หญิงสาวชาวเอเชียผันตัวเองจาก “คนไร้บ้าน” สู่ “สมาชิกสภาเมืองเคมบริดจ์” ที่อายุน้อยที่สุด

มีโอกาสน้อยมากที่คนไร้บ้านจะกลายเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญทางสังคม โดยเฉพาะในแวดวงการเมือง แต่ทุกอย่างย่อมเป็นไปได้ หากเริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง

Nadya Okamoto นักศึกษาวัย 19 ปี จากที่เคยเป็นเพียงคนไร้บ้าน เธอได้ผลักดันตัวเองจนกระทั่งมีโอกาสได้เป็นสมาชิกสภาที่อายุน้อยที่สุด

Okamoto เป็นผู้ก่อตั้ง PERIOD องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร โดยจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพให้กับผู้หญิงที่มีรายได้ต่ำ ตอนนั้นเธอเป็นแค่นักเรียนมัธยมปลายเท่านั้น

 

 

ปัจจุบันเธอได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ในรัฐแมสซาชูเซตส์ และกำลังรับมือกับสิ่งที่ท้าทายที่สุดในชีวิต นั่นคือการถูกเสนอชื่อให้เป็นสมาชิกสภาพเมืองเคมบริดจ์ที่อายุน้อยที่สุด

อย่างไรก็ตาม กว่าหญิงสาวจะประสบความสำเร็จในวันนี้ มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

Okamoto เติบโตขึ้นในสังคมที่มีคนผิวขาว ในพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน ทำให้ถูกคนรอบข้างรังแกตั้งแต่เด็กเพราะเธอเป็นคนเอเชียซึ่งเป็นคนส่วนน้อยในสังคม

 

 

หญิงสาวเล่าว่า “ตอนนั้นฉันเป็นเด็กเอเชียตัวเล็กคนหนึ่ง แต่ผู้คนมักจะมองมาที่ฉันสายตาแปลกๆ นั่นทำให้ฉันต่อต้านทุกอย่างที่เป็นการบ่งบอกว่าเป็นคนเอเชีย”

“ฉันบอกคนอื่นๆ ว่าเกลียดคณิตศาสตร์ ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วฉันเก่งคณิตศาสตร์และฉันก็ชอบคณิตมากด้วย”

นอกจากนี้หญิงสาวยังต้องเผชิญกับปัญหาภายในครอบครัวด้วย ทั้งการใช้ความรุนแรงและการเหยียดผิวภายในครอบครัวของตัวเอง

 

 

พ่อของเธอเป็นคนญี่ปุ่น-อเมริกัน ส่วนแม่เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายไต้หวันที่เกิดในอินเดีย นั่นทำให้ครอบครัวของเธอมีความขัดแย้งเรื่องเชื้อชาติอย่างต่อเนื่อง

เท่านั้นยังไม่พอ Okamoto เติบมากับตายายที่เป็นชาวไต้หวัน ซึ่งเกลียดคนญี่ปุ่นมากๆ เพราะพวกเขาเคยอยู่ในบ้านที่ถูกยึดครองโดยทหารญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

นอกจากญี่ปุ่นแล้ว ตายายของหญิงสาวยังรังเกียจและดูถูกคนจีนด้วย เวลาที่เดินผ่านย่านไชน่าทาวน์ คุณยายจะปิดจมูกเพราะไม่อยากได้กลิ่นสาบคนจีน และเมื่อกลับถึงบ้านยายจะอาบน้ำและล้างเท้าเธอให้สะอาดเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้ความจีนติดตัวมา ทั้งๆ ที่เธอแค่เดินผ่านย่านคนจีน…

 

 

ต่อมาเมื่อ Okamoto เข้าเรียนมัธยมปลายปีแรก พ่อแม่ของเธอก็หย่ากัน เธออยู่กับแม่ แต่แม่ตกงานและไม่สามารถจ่ายค่าเช่าบ้านได้ ทำให้ครอบครัวต้องกลายเป็นคนไร้บ้าน

ตอนอายุ 16 ปี หญิงสาวต้องทำงานอย่างหนักเพื่อเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัว พวกเขาต้องไปขออาศัยอยู่กับเพื่อนสนิทเป็นเวลาหลายเดือน

ตอนนั้น Okamoto คิดเสมอว่าทำไมเธอต้องดิ้นรนมากมายขนาดนี้ ทั้งๆ ที่เธออายุแค่ 16 ปีเท่านั้น และปัญหาทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้มาจากตัวเธอเองด้วย แต่มาจากความสัมพันธ์ของครอบครัวที่ไม่ดี

 

 

อย่างไรก็ตาม นั่นเป็นโอกาสที่ทำให้หญิงสาวได้ติดต่อพูดคุยกับคนจรจัดครอบครัวอื่น และได้ฟังเรื่องการการต่อสู้ของพวกเขา

