่อสุขภาพจิตหลากหลายทาง… เช่น หงุดหงิดง่าย, มีความต้องการทางเพศ, นอนไม่หลับ, ถ่ายของเหลวไม่ออก, หายใจถี่, ปวดช่องท้องรุนแรง รวมไปถึงนิสัยการก่อปัญหาต่างๆ   ผู้ป่วยหญิงกับอาการทางจิต ที่ก่อตัวมาจากโรคฮิสทีเรีย ในอิริยาบถพนมมือสวดภาวนา   จนกระทั่งในศตวรรษที่ 19 โรคฮิสทีเรียนั้นมีความเกี่ยวข้องกับมดลูก และได้รับการกล่าวกันว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความวุ่นวายออกมาจากร่างกายของผู้หญิง เหล่าหญิงผู้โชคร้ายที่ประสบกับโรคฮิสทีเรียจะถูกนำไปกักตัวในโรงพยาบาลบ้าทันที…

  • หนุ่มผู้ยอมรับตัวตน กับอาการเสพติดเซลฟี่รุนแรง มีความสุขที่ได้ถ่ายรูปตัวเอง 200 รูปต่อวัน!!

    หนุ่มผู้ยอมรับตัวตน กับอาการเสพติดเซลฟี่รุนแรง มีความสุขที่ได้ถ่ายรูปตัวเอง 200 รูปต่อวัน!!

    การเซลฟี่ในยุคสมัยปัจจุบันกลายเป็นสิ่งที่ยอมรับไปโดยปริยายแล้วล่ะ เพราะไม่ว่าจะไปไหนหรือไปทำอะไร คนเราก็อยากจะถ่ายรูปตัวเองพร้อมกับสถานการณ์ ณ ตอนนั้น เพื่อนำมาแชร์ให้กับคนรู้จักได้รับรู้ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ แต่คงไม่มีใครเซลฟี่รูปตัวเองแบบหนักหน่วงและต่อเนื่องได้เท่าพ่อหนุ่ม Junaid Ahmed วัย 22 ปีคนนี้แล้วล่ะ และที่หนักขนาดนั้นเป็นเพราะว่า เจ้าตัวเผยถึงจำนวนการเซลฟี่อยู่ที่ขั้นต่ำ 200 รูปต่อวัน!!   Junaid Ahmed   Junaid Ahmed อดีตนักศึกษาสาขาแฟชั่นและอดีตนายแบบ วัย 22 ปี จากเมืองปีเตอร์โบโรห์ ประเทศอังกฤษ มีความลุ่มหลงกับการเซลฟี่เป็นอย่างมาก โดยที่เขานั้นจะใช้เวลาเตรียมตัวเซลฟี่ประมาณ 3 ชั่วโมง ได้จำนวนรูปภาพอย่างต่ำหลัก 200 รูป จากนั้นจะคัดเลือกรูปที่ดูดีที่สุดและอัปโหลดสู่อินสตาแกรม     เขาจะใช้เวลาแต่งหน้าทำผมหน้ากระจกก่อนเสมอ หลังจากนั้นก็จะทำการเซลฟี่อย่างต่อเนื่องทุกๆ วัน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ติดตามในอินสตาแกรมกว่า 50,000 คน จะได้เห็นในสิ่งที่ตัวเองตั้งใจนำเสนอ ซึ่งนอกเหนือจากการแต่งหน้าแล้ว เขาก็ได้รับการผ่าตัดศัลยกรรมใบหน้าอีกหลายส่วนด้วย     “เมื่อไหร่ก็ตามที่ผมโพสต์รูปภาพไปแล้ว ภายใน 1 หรือ 2 นาทีแรกก็จะได้รับจำนวนไลก์เกิน…

  • สาวป่วยเป็นโรค Daydream Disorder ที่มีบุคลิกมากกว่า 120 คน ภายในตัวเพียงคนเดียว!!

    สาวป่วยเป็นโรค Daydream Disorder ที่มีบุคลิกมากกว่า 120 คน ภายในตัวเพียงคนเดียว!!

