วิธีแก้เมื่อพบเจอกับ 11 สถานการณ์อันตราย ต้องทำอย่างไรถึงเอาชีวิตรอดได้!!?

ในชีวิตของคนเราอาจจะต้องพบเจอปัญหาต่างๆ ที่ทำให้เราต้องบาดเจ็บและเสี่ยงต่ออันตราย ซึ่งวิธีเอาตัวรอดจากสถานการณ์เสี่ยงอันตรายนั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากหากจำได้ แต่หลายๆ คนนั้นหลงลืมและมองข้ามไป

วันนี้เราจึงขอเสนอ วิธีแก้ไขเมื่อพบกับ 11 สถานการณ์อันตราย เมื่อใดที่ร่างกายบาดเจ็บหรือเจออุปสรรคเราก็สามารถนำวิธีเหล่านี้มาใช้ได้ยังไงล่ะ

 

1. กระแสน้ำย้อนกลับ

 

เมื่อเราลงเล่นน้ำในทะเล ถึงแม้ว่าจะเป็นบริเวณชายหาด แต่มันก็อาจจะเกิดกระแสน้ำที่พัดตัวเราออกจากฝั่งได้ กระแสน้ำนี้เรียกว่า กระแสน้ำย้อนกลับ ซึ่งทำให้ผู้คนต้องจมน้ำกันมานักต่อนักแล้ว

โดยปกติกระแสน้ำย้อนกลับจะเกิดขึ้นเป็นบริเวณแคบๆ ฉะนั้น หากพบเจอ ควรรีบว่ายไปยังกระแสน้ำนิ่งโดยการว่ายขนาบไปกับแนวชายหาด โดยพยายามอย่าว่ายสวนกระแสน้ำย้อนกลับมันทำให้เสียแรงเปล่า เมื่อว่ายออกจากจุดอันตรายได้แล้วจึงค่อยว่ายกลับขึ้นฝั่ง

ที่มา: https://www.nytimes.com/2017/07/31/us/riptide-rip-current-drowning-safety.html

 

2. อาหารติดคอ

 

ปกติถ้าเพื่อนของเรามีอาการอาหารติดคอเราอาจจะเอามือตบหลัง แต่ที่จริงแล้วมันมีวิธีที่ดีและปลอดภัยกว่านั้น ลองวิธีนี้ดู ให้ไปยืนข้างหลังเพื่อนที่มีอาหารติดคอ โอบกอดจากด้านหลัง

สองมือจับกันไว้ โดยที่มือข้างหนึ่งต้องยกนิ้วโป้งขึ้นมาดังภาพด้านล่างซ้าย ค่อยๆ กดลงพร้อมดึงขึ้นที่บริเวณหน้าท้องของเพื่อนอย่างรวดเร็ว ทำซ้ำๆ จนกว่าอาหารที่ติดคอจะหลุดออก

 

ที่มา: https://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-choking/basics/art-20056637

 

3. ถูกไฟช็อต

 

อย่างที่เราทราบกันดีว่าเมื่อเพื่อนถูกไฟฟ้าช็อต เราไม่ควรไปจับตัวหรือดึงเพื่อนออกมาด้วยมือเปล่า เพราะกระแสไฟฟ้าอาจทำอันตรายให้กับเราอีกทอดหนึ่งได้

ถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ให้รีบถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออก ใช้สิ่งของไม่นำไฟฟ้าผลักตัวเพื่อนที่ถูกไฟฟ้าช็อตออกห่างจากเครื่องใช้ไฟฟ้า (ใช้ไม้หรือพลาสติก เช่น ด้ามไม้กวาด) แล้วก็อย่าลืมสวมถุงมือยางด้วย

ถ้าเหตุการณ์สงบลงไม่ควรแตะต้องเพื่อนด้วยมือเปล่า ให้เรียกรถพยาบาล แต่ถ้าเพื่อนยังมีอาการไฟฟ้าช็อตอยู่ให้รีบนำตัวเพื่อนออกห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 9-10 เมตร

 

ที่มา: https://www.webmd.com/first-aid/electric-shock-treatment

 

4. แผลไหม้

 

เมื่อเกิดแผลไหม้ หลายคนอาจใช้ครีม เนย หรือแม้แต่ยาสีฟันมาทาบริเวณแผล ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ไม่แนะนำอย่างยิ่งเพราะอาจทำให้แผลติดเชื้อได้มากกว่าเดิม

ที่ถูกต้องคือ เมื่อเกิดแผลไหม้ควรลดอุณหภูมิผิวด้วยการล้างน้ำเย็นหรือใช้ของเย็นประคบ หากมีตุ่มน้ำพยายามอย่าเจาะหรือเปิด แต่ถ้ามันแตกเองห้ามใช้น้ำล้างเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ให้พันด้วยผ้าแผลแล้วไปหาหมอ

จะดีมากหากมีครีมที่ใช้สำหรับแผลไหม้ติดไว้ที่บ้าน เพราะมันจะช่วยลดความเจ็บปวดแถมช่วยรักษาผิวที่ถูกเผาไหม้อีกด้วย

 

ที่มา: https://www.webmd.com/first-aid/thermal-heat-or-fire-burns-treatment#1

 

5. แผลถูกบาดและเลือดออกมาก

 

เมื่อเส้นเลือดใหญ่ถูกตัดขาด เลือดที่ไหลออกมาจะมีสีแดงสด และจะไหลออกมามากเนื่องจากแรงสูบฉีดในร่างกาย กรณีนี้คุณควร ห้ามเลือดให้เร็วที่สุด และควรห้ามเลือดด้วยวิธีทำทูนิเก้ (รัดเพื่อห้ามเลือด)

เมื่อรัดทูนิเก้แล้วควรเขียนเวลาที่รัดบอกเอาไว้ด้วย ในอุณหภูมิห้องทั่วไปวิธีนี้อาจอยู่ได้ราวหนึ่งชั่วโมง แต่ในทุกๆ ครึ่งชั่วโมงควรจะคลายมันออกนิดหน่อยแล้วรัดกลับเหมือนเดิม

จากนั้นให้เรียกรถพยาบาล แล้วพันแผลด้วยผ้าพันแผลหรือเศษผ้าที่สะอาด

ที่มา: http://medicalency.com/pri-raneniyah-i-krovotecheniyah.htm

 

6. แผลถูกบาดและเลือดมีสารพิษ

 

หากถูกบาดเลือดออกแล้วในแผลมีพิษเป็นอันตราย เลือดที่ไหลออกมาจะมีสีแดงเข้มและจะไม่พุ่งแรง วิธีง่ายๆ ก็คือใช้ผ้าพันแผลปกติถ้า แต่ถ้าอาการหนักมาก็ควรพันแผลไว้ก่อนแล้วไปพบแพทย์

ที่มา: http://medicalency.com/pri-raneniyah-i-krovotecheniyah.htm

 

7. รอยฟกช้ำ

 

เมื่อเกิดแผลฟกช้ำ ให้ทำความเย็นบริเวณที่ช้ำก็เพียงพอ เช่น ประคบถุงน้ำแข็งไว้ที่จุดฟกช้ำราว 15-20 นาที แต่ถ้าหากบริเวณดังกล่าวมีอาการบวมหรือพองให้ใช้ผ้าพันแผลแบบยืดหยุ่นรัดเอาไว้และไปพบแพทย์

ที่มา: https://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-bruise/basics/art-20056663

 

8. ถูกกระแทกและเกิดความกระทบกระเทือน

 

เมื่อสงสัยว่าสมองจะถูกกระทบกระเทือนให้รีบเรียกรถพยาบาล ระหว่างรอทีมแพทย์ให้ผู้ป่วยนั่งกึ่งนอนโดยต้องปลดกระดุมกางเกงออกให้หลวม และถ้าหากเกิดความกระหายน้ำก็ให้ดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำชาหวานๆ

ที่สำคัญคือไม่ควรใช้ยาแอสไพรินเพื่อลดอาหารปวดหัว อีกทั้งอย่าพยายามหวังดีปรับที่นอน เบาะ หรือหมอน เพราะคนไข้ไม่ควรขยับตัว พยายามให้อยู่ในท่าที่สบายและคงท่านั้นเอาไว้

ที่มา: https://www.cprcertified.com/blog/how-to-treat-concussion

 

9. เลือดกำเดา

 

เมื่อเลือดกำเดาไหล ไม่แนะนำให้เงยหน้าขึ้นอย่างที่หลายๆ คนทำกัน การจะหยุดเลือดกำเดานั้น ทำได้ง่ายๆ เพียงแค่ใช้นิ้วบีบจมูกเอาไว้ราว 10-15 นาที

หลายคนก็อาจจะใช้สำลีอุดจมูกเอาไว้ ซึ่งก็เป็นวิธีที่ได้ผลระดับหนึ่งแต่อย่างไรก็ตามไม่ควรที่จะเงยหน้าขึ้น หากเลือดกำเดาไม่หยุดไหลเกินครึ่งชั่วโมงควรพบแพทย์

 

ที่มา: https://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-nosebleeds/basics/art-20056683

 

10. ปั๊มหัวใจ

 

การปั๊มหัวใจนั้นสำคัญมากหากเราพบว่าใครคนหนึ่งหมดสติและหัวใจไม่เต้น ก่อนอื่นเลยควรเรียกรถพยาบาลแล้วค่อยทำการปั๊มหัวใจจนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง การปั๊มหัวใจประกอบกับการผายปอดจะช่วยให้ร่างกายจำลองการสร้างออกซิเจนที่จำเป็น

วิธีคือ นำฝ่ามือทั้งสองมาวางคว่ำทับไขว้กันบริเวณอกช่วงล่างของผู้ป่วย แล้วให้กดลงในความถี่ที่ 100-120 ครั้งต่อนาที และพยายามอย่างอข้อศอกเพราะคุณจำเป็นต้องใช้น้ำหนักตัวด้วย

อย่าลืมที่จะผายปอดขณะที่การปั๊มหัวใจ หากมีผู้ช่วยทำ 2 คน การปั๊มหัวใจและผายปอดควรมีความถี่ในสัดส่วน 5 ต่อ 1 ครั้ง แต่หากทำโดยคนคนเดียวจะมีความถี่ที่สัดส่วน 15 ต่อ 2 ครั้ง (เป่าลมเข้า 2 ครั้งติดต่อกัน)

ที่มา: http://en.medicine-guidebook.com/terapiya-anesteziologiya-intensivnaya_nepryamoy-massa~1.html

 

11. รอยเห็บกัด

 

เมื่อมีรอยกัดที่เกิดจากเห็บ พยายามอย่าเทน้ำมันลงไปในแผล เพราะมันทำให้ไม่ทราบว่าแผลติดเชื้อหรือไม่ หากมีตัวเห็บอยู่ในแผลให้ใช้แหนบคีบออก หรือให้ผู้เชี่ยวชาญช่วย

จากนั้น หากมีอาการผื่นแดงหรือเป็นไข้ ควรรีบไปพบแพทย์ เมื่อคีบตัวเห็บออกมาได้แล้วควรเก็บเอาไว้ทดสอบ ว่ามันทำให้เลือดของคุณติดสารพิษหรือติดเชื้อหรือไม่

 

 

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านไม่มากก็น้อย ในการนำไปใช้แก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิต

ที่มา: brightside

Comments

Leave a Reply