และแล้วเรื่องราวการจัดการกับประจำเดือนของผู้หญิงที่มีรายได้น้อย ก็ทำให้ Okamoto คิดบางอย่างได้

“พวกเขาบอกว่าใช้ถุงเท้า กระดาษ กระดาษทิชชู่ กระดาษสีน้ำตาล และแม้กระทั่งกระดาษแข็ง แทนผ้าอนามัย… เมื่อได้ยินเรื่องเหล่านี้และรู้มาว่าองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ไม่มีบริการที่ยั่งยืนสำหรับคนไร้บ้าน ฉันจึงคิดว่าควรทำอะไรบางอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่จำเป็น” หญิงสาวกล่าว

 

 

นั่นทำให้ PERIOD ก่อตัวขึ้นในปี 2014 โดย Okamoto ได้ทำให้มันกลายเป็นองค์กรเอกชนเพื่อสตรีที่เติบโตอย่างรวดเร็วในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่เมืองพอร์ตแลนด์และบอสตัน

หลังจากที่องค์กรดำเนินงานมาได้ไม่นาน เธอก็รับความร่วมมือจากร้านค้าต่างๆ กว่า 110 แห่ง รวมทั้งมหาวิทยาลัย โรงเรียนมัธยมทั่วอเมริกา และต่างประเทศ

จากการเคลื่อนไหวนี้ ทำให้ชีวิตช่วงมัธยมปลายของ Okamoto ได้เรียนรู้ความเป็นเอเชียมากขึ้น และเธอก็ภูมิใจที่เป็นคนเอเชีย

 

 

ในที่สุดเธอก็ตั้งชมรม Asian Pride Club ในโรงเรียน ซึ่งเป็นชมรมเพื่อคนเอเชีย แต่มีหลายคนต่อต้านชมรมนี้ โดยอ้างว่าทางโรงเรียนไม่มีชมรมเพื่อคนผิวขาว ดังนั้นจึงไม่ควรมีชมรมเพื่อคนเอเชียเหมือนกัน เพราะมันจะทำให้เกิดการแบ่งแยกเชื้อชาติ

อย่างไรก็ตาม หญิงสาวพยายามต่อสู้กับความขัดแย้งนั้น จนทำให้มีชมชม Asian Pride Club ในโรงเรียนของเธอ…

Okamoto ไม่เคยคิดจะก่อตั้งออฟฟิศ แต่ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยในเคมบริดจ์ ทำให้เธอตัดสินใจทำแคมเปญเพื่อให้คนจรจัดได้มีที่อยู่อาศัย

 

 

คนรอบข้างถ้าหัวเราะกับสิ่งที่เธอทำ บางคนบอกว่าเธอเด็กเกินไปที่จะทำเรื่องพวกนี้ได้ นอกจากนี้ยังมีคำดูถูกอื่นๆ อีกมากมาย แต่หญิงสาวก็ยังมุ่งมั่นที่จะทำต่อไป

ท่ามกลางการดูถูกนี้ มีเพื่อนประมาณ 6-11 คน ยินดีที่จะเข้าร่วมแคมเปญกับเธอ จนในที่สุดพวกเขาก็ประสบความสำเร็จ โดยมีคนมากมายที่อยากสนับสนุนเธอ

แคมเปญของ Okamoto แบ่งออกเป็น 4 ประเด็นหลัก คือ การจัดการที่อยู่อาศัย ทุนการศึกษา ชีวิตที่ยั่งยืน และความสัมพันธ์ในมหาวิทยาลัย

 

 

แน่นอนว่าสิ่งที่หญิงสาวทำทั้งหมดนี้ ทำให้เธอกลายเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย จนถูกเสนอชื่อให้เป็นสมาชิกสภาเมืองเคมบริดจ์ที่อายุน้อยที่สุด และยังเป็นคนเอเชีย-อเมริกันหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์ของเคมบริดจ์ด้วย

หากได้รับเลือก Okamoto ตั้งใจจะดรอปเรียนเป็นเวลา 1 ปี เพื่อจะได้ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ โดยเธอตั้งใจจะผลักดันนโยบายเรื่องที่อยู่อาศัย เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัยอย่างเท่าเทียม

 

 

หญิงสาวเผยว่าความสำเร็จในวันนี้มาจากประสบการณ์ในชีวิตของเธอ แรงกดดันรอบตัวเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เธอทำตามเป้าหมาย และเธอก็รู้สึกว่าตัดสินใจถูกแล้วที่ไม่ยอมแพ้เพราะคำดูถูกที่ผ่านมา

ยิ่งไปกว่านั้นคือเธอรักในสิ่งที่ทำ โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนคืออยากเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น อายุไม่ได้เป็นตัววัดว่าคุณจะประสบความสำเร็จหรือไม่ แต่ความคิดและการกระทำต่างหากที่จะเป็นตัวตัดสิน

 

ที่มา nextshark

Comments

Leave a Reply