    หลายคนอาจจะรู้จักภาพยนตร์เรื่อง ‘Split’ ที่เป็นการนำเรื่องจริงของชายผู้มีอาการป่วยทางจิต ทำให้มีบุคลิกออกมามากถึง 23 บุคลิก นั่นก็ถือว่าเยอะมากแล้วนะ แต่คุณอาจจะยังไม่รู้ว่ายังมีคนหลายบุคลิกที่มากกว่านั้นอีก อย่างเช่นเรื่องราวของ Kate Dranfield วัย 17 ปี จะทำให้เราต้องรู้สึกอึ้ง… เพราะเธอป่วยเป็นโรค ‘Daydream Disorder’ ซึ่งส่งผลทำให้เธอมีบุคลิกตัวตนมากถึง 120 คน!!   Kate Dranfield และคุณแม่ของเธอ Sheila Dranfield   “ทุกครั้งที่หนูเกิดอาการ หนูจะรู้สึกเหมือนกำลังเข้าสู่อีกโลกหนึ่งซึ่งเป็นโลกที่หนูกลายมาเป็นบุคคลที่ 3 และมันก็เป็นเรื่องยากมากที่เราจะรู้ว่าตัวตนไหนกำลังใช้ความคิดอยู่” เธอเล่าถึงอาการป่วยของเธอ ส่วนใหญ่แล้วอาการป่วยของเธอจะเริ่มแสดงออกมาทุกครั้ง เมื่อเธอรู้สึกเหนื่อยล้าหรือรู้สึกเครียด และโดยส่วนใหญ่แล้วบุคลิกต่างๆ จะแสดงตัวตนออกมาประมาณเกือบชั่วโมง   Kate มีตุ๊กตา 6 ตัว เพื่อช่วยเยียวยาเธอจากการที่ไม่ได้ออกไปมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนภายนอกเลย   เธอเริ่มรู้จักกับอาการนี้ครั้งแรกตอนอายุ 6 ขวบ และนั่นก็ทำให้เธอเริ่มมีปัญหากับการเข้าสังคม อีกทั้งอาการป่วยยังเริ่มส่งผลต่อการเรียนและการใช้ชีวิตประจำวันของเธอ ทว่าอาการดังกล่าวในทางการแพทย์ยังไม่มีวิธีรักษาที่แน่ชัด ทำให้ทางโรงเรียนไม่อาจจะให้การสนับสนุนและดูแลเธอในเรื่องนี้ได้   Jade (ซ้าย) บุคลิกผู้หญิงข้ามเพศ…

  • ศิลปินอธิบายอาการ “ผู้ป่วยทางจิต” ผ่านภาพวาด เพื่อความเข้าใจพวกเขามากขึ้น!!

    ศิลปินอธิบายอาการ “ผู้ป่วยทางจิต” ผ่านภาพวาด เพื่อความเข้าใจพวกเขามากขึ้น!!

    ก่อนที่จะไปดูภาพ ขอเล่าเรื่องราวของกิจกรรมหนึ่งที่ชื่อว่า Inktober กันก่อน ผู้จัดกิจกรรมนี้ขึ้นมาคือ Jake Parker โดยผู้เข้าร่วมจะต้องวาดภาพ 31 ภาพ ใน 31 วันตามโจทย์ที่ได้รับ มีผู้เข้าร่วมจากทั่วโลก และจะจัดขึ้นในเดือนตุลาคม จึงเป็นที่มาของคำว่า Inktober (Ink+October)   และวันนี้ #เหมียวสามสี จะพาทุกท่านมาชมผลงานภาพวาด จากศิลปินที่ชื่อว่า Shawn Coss เขาได้วาดภาพส่งไปในกิจกรรมครั้งนี้โดยภาพเหล่านั้นเป็นภาพที่บรรยายถึงผู้ป่วยทางจิตหลากหลายชนิด บางอย่างเราก็ไม่สามารถเข้าใจพวกเขาได้ ศิลปินท่านนี้ก็เลยว่าเป็นภาพออกมาให้เราได้ชม เราไปดูกันเลยว่าแต่ละอย่างจะหลอนได้สักแค่ไหน (ภาพทั้งหมดนี้อาจจะบรรยายเกินจริง เนื่องจากเกิดจากจินตนาการของผู้วาดทั้งหมด ดังนั้นอยากเพิ่งคิดว่าโรคเหล่านี้จะน่ากลัวเหมือนในภาพนะจ๊ะ)   โรคดิสโซสิเอทีฟ หรือโรคหลายบุคลิก   โรคประสาทแบบหวาดกลัว กลัวชุมชน กลัวที่โล่ง   บุคลิกภาพแปรปรวน   โรคย้ำคิดย้ำทำ   บุคลิกภาพแปรปรวน   โรคจิตเภทชนิดหวาดระแวง   ออทิสติก   โรคไบโพล่าร์ หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว   โรคซึมเศร้า   โรคนอนไม่หลับ   บุคลิกวิปลาส…

  • ผู้ป่วยทางสภาพจิตในอินโดนีเซียนับพัน ถูกจับขังในหมู่บ้านอันห่างไกลสภาพไม่ต่างจากคุก

    ผู้ป่วยทางสภาพจิตในอินโดนีเซียนับพัน ถูกจับขังในหมู่บ้านอันห่างไกลสภาพไม่ต่างจากคุก

