กลุ่มผู้ชาย รวมตัวกันมาเผยความจริงว่าเคยโดน ‘ข่มขืน’ สื่อถึงความอยุติธรรมที่ได้รับ

แน่นอนว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับทุกเพศทุกวัยย่อมเป็นเรื่องที่มีอิทธิพลต่อสังคมมนุษย์เป็นอย่างมาก “การข่มขืน” ก็เป็นหนึ่งในประเด็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและส่งผลกระทบทางลบกับหลายๆ ฝ่าย

ไม่แปลกหากว่าพูดถึงเรื่องของการข่มขืนแล้วเราจะนึกถึงภาพเหยื่อที่เป็นเพศหญิง เพราะจากที่เราเห็นกันตามสื่อส่วนมากเป็นเช่นนั้น แต่แท้จริงแล้วนั้นเพศชายที่ถูกข่มขืนเองก็มีจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว

และวันนี้ พวกเขา “ชายที่เคยถูกข่มขืน” รวบรวมความกล้าก้าวออกจากความเงียบงัน สู่การแสดงออกถึงความจริงที่หลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับการข่มขืน

ในโลกแห่งความจริงนั้น ตามรายงานจากองค์กรต่อต้านความรุนแรงทางเพศของสหรัฐอเมริกาชื่อ RAINN พบว่าร้อยละ 10 ของเหยื่อที่ถูกข่มขืนเป็นเพศชาย และผู้ชายร้อยละ 0.33 ของอเมริกาเคยถูกข่มขืนหรือเกือบถูกข่มขืน

 

“นายควรขอบคุณที่ฉันอุตส่าห์ยอมส่งข้อความหานายนะ”

 

ในประเทศอังกฤษเองก็มีตัวเลขจำนวนผู้ชายที่ถูกข่มขืนสูงด้วยเช่นกัน เกือบจะร้อยละ 12 ของเหยื่อการข่มขืนทั้งหมดของประเทศเป็นเพศชาย

แต่ว่าปัจจุบันกลุ่มชายที่เคยถูกข่มขืนกลุ่มหนึ่งตัดสินใจที่จะออกมาบอกเล่าถึงความจริงที่หลายๆ คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องของการข่มขืน

 

“ไม่ต้องมีอะไรกันก็ได้ แค่ให้ฉันเลี้ยงเหล้าคุณอีกแก้วก็พอน่า…”

 

ชายกลุ่มนี้ออกมาบอกเล่าเรื่องราวของตน โดยการเขียนประกาศถึง “คำพูด” ที่ผู้กระทำชำเราใช้กับพวกเขาในเหตุการณ์ความรุนแรงนั้นๆ

การเผยแพร่นี้กระทำผ่านเว็บเพจของ Tumblr ที่ชื่อว่า Project Unbreakable ภายในเป็นการรวบรวมภาพถ่ายที่มุ่งเน้นช่วยเหลือเหล่าผู้ประสบความรุนแรงทางเพศ ความรุนแรงภายในบ้าน และความรุนแรงในวัยเยาว์

 

“ไม่ต้องห่วง พวกหนุ่มๆ น่ะชอบแบบนี้กันทั้งนั้น”

 

ท่ามกลางเหล่าสตรีที่เผยข้อมูลที่ตนได้ผ่านการถูกข่มขืน ชายเหล่านี้เองก็ได้ต่อสู้เพื่อจุดยืนของตน โดยการชูป้ายที่รวมเอาคำพูดของผู้กระทำชำเราที่ได้พูดต่อพวกเขาให้โลกได้รับรู้

 

“ไม่มีใครรักแกหรอกน่า และก็ไม่มีใครสนใจแกด้วย แกมันเป็นของชำรุดไปแล้ว”

 

โปรเจกต์นี้ยังได้ก่อให้เกิดผลกระทบเล็กน้อยในเชิงของการตอบโต้เรื่องผลการรายงานเกี่ยวกับการข่มขืนที่ต่ำกว่าความเป็นจริง

ผู้ประสบเหตุรายหนึ่งเล่าถึงการที่ผู้กระทำของเขา ซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่เลี้ยงดูเขาตอนเด็กๆ มาสอนวิธีทำให้สำเร็จความใคร่ด้วยตนเองกับเขา

 

“ฉันแค่จะสอนเธอถึงวิธีการช่วยตัวเอง เหมือนกับที่พี่ชายสอนฉัน” โดย คุณครูผู้เป็นเพื่อนของครอบครัว

 

ชายอีกคนก็เล่าถึงพี่เลี้ยงเด็กวัย 17 ปีของเขา ได้ใช้การป้ายความผิดให้กับเขาเพื่อกดขี่ข่มเหงเขาขณะที่เขายังเป็นเด็ก

บนป้ายของเขาเขียนว่า “ทำมันอีกครั้งซะ หรือจะให้ฉันบอกพ่อแม่เธอว่าเธอทำอะไรไม่ดีเอาไว้บ้าง?”

 

“ทำมันอีกครั้งซะ หรือจะให้ฉันบอกพ่อแม่เธอว่าเธอทำอะไรไม่ดีเอาไว้บ้าง?”

