เพื่อน ๆ หลายคนน่าจะรู้กิตติศัพท์ หรือ ชื่อเสียงเรียงนามของ “แมวส้ม” กันมาพอสมควรเลยใช่ป่ะ? โดยเฉพาะในเรื่องของ “ความซน ความดื้อ”
แล้วประเด็นคือเหมือนผลิตมาจากโรงงานเดียวกัน แทบไม่หลุด QC เลย จนเกิดเป็นความสงสัยขึ้นมาในหมู่ทาสแมวว่าทำไมมันถึงเป็นแบบนั้น?
ซึ่งล่าสุดนักวิทยาศาสตร์เค้าเหมือนจะเจอคำตอบของคำถามนั้นแล้วฮะ ว่าความจริงมันซ่อนอยู่ใน “พันธุกรรม” และถูกส่งต่อกันมาเรื่อย ๆ
ข้อมูลนี้มาจากงานวิจัยสองชิ้น ที่แรกคือมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา ส่วนอีกที่มาจากมหาวิทยาลัยคิวชู ญี่ปุ่น ซึ่งเขาค้นคว้าจนค้นพบความลับที่ซ่อนอยู่ในยีนส์ของแมวส้มฮะ
นักวิทย์เปิดเผยว่าในมนุษย์และแมวที่เป็นเพศผู้นั้นจะมีโครโมซม X Y ขณะที่แมวตัวเมียจะมีโครโมโซม X X
และสำหรับตัวผู้ ถ้ามีการกลายพันธุ์ของยีนส์ที่ชื่อว่า ARHGAP36 ในโครโมโซม X แค่ตัวเดียว ก็จะทำให้น้องแมวตัวนั้นกลายเป็นแมวส้ม
ส่วนตัวเมีย จะต้องเกิดการกลายพันธุ์ในทั้งโครโมโซม X ทั้งสองข้าง ถึงจะกลายเป็นแมวส้ม
กล่าวคือในแมวส้มเนี่ยยีนส์ ARHGAP36 จะอยู่ในสถานะที่ “ทำงานได้ดี” มากกว่าปกติ หรือถ้าให้อธิบายให้เข้าใจให้ง่ายขึ้น ก็คือยีนส์ตัวนี้มันมีหน้าที่ไปเร่งให้เม็ดสี Pheomelanin (รับผิดชอบในส่วนของสีเหลือง สีแดง หรือสีส้ม) ผลิตออกมาได้ดีขึ้น
ก็เลยทำให้แมวส้มเนี่ย มักจะเกิดขึ้นกับตัวผู้มากกว่าตัวเมียอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากว่ามันมีโอกาสเป็นไปได้ง่ายกว่า
เจ้ายีนส์ ARHGAP36 เนี่ยจะทำงานในระบบร่างกายของแมวหลายส่วนเลยครับ ทั้งสมองและต่อมฮอร์โมนต่าง ๆ
แต่ถ้าพูดในเรื่องของ “พฤติกรรม” ว่าทำให้ดื้อกว่าแมวสีอื่นมั้ย? อันนี้นักวิทย์เค้าไม่เจอความเชื่อมโยงกันอย่างมีนัยยะสำคัญนะ
ส่วนสาเหตุที่ทำให้คนรู้สึกว่าแมวส้มมันดื้อกว่าแมวทั่ว ๆ ไป นักวิทย์เค้าให้คำอธิบายไว้น่าสนใจว่า “เพราะมันคือตัวผู้” ฮะ
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าแมวส้ม จะเจอในตัวผู้มากกว่า และก็มีงานวิจัยมากมายที่ยืนยันว่าพฤติกรรมของแมวตัวผู้ จะมีความดื้อ ความซน มากกว่าแมวตัวเมียอยู่แล้ว เพราะมีพลังงานเหลือล้นนั่นเอง
#เหมียวหง่าว