    ผู้ป่วยไม่ว่าจะทั้งสภาพร่างกายหรือจิตใจ ต่างก็ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม ทว่าหากผู้ป่วยทางสภาพจิตนั้นไม่ได้รับการดูแลที่ดีเท่ากับผู้ป่วยทางสภาพร่างกาย และมักจะถูกเลือกปฏิบัติอยู่บ่อยครั้ง จะส่งผลทำให้ป่วยหนักทั้งร่างกายและจิตใจได้     ภาพอันน่าเศร้าของผู้ป่วยทางจิตในประเทศอินโดนีเซียเหล่านี้ถูกเปิดเผยโดยองค์กรสิทธิมนุษยชน Human Right Watch พร้อมกับรายงานยาวเหยียดถึง 74 หน้า มาในชื่อ ‘Living in Hell: Abuses against People with Psychosocial Disabilities in Indonesia’     สะท้อนให้เห็นถึงการลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของประเทศอินโดนีเซีย โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยทางจิตนั้นมีคุณภาพชีวิตที่ย่ำแย่ ครอบครัวไม่อาจดูแลได้     ซึ่งทางรัฐบาลเองก็ไม่ได้ใส่ใจคุณภาพชีวิตประชาชนหรือชาวบ้านตัวเล็กๆ เลยแม้แต่นิดเดียว อีกทั้งยังโทษว่าเป็นความผิดของการผิดประเพณีมีลูกด้วยกันระหว่างพี่กับน้องและการขาดสารไอโอดีนที่ทำให้เกิดความบกพร่องดังกล่าว     ตามรายงานกล่าวว่ามีผู้ป่วยทางจิตถูกกักขังในสภาพที่ไม่ต่างจากคุกมากกว่า 19,000 ราย จากยอดผู้ป่วยทางสภาพจิต 57,000 รายจากทั่วประเทศอินโดนีเซีย โดยหนึ่งในผู้ป่วยที่ถูกกักขังนานที่สุดคือ 15 ปี แล้วก็พบว่าปัญหาที่ทำให้เกิดเรื่องดังกล่าวนั้นคือขาดสวัสดิการทางด้านการรักษาสุขภาพจิต ขาดบุคลากรจิตแพทย์ และการให้ข้อมูลที่ถูกต้องในการดูแลรักษาผู้ป่วย     ถ้าหากปล่อยไว้เป็นแบบนี้ต่อไป อัตราผู้ป่วยทางจิตก็จะมีเพิ่มมากขึ้น ต้องเร่งทำการแก้ไขโดยด่วยที่สุด…

  • พาไปชมภาพถ่ายของเหล่าผู้ป่วยจากโรงพยาบาลจิตเวช

    พาไปชมภาพถ่ายของเหล่าผู้ป่วยจากโรงพยาบาลจิตเวช

    เมื่อวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์ Metro ได้เปิดเผยเรื่องราวของช่างภาพรายหนึ่งที่ชื่อว่า Laura Hospes เธอได้เดินทางไปถ่ายภาพคนไข้ที่โรงพยาบาลจิตเวชแห่งหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยบุคคลที่มีอาการเศร้าซึม, จิตตก และเบื่ออาหาร จนถึงขั้นพยายามฆ่าตัวตายด้วย   เธอเริ่มต้นถ่ายภาพคนไข้ภายในโรงพยาบาล เพื่อเผยให้เห็นชีวิตของคนๆหนึ่งที่ต้องผ่านการบำบัดในโรงพยาบาลจิตเวช ผลที่ได้ก็คือ ภาพถ่ายที่สวยงามและสื่อให้เห็นถึงอารมณ์และความรู้สึกผ่านดวงตาและท่าทางของพวกเขา   Laura ให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า “ในตอนแรก ฉันถ่ายภาพเพื่อตัวของฉันเอง เพื่อจัดการกับอารมณ์ของฉันเองและใช้โอกาสนี้ในการแสดงออกถึงผลงานผ่านหน้ากล้องของฉัน ฉันไม่ได้เก่งเรื่องการอธิบายเรื่องความรู้สึกเท่าไหร่ ฉะนั้นแทนที่ฉันจะแสดงมันออกมา ฉันเลยโชว์มันให้เห็นผ่านภาพถ่ายของฉันเลย”   นอกจากนี้ Laura ยังอธิบายอีกว่าการถ่ายภาพของเหล่าคนไข้ครั้งนี้ มันช่วยเธอได้มากทีเดียว เพราะมันทำให้เธอรู้สึกโดดเดี่ยวน้อยลง และมันน่าจะช่วยให้ผู้คนที่ตกอยู่ในสภาวะใกล้เคียงกันนี้ ระลึกถึงตนเองได้บ้าง       อันที่จริงแล้วผลงานของ  Laura ไม่ได้มีเพียงเท่านี้นะ หากใครอยากชมเพิ่มเติมสามารถตามไปดูกันต่อได้ที่ laurahospes เลยนะจ๊ะ