 

ส่วนชายอีกคนก็เขียนถึงการถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ และเขียนถึงความเป็นชายในวัยผู้ใหญ่ ด้วยการกล่าวถึงชายคนที่บอกว่าผู้กระทำชำเรากล่าวกับเขาว่า “พวกหนุ่มๆ น่ะชอบแบบนี้กันทั้งนั้น”

เป็นไปได้ว่า ด้วยการทำลายความคิดที่เกี่ยวกับความเป็นชายนี้เอง ที่ทำให้เพศชายมักมีรายงานเรื่องการถูกกดขึ่ทางเพศน้อยกว่าเพศหญิง

 

“นายดูงดงามมากจริงๆ…” โดย ผู้กระทำหลังจากที่เขาทำเสร็จ

 

รายงานจาก Silent Suffering: Supporting The Male Survivors Of Sexual Assault ในปี 2015 บอกว่า มีเพียงร้อยละ 3.9 ของเหยื่อการข่มขืนเพศชายเท่านั้นที่ทำการแจ้งความกับตำรวจ

รายงานดังกล่าวเป็นการศึกษาที่ไม่เคยมีมาก่อน ของเรื่องกำแพงกั้นทางสังคมที่เกิดขึ้นกับเหยื่อข่มขืนเพศชายทำให้พวกเขามีอาการฝืนใจที่จะแจ้งความถึงผู้กระทำผิด

 

“แมนๆ หน่อย แล้วก็ทำฉันซะ”

 

Michael May ผู้บริหารของ Survivors UK กล่าวว่า “สังคมเราส่วนมากกลัวที่จะเห็นเพศชายตกเป็นเหยื่อ เมื่อวัยเด็ก มักมีคนบอกว่าเพศชายจะมีความยืดหยุ่น พึงพอใจในตนเอง มีความเป็นผู้ปกป้อง และมีความโดดเด่นในกิจกรรมร่วมเพศ พร้อมทั้งยังสามารถป้องกันตนเองได้อีกด้วย”

 

“แกไม่รู้หรอก ว่าสิ่งที่แกทำกับฉันมันคืออะไร”

 

Survivors UK ผู้ที่คอยช่วยเหลือเหยื่อการข่มขืนเพศชายแห่งลอนดอน ได้มีรายงานออกมาว่า ในระหว่างปี 2010 ถึง 2014 มีชายที่ถูกกดขี่ทางเพศและข่มขืนราว 679,051 รายในประเทศอังกฤษและเวลส์ ซึ่งหากนับเฉพาะในกรุงลอนดอนจะมีจำนวนถึง 96,103 คนทีเดียว

จากตัวเลขทั้งหมดที่ปรากฏในรายงาน เหยื่อเพศชายราว 652,568 รายไม่ได้มีการรายงานหรือแจ้งความกับตำรวจ

 

“อะไรกัน จะมารู้สึกแปลกอะไรเอาตอนนี้?” โดย ผู้กระทำ
ส่วนตัวเขาเองเขียนตอบว่า “ใช่ ผมรู้สึกแปลกกับเรื่องนี้ตลอดนั่นแหละ แต่มันจะไม่มีวันมากำหนดตัวตนของผมได้หรอก”

 

ผู้ก่อตั้ง Survivors Manchester ชื่อว่า Duncan Craig กล่าวว่า “หากผู้ชายคิดว่าไม่สามารถพูดเรื่องนี้ได้ หรือไม่เข้าใจว่าแบบไหนที่เรียกว่าการกดขี่ มันก็จะตามมาด้วยความรู้สึกสับสนว่าเขาได้ถูกกระทำชำเราหรือไม่

กระบวนการความรุนแรงนี้มันมีบางอย่างซ่อนอยู่ที่ทำให้เหยื่อรู้สึกเหมือนเสียเปรียบ คุณจะรู้สึกว่าคุณอ่อนแอเกินไป และไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ทั้งที่จริงๆ แล้วคุณควรที่จะต้องสู้กลับ คนส่วนใหญ่คิดว่านี่คือความผิดของพวกเขาเอง”

 

“เราเป็นลูกพี่ลูกน้องกันนะ มาเถอะ สนุกออก เหมือนเล่นเกมไง…”

 

Duncan เข้าใจดีถึงปัญหาของเพศชายเมื่อปิศาจภายในร่างกายก่อตัวขึ้น เขาเคยเจ็บปวดจากการถูกข่มขืนมาตั้งแต่อายุ 11 ปีจนถึง 16 ปี ในแถบตะวันออกของแมนเชสเตอร์ โดยผู้ใหญ่ที่ควรจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กๆ

จากนั้นราวสิบปี ขณะที่เขาเข้ารับการฝึกฝนเพื่อเป็นนักบำบัด ทำให้เขาเองต้องพบกับผู้ที่เข้ามาปรึกษาด้วยเรื่องราวไม่ต่างจากเขาจำนวนไม่น้อย ซึ่งทำให้ Duncan เข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับพวกเขาเหล่านั้นได้อย่างแจ่มแจ้ง

 

“ผมไม่ใช่เหยื่อของสภาพที่ผมเป็นอยู่”

 

ขณะที่มีความช่วยเหลือและสนับสนุนกลุ่มชายที่เคยถูกข่มขืนเกิดขึ้นแล้วก็ตาม การรายงานเรื่องการถูกกดขี่ทางเพศและการข่มขืนของเพศชายก็ยังคงถือว่าน้อยกว่าอัตราการรายงานต่อตำรวจในกรณีของเหยื่อที่เป็นเพศหญิงมากอยู่ดี

 

หวังว่าการออกมารณรงค์ของเหล่าชายผู้เป็นเหยื่อของการกดขี่ทางเพศนี้จะได้รับผลลัพธ์ที่ดี

 

ที่มา: Unilad

Comments

Leave a Reply