พ่อแม่ชาวเกาหลี แห่เรียก ‘อาจอชีเซอร์วิส’ ลุงปกป้องลูกหลาน จากการถูกรังแกในโรงเรียน!!

กลายมาเป็นอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจการให้บริการที่แหวกแนวขึ้นมาอีกขั้น ภายหลังจากการกลั่นแกล้งรังแกและข่มเหงในโรงเรียน เป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขให้หมดไปจากสังคมเกาหลีใต้ได้

 

อาจอชีเซอร์วิส จ้างลุงปกป้องลูกจากการถูกรังแกในโรงเรียน

 

ด้วยเหตุนี้ จึงกลายมาเป็นช่องทางในการกำเนิด ‘อาจอชีเซอร์วิส’ ให้บริการในประเทศเกาหลีใต้ โดยมาพร้อมกับแพคเกจว่าจ้างลุง 3 รูปแบบ ได้แก่ แพคเกจลุงเนียน แพคเกจลุงเก็บหลักฐาน และแพคเกจลุงตามประจาน

 

แพคเกจลุงเนียน

 

สำหรับแพคเกจลุงเนียน เป็นบริการในรูปแบบของชายช่วงวัย 30 – 40 ปี ตัวใหญ่ สวมบทบาททำตัวเป็นลุงของเด็กนักเรียนคนนั้น

โดยอาจอชีหน้าม้าจะออกมาประจัญหน้าเด็กที่คอยตอแย และจะไปรับลูกของพ่อแม่ผู้ว่าจ้าง เพื่อส่งและรับกลับจากโรงเรียนในวันนั้นๆ อัตราค่าจ้างต่อวันอยู่ที่ 500,000 วอน

 

แพคเกจลุงเก็บหลักฐาน

 

แพคเกจเก็บหลักฐาน ก็ตามชื่อของมันเลย อาจอชีจะทำการสำรวจและเก็บหลักฐาน การถูกข่มเหงรังแกด้วยกล้องขนาดจิ๋ว เมื่อได้หลักฐานเพียงพอแล้ว จะทำการฟ้องต่อคุณครูในโรงเรียน

หากไม่ใส่ใจแก้ปัญหา จะทำการส่งเรื่องไปถึงระดับผู้บริหารของโรงเรียนให้จัดการแทน (นั่นหมายถึงหน้าที่การงานของครูด้วย) อัตราค่าแพคเกจนี้รวมอยู่ที่ 400,000 วอน

 

แพคเกจลุงตามประจาน

 

ส่วนแพคเกจสุดท้าย จะเป็นการจ้างวานอาจอชีให้ไปตามรังควานพ่อแม่เด็กฝ่ายรังแก ลุงจะใช้พลังเสียงทั้งหมดที่มีตะโกนโหวกเหวกทั้งในและนอกที่ทำงาน ประจานว่าพ่อแม่เด็กขี้แกล้งทำงานอยู่ที่นี่ จะต้องไม่มีที่ยืนในสังคมหากไม่ยอมแก้ไขปัญหา

ส่วนค่าแพคเกจนี้จะแพงหน่อย อยู่ที่ 2,000,000 วอน ใช้สิทธิ์ได้ทั้งหมด 4 ครั้ง โดยให้เหตุที่แพงกว่าเนื่องจาก เวลาพ่อแม่ 2 ฝ่ายนัดมาเคลียร์ปัญหากันเอง มักจะลงเอยด้วยการตีกันอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นให้ลุงออกมาช่วยแฉแบบนี้ น่าจะปลอดภัยมากกว่า (แต่ห่วงสวัสