Tag: จิตเวช

  • สำรวจตัวเอง “Hoarding Disorder” โรคขี้เสียดาย ทิ้งของไม่ได้ สะสมจนเป็นภัยต่อตัวเอง…

    สำรวจตัวเอง “Hoarding Disorder” โรคขี้เสียดาย ทิ้งของไม่ได้ สะสมจนเป็นภัยต่อตัวเอง…

    เมื่อคนเรามีความชื่นชอบในบางสิ่งบางอย่าง สิ่งของที่มีมูลค่าราคาแพงทั้งทางด้านการเงินและจิตใจ ก็มักจะมีการเก็บสะสมเอาไว้เชยชมเป็นธรรมดาทั่วไป ใครๆ เขาก็ทำกัน สิ่งของธรรมดาๆ ก็เช่นเดียวกันที่มักจะมีคนเก็บสะสมไว้ แต่เมื่อมีจำนวนมากในระดับหนึ่ง บางคนก็ต้องมีการโล๊ะบางส่วนออกไป ส่วนบางคนอาจจะเก็บเพิ่มต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นล้นจนแทบไม่มีทางเดินในบ้านกันเลยทีเดียว     อาการเก็บสะสมของแบบไม่ยอมโละทิ้งก็คือ Hoarding Disorder ที่มักจะเห็นประจำกันผ่านโทรทัศน์อยู่บ่อยๆ ยังถือว่าเป็นโรคทางจิตเวชชนิดใหม่ในประเทศไทยด้วย ทั้งนี้ยังไม่มีชื่อเรียกภาษาไทยอย่างเป็นทางการแต่ด้วยลักษณะของโรคมักจะเรียกว่า “โรคเก็บสะสมของ โรคทิ้งไม่ลง โรคทิ้งไม่เป็น” ฯลฯ     จากผลการศึกษาในต่างประเทศ โรคเก็บสะสมของนี้จะพบในบุคคลทั่วไปประมาณ 2-5% และบุคคลที่ประสบกับโรคนี้ส่วนใหญ่มักจะเป็นโสด (แน่นอนว่าลักษณะนิสัยแบบนี้จะเข้าใจได้ว่าทำไมถึงโสด)   อาการของโรค การเก็บสิ่งของเป็นจำนวนมากจนหาที่เก็บไม่ได้ ล้นออกมาถึงทางเดินภายในบ้าน รู้สึกตัดสินใจยากที่จะเลือกทิ้งของที่เก็บมา คือสัญญาณแรกของและเป็นอาการเบื้องต้นของโรค จะเริ่มเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นจนถึงวัยผู้ใหญ่ต้นๆ ยิ่งอายุมากขึ้น บุคคลที่เป็นโรคนี้จะเริ่มเก็บของที่ไม่จำเป็นต่อชีวิต เอามาวางกองไว้ในบ้านมากขึ้น เพราะมักคิดว่าเดี๋ยวต้องได้ใช้ เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยกลางคนอาการของโรคก็ยิ่งหนักจนยากแก่การรักษาให้หายได้ ปัญหาทางจิตดังกล่าวจะเรื้อรังจนกลายเป็นนิสัย     สัญญาที่บ่งบอกว่าเป็นโรค – เก็บสิ่งของที่ไม่จำเป็นต่อชีวิตเอามาไว้ในบ้าน หรือเก็บสิ่งของมาเพิ่มทั้งๆ ที่ไม่มีที่เก็บ – ตัดสินใจลำบากที่จะทิ้งของที่เก็บ ไม่ว่าจะมีค่าหรือไม่ก็ตาม – มีความรู้สึกอยากเก็บของเหล่านี้เอาไว้ตลอด…

  • หญิงสาวผู้มี 12 บุคลิก ใช้วิธีแยกสมุดโน้ต 12 เล่ม บันทึกพฤติกรรมตัวเองในแต่ละช่วง

    หญิงสาวผู้มี 12 บุคลิก ใช้วิธีแยกสมุดโน้ต 12 เล่ม บันทึกพฤติกรรมตัวเองในแต่ละช่วง

    ฟังดูอาจจะมองว่าเป็นเรื่องที่เหนือความคาดหมายของคนปกติ หากเราได้ยินว่าคนเราสามารถมีบุคลิกได้มากกว่า 1 แบบ สมัยก่อนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องเพ้อเจ้อ แต่ปัจจุบันอาการดังกล่าวได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่งเรียบร้อยแล้ว     Lauren Stott วัย 23 ปี ต้องประสบกับอาการของโรคหลายบุคลิก หรือ Dissociative Identity Disorder (DID) โดยที่เธอนั้นมี 12 บุคลิกอยู่ภายในร่างเดียวกัน เธอจะต้องพกสมุดโน้ต 12 เล่มเพื่อจดบันทึกความคิด ความรู้สึก ที่เกิดขึ้นในแต่ละบุคลิกนำมาประกอบเป็นตัวตนของเธอเอง     ความผิดปกติทางจิตนี้ โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นจากการได้รับผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรง หรืออาจจะหมายถึงความผิดปกติ ที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจได้เช่นเดียวกัน ทางด้านจิตแพทย์เชื่อว่า Lauren นั้นทุกข์ทรมานจากความผิดปกติที่ไม่สามารถระบุได้ตั้งแต่ช่วง ป. 1 – ป. 2 นำไปสู่การแยกบุคลิกเพื่อความอยู่รอด     เธอได้รับวินิจฉัยโรคครั้งแรกในเดือนสิงหาคม 2017 ซึ่งก่อนหน้านั้นเธอเคยพยายามฆ่าตัวตายมาแล้วในเดือนสิงหาคม 2016 หลังจากนั้นเป็นต้นมา เธอเข้ารับการรักษาแทบทุกวัน เพื่อที่จะมองเห็นภาพบุคลิกทั้ง 12 ร่างให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นภายในห้องบำบัดที่จัดโต๊ะไว้ให้สำหรับเธอคนเดียว 12 ที่!!…

  • สาวเป็นโรควิตกกังวล เขียนรายละเอียดให้แฟนหนุ่มได้อ่าน เพื่อให้เข้าใจในสิ่งที่เป็นอยู่…

    สาวเป็นโรควิตกกังวล เขียนรายละเอียดให้แฟนหนุ่มได้อ่าน เพื่อให้เข้าใจในสิ่งที่เป็นอยู่…

    อาการหรือโรคที่เกี่ยวกับทางด้านจิตใจภายใน เป็นสิ่งที่มองเห็นได้ยากและยากที่จะเข้าใจได้สำหรับบุคคลที่ไม่ได้เป็น เนื่องจากไม่สามารถคาดเดาอารมณ์หรือความรู้สึกนึกคิดของผู้ป่วยได้ และควรจะรับมืออย่างไร… ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกเผยว่า โรควิตกกังวล เป็นโรคทางจิตที่มีผู้ป่วยมากที่สุดในอัตรา 1 ต่อ 13 คนทั่วทั้งโลก ความวิตกกังวลเหล่านี้ จะทำให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตประจำวันได้ยากมากขึ้น แม้จะเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายๆ ก็ตาม   Kelsey Darragh   Kelsey Darragh ได้แชร์ประสบการณ์เผยถึงโรควิตกกังวลของเธอ พร้อมกับเขียนรายละเอียดลงในสมุด เพื่อให้แฟนหนุ่มได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเธอและโรคนี้ เธอได้จดรายการ 15 สิ่งที่ควรทำเพื่อรับมือกับอาการของเธออย่างถูกต้อง   “ฉันเป็นโรคแพนิคกับโรควิตกกังวล แฟนฉันไม่ได้เป็น แต่เขาต้องการที่จะเข้าใจมันเพื่อที่เขาจะช่วยฉันได้ ฉันก็เลยทำลิสต์มาให้ แชร์ให้กับคนที่คุณรักเพื่อเป็นแนวทางนะ”   เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคทางจิตใจ เธอจึงทำลิสต์สิ่งที่ควรปฏิบัติต่อผู้ป่วยให้แฟนหนุ่ม เพื่อที่จะรับมือได้อย่างถูกวิธี   15 สิ่งที่คุณสามารถช่วยให้ฉันก้าวผ่านอาการแพนิควิตกกังวลไปได้ 1) ต้องรู้ก่อนว่าฉันกลัวจริงๆ แต่อธิบายไม่ถูกว่าคืออะไร เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งสติแตกหรือรำคาญกันเลยนะเธอจ๋า 2) หายามาให้ทันทีหากรู้ว่าอยู่ใกล้ๆ และต้องให้มั่นใจด้วยว่าฉันกินจริงๆ 3) การฝึกหายใจอาจจะทำให้รู้สึกหงุดหงิด แต่ก็จำเป็นสำหรับการควบคุมตัวฉันเอง ให้หายใจเป็นจังหวะพร้อมกับเธอ 4) ให้คำแนะนำอย่างอ่อนโยนเกี่ยวกับสิ่งที่เราจะทำด้วยกันได้ เพื่อเบี่ยงเบนอาการกลัวออกไป (อย่าบอกว่าต้องทำหรือควรทำอย่างนู้นอย่างนี้)…

  • สาวป่วยโรคซึมเศร้า บอกเล่าวิธีการรักษาที่แปลกแต่ได้ผล ทำให้พูดแง่ลบน้อยลง

    สาวป่วยโรคซึมเศร้า บอกเล่าวิธีการรักษาที่แปลกแต่ได้ผล ทำให้พูดแง่ลบน้อยลง

    ปัญหาสุขภาพจิตอย่างโรคซึมเศร้า โรคขี้กังวล และอารมณ์แปรปรวนนั้นไม่อาจมองข้ามได้ ซึ่งในปัจจุบันก็มีการเปิดกว้างและยอมรับว่าเป็นโรคอย่างหนึ่งของมนุษย์แล้ว และใครก็ตามที่กำลังประสบอยู่ก็ไม่จำเป็นจะต้องทนทรมานอย่างโดดเดี่ยวอีกต่อไป… แต่ทว่าวิธีการรักษานั้นยังไม่มีแนวทางที่แพร่หลายมากนัก ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการให้คำปรึกษาจากจิตแพทย์ การรับยาปรับสารเคมีในสมอง แต่ก็คงไม่แปลกเท่ากับวิธีของนักบำบัดรายหนึ่งที่ทำกับชาวเน็ตท่านนี้! เรื่องบอกเล่าจากผู้ใช้เว็บบล็อก Tumblr นามว่า anarchetypal เล่าถึงนักบำบัดที่ชื่อ Paul กับวิธีการรักษาโรคซึมเศร้าของเธอที่ไม่ได้ให้ยา ไม่ได้ให้คำปรึกษา แต่เป็นการยิงปืน Nerf Gun ใช่แล้วล่ะ มันคือปืนอัดลมยิงลูกดอกโฟม!   ปืนลมยิงลูกดอกโฟม Nerf Gun   เมื่อเธอไปหานักบำบัดตามนัด ก็ต้องพบกับวิธีการรักษาที่คาดไม่ถึง! .   “เมื่อฉันได้เห็นโพสต์เกี่ยวกับนักบำบัด มันทำให้ฉันจำได้ว่า Paul นักบำบัดคนเก่า ที่ฉันคิดว่าเป็นชายผู้ยิ่งใหญ่ที่ยังมีชีวิต และเป็นผู้ที่ไม่ยอมแพ้กับความงี่เง่าของฉันแม้แต่วินาทีเดียว”     “ฉันไปหา Paul ในช่วงหน้าร้อนปี 2016 แล้วฉันก็แสดงความงี่เง่าตามปกติ อย่างการพูดแย่ๆ เกี่ยวกับตัวเอง และ Paul ก็จ้องมาที่ฉัน จากนั้นก็ตัดบทและพูดว่าเขามีอุปกรณ์ใหม่ที่จะช่วยให้ผู้คนหลาบจำกับการพูดในแง่ลบ จากนั้นเขาก็ลุกขึ้นและเดินไปที่โต๊ะของตัวเอง”     “แล้วฉันก็ทำเป็นว่า เอาเลย…

  • คำตัดสินจากศาล ‘ทำจิตใจบอบช้ำ = ลงมือฆ่า’ เมื่อแฟนหนุ่มบีบบังคับ ให้เธอต้องดับชีวิตลง…

    คำตัดสินจากศาล ‘ทำจิตใจบอบช้ำ = ลงมือฆ่า’ เมื่อแฟนหนุ่มบีบบังคับ ให้เธอต้องดับชีวิตลง…

    ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวนั้นใกล้ตัวเราเกินกว่าจะรู้สึกได้ ซึ่งกว่าจะรู้ว่ากำลังถูกคุกคามอย่างรุนแรงจนสภาพร่างกายและจิตใจไม่สามารถแบกรับต่อไปได้ไหว มันก็อาจจะสายเกินไปสายแล้ว คดีความตัวอย่างของการทำร้ายจิตใจในรูปแบบทางความสัมพันธ์ ระหว่างอดีตทหารกับหญิงสาวผู้ถูกกระทำ ทั้งทำร้ายร่างกายและบั่นทอนจิตใจผ่านวาจา จนทำให้ฝ่ายหญิงตัดสินใจปลิดชีพตนเอง ซึ่งทำให้ได้รับโทษเทียบเท่ากับการลงมือฆาตกรรม…     อดีตทหาร Steven Gane วัย 31 ปี ถูกตัดสินว่ามีความผิดจากพฤติกรรมบีบบังคับหรือควบคุมอีกฝ่าย จากความสนิทสนมทางความสัมพันธ์ ผลการตัดสินของศาล ทำให้ Gane นั้นได้รับโทษจำคุกเป็นระยะเวลา 4 ปี 3 เดือน ในข้อหาเป็นต้นเหตุทำให้นาง Kellie Sutton วัย 30 ปี ทำการฆ่าตัวตาย หลังจากที่ต้องทรมานกับความเจ็บทางร่างกายและจิตใจมาอย่างยาวนาน   Steven Gane   Philip Grey ผู้พิพากษาได้กล่าวกับเขาว่า “พฤติกรรมของคุณ ชักจูงให้ Kellie Sutton ทำการแขวนคอในเช้าวันนั้น คุณทำร้ายเธอ และทำลายจิตใจของเธอ”   Kellie Sutton   ทางด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้นำสำนวนในครั้งนี้มาตั้งเป็นบรรทัดฐานใหม่ เพื่อใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบีบบังคับและควบคุมเหยื่อ…

  • โรงเรียนเยอรมัน เนรมิตเสื้อกั๊กทรายสำหรับเด็กดีด ไม่ตั้งใจเรียนเพียรถ่วงน้ำหนัก…

    โรงเรียนเยอรมัน เนรมิตเสื้อกั๊กทรายสำหรับเด็กดีด ไม่ตั้งใจเรียนเพียรถ่วงน้ำหนัก…

    เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมักจะมีปัญหากับการเพ่งสมาธิไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นปัญหาอย่างมากในขณะที่พวกเขาต้องตั้งใจเรียนตอนอยู่ในชั้นเรียน โดยเบื้องต้นแล้วหมอจิตเวชมักจะให้ยารักษากับเด็กเหล่านี้ อย่างไรก็ตามในตอนนี้หลายโรงเรียนในประเทศเยอรมัน หันมาใช้วิธีช่วยเหลือเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นรูปแบบใหม่ โดยให้พวกเขาสวมเสื้อกั๊กทรายถ่วงน้ำหนักเพื่อเพิ่มสมาธิให้กับเด็ก แต่ผู้ปกครองและหมอจิตเวชบางส่วนก็ยังมีข้อกังขากับวิธีรักษาแบบใหม่นี้     ในขณะนี้เสื้อกั๊กทรายถ่วงน้ำหนักกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการรักษาเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น เสื้อที่ว่านี้ใช้ทรายถ่วงน้ำหนักโดยแต่ละตัวจะมีน้ำหักตั้งแต่ 1.2 – 6 กิโลกัรม โรงเรียนกว่า 200 แห่งในเยอรมันก็กำลังใช้เสื้อตัวนี้เพื่อทำให้เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นในโรงเรียนตั้งใจเรียนมากขึ้น ผู้ปกครองบางส่วนบอกว่าการให้ลูกสวมเสื้อกั๊กทรายนั้นสามารถช่วยให้เด็กมีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้นจริงๆ ทางโรงเรียนที่ใช้เสื้อกั๊กนี้บางแห่งก็บอกว่ามันเป็นวิธีรักษาที่อ่อนโยนกว่าการให้เด็กทานยาจากหมอจิตเวชอีกด้วย Gerhild de Wall คุณครูจากโรงเรียน Grumbrechtstrasse ในเมือง Hamburg ประเทศเยอรมันเองก็บอกว่า “ไม่มีใครบังคับให้เด็กๆ ใส่เสื้อกั๊กทราย พวกเขาเต็มใจที่จะใส่มันด้วยตัวเองและดูเหมือนพวกเขาจะชอบมันมากด้วย”     ทว่าผู้ปกครองและหมอจิตเวชอีกส่วนหนึ่งมีคามเห็นที่ต่างออกไป พวกเขาคิดว่าเสื้อกั๊กทรายดูเหมือนเสื้อที่ให้คนในโรงพยาบาลบ้าใส่ และเด็กที่ใส่มันอาจจะถูกตีตราว่าเป็นเด็กมีปัญหาจนทำให้พวกเขาโดนล้อด้วย ผู้ปกครองท่านหนึ่งบอกว่า “เราควรจะหลีกเลี่ยงวิธีการที่ทรมานแบบนี้ มันเหมือนกับเราบอกว่า ‘เธอเป็นคนป่วยก็เลยต้องถูกลงโทษโดยสวมเสื้อกั๊กทราย ที่ทั้งเป็นภาระต่อร่างกายและยังทำให้ดูเหมือนคนโง่ในชั้นเรียนด้วย’ ฉันคิดว่ามันเป็นวิธีแก้ไขที่ไม่ถูกจุด “ แต่ Truller-Voigt ผู้ปกครองอีกท่านก็แย้งว่า “ลูกของฉันเต็มใจที่จะใส่มันเองแล้วเขาก็รู้สึกว่ามันช่วยเขาได้ด้วย … มันทำให้เขามีสมาธิมากขึ้นและสนใจกับเนื้อหาที่ครูสอนโดยไม่ต้องมากังวลกับการควบคุมมือและเท้าของตัวเองให้อยู่นิ่ง”     De Wall อธิบายหลักการของเสื้อกั๊กตัวนี้ว่า “เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมักจะมีปัญหาเพราะมัวแต่สนใจสิ่งรอบตัว … เสื้อกั๊กทรายจะช่วยให้พวกเขาเพ่งความสนใจไปที่ตัวเองมากขึ้น…

  • พาไปชมภาพถ่ายของเหล่าผู้ป่วยจากโรงพยาบาลจิตเวช

    พาไปชมภาพถ่ายของเหล่าผู้ป่วยจากโรงพยาบาลจิตเวช

    เมื่อวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์ Metro ได้เปิดเผยเรื่องราวของช่างภาพรายหนึ่งที่ชื่อว่า Laura Hospes เธอได้เดินทางไปถ่ายภาพคนไข้ที่โรงพยาบาลจิตเวชแห่งหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยบุคคลที่มีอาการเศร้าซึม, จิตตก และเบื่ออาหาร จนถึงขั้นพยายามฆ่าตัวตายด้วย   เธอเริ่มต้นถ่ายภาพคนไข้ภายในโรงพยาบาล เพื่อเผยให้เห็นชีวิตของคนๆหนึ่งที่ต้องผ่านการบำบัดในโรงพยาบาลจิตเวช ผลที่ได้ก็คือ ภาพถ่ายที่สวยงามและสื่อให้เห็นถึงอารมณ์และความรู้สึกผ่านดวงตาและท่าทางของพวกเขา   Laura ให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า “ในตอนแรก ฉันถ่ายภาพเพื่อตัวของฉันเอง เพื่อจัดการกับอารมณ์ของฉันเองและใช้โอกาสนี้ในการแสดงออกถึงผลงานผ่านหน้ากล้องของฉัน ฉันไม่ได้เก่งเรื่องการอธิบายเรื่องความรู้สึกเท่าไหร่ ฉะนั้นแทนที่ฉันจะแสดงมันออกมา ฉันเลยโชว์มันให้เห็นผ่านภาพถ่ายของฉันเลย”   นอกจากนี้ Laura ยังอธิบายอีกว่าการถ่ายภาพของเหล่าคนไข้ครั้งนี้ มันช่วยเธอได้มากทีเดียว เพราะมันทำให้เธอรู้สึกโดดเดี่ยวน้อยลง และมันน่าจะช่วยให้ผู้คนที่ตกอยู่ในสภาวะใกล้เคียงกันนี้ ระลึกถึงตนเองได้บ้าง       อันที่จริงแล้วผลงานของ  Laura ไม่ได้มีเพียงเท่านี้นะ หากใครอยากชมเพิ่มเติมสามารถตามไปดูกันต่อได้ที่ laurahospes เลยนะจ๊ะ