สิ่งที่สะท้อนผ่าน “ของเล่นเด็ก” เหล่านี้ คือคุณภาพชีวิตของแต่ละบ้านที่ฐานะแตกต่างกัน

Anna Rosling Rönnlund ริเริ่มก่อตั้งทีมนักถ่ายภาพให้ออกไปถ่ายภาพของ 264 ครัวเรือนจำนวน 50 ประเทศ โดยในแต่ละบ้านที่พวกเขาเข้าไปถ่ายนั้นจะใช้เวลาเกือบทั้งวัน

พวกเขาต้องถ่ายสิ่งของราว 135 ชิ้นในบ้านนั้นๆ เช่น รองเท้า แปรงสีฟัน หรือแม้แต่ของเล่นที่พวกเขามีให้กับลูกๆ สิ่งของเหล่านี้จะแสดงให้เห็นถึง สภาพความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิต และรายได้ของแต่ละครอบครัว

สิ่งที่เราจะนำมาให้ทุกท่านได้พินิจพิจารณากันในวันนี้ก็คือ ภาพของเล่นเด็ก ในแต่ละบ้าน ที่จะสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างทางสังคม

บางครอบครัวที่มีรายได้หลักแสนต่อเดือน ของเล่นลูกๆ ก็จะเป็นแบบหนึ่ง ส่วนครอบครัวที่มีรายได้ต่อเดือนหลักพัน ก็จะมีของเล่นให้กับลูกๆ อีกแบบที่ต่างกันไป ลองไปชมภาพเหล่านั้นกันเลยดีกว่า…

 

ครอบครัวในประเทศบูร์กินาฟาโซ รายได้ 931 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นที่ดีที่สุดของหนูก็คือ ยางรถเก่าๆ

 

ครอบครัวในประเทศบุรุนดี รายได้ 931 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นแสนสนุกของผมคือ หัวปลี

 

ครอบครัวในประเทศอินเดีย รายได้ 995 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นสุดโปรดของผมคือ เจ้าสิ่งนี้

 

ครอบครัวในประเทศซิมบับเว รายได้ 1,091 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นที่สนุกที่สุดก็คือ ลูกบอลกระดาษ

 

ครอบครัวในประเทศซิมบับเว รายได้ 1,252 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นแสนสนุกก็คือ รถของเล่นที่ทำจากขวดพลาสติก

 

ครอบครัวอีกแห่งในประเทศซิมบับเว รายได้ 1,316 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นที่ดีที่สุดก็คือ รถของเล่น

 

ครอบครัวอีกแห่งในประเทศเฮติ รายได้ 1,380 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นที่ชื่นชอบก็คือ ห่วงพลาสติก

 

อีกครอบครัวในประเทศบูร์กินาฟาโซ รายได้ 1,444 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นสุดโปรดของหนูก็คือ ของเล่นเก่าๆ พังๆ

 

ครอบครัวอีกแห่งในประเทศซิมบับเว รายได้ 1,733 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นที่สนุกที่สุดก็คือ ยางรถยนต์

 

ครอบครัวในประเทศโกตดิวัวร์ รายได้ 1,958 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นแสนสนุกก็คือ รองเท้า

 

ครอบครัวอีกแห่งในประเทศอินเดีย รายได้ 2,087 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นสุดโปรดก็คือ อุปกรณ์กีฬาที่ทำขึ้นเอง

 

ครอบครัวในประเทศรวันดา รายได้ 2,311 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นที่สนุกที่สุดก็คือ ใบไม้

 

อีกครอบครัวในประเทศเฮติ รายได้ 3,275 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นสุดโปรดก็คือ เครื่องเกมกด

 

ครอบครัวในประเทศปาเลสไตน์ รายได้ 3,596 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นที่สนุกที่สุดของผมคือ ขวดพลาสติก

 

ครอบครัวในประเทศโคลอมเบีย รายได้ 3,949 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นที่สนุกที่สุดก็คือ ลูกวอลเลย์บอล

 

ครอบครัวในประเทศไนจีเรีย รายได้ 3,981 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นสุดแสนสนุกก็คือ ไม้พลอง

 

อีกครอบครัวในประเทศโคลอมเบีย รายได้ 5,233 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นที่สนุกที่สุดของหนูก็คือ แมวเหมียว

 

อีกครอบครัวในประเทศอินเดีย รายได้ 7,866 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นที่สนุกที่สุดของผมก็คือ รถของเล่น

 

ครอบครัวในประเทศจอร์แดน รายได้ 7,995 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นสุดโปรดของผมก็คือ ตุ๊กตายัดนุ่น

 

อีกครอบครัวในประเทศรวัน รายได้ 8,059 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นที่โปรดปรานที่สุดก็คือ กิ่งไม้

 

ครอบครัวในประเทศโบลิเวีย รายได้ 8,155 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นสุดโปรดของผมก็คือ ของเล่นยัดนุ่น

 

อีกครอบครัวในประเทศอินเดีย รายได้ 11,848 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นที่โปรดปรานที่สุดของผมก็คือ โทรศัพท์มือถือ

 

อีกครอบครัวในประเทศจอร์แดน รายได้ 18,719 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นที่โปรดปรานที่สุดก็คือ แท็บเล็ต

 

ครอบครัวในสหรัฐอเมริกา รายได้ 27,453 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นที่โปรดปรานที่สุดก็คือ ตัวต่อเลโก้

 

ครอบครัวในประเทศจีน รายได้ 71,763 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นสุดแสนสนุกก็คือ โมเดลรถถัง

 

ครอบครัวในประเทศแอฟริกาใต้ รายได้ 91,896 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นที่หนูชื่นชอบที่สุดก็คือ ตุ๊กตายัดนุ่น

 

ครอบครัวในประเทศเคนยา รายได้ 104,932 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นที่โปรดที่สุดของผมก็คือ แท็บเล็ต

 

ครอบครัวในสหรัฐอเมริกา รายได้ 149,307 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นที่ผมโปรดปรานมากที่สุดก็คือ อุปกรณ์เบสบอล

 

ครอบครัวในประเทศยูเครน รายได้ 323,980 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นที่หนูชอบมากที่สุดก็คือ ตุ๊กตาตัวยักษ์

 

ครอบครัวในประเทศจีน รายได้ 324,237 บาท ต่อผู้ใหญ่ 1 คน/เดือน

ของเล่นสุดโปรดที่ดีที่สุดก็คือ ตุ๊กตายัดนุ่น

 

ของเล่นแต่ละบ้านอาจไม่ได้ดูแตกต่างกันก็จริง แต่สิ่งที่อยู่ลึกกว่านั้นคือ ครอบครัวที่รายได้มากกว่า มี “สิทธิ์ในการเลือก” ของเล่นให้กับเด็กๆ มากกว่า

ที่มา: gapminder via boredpanda

Comments

Leave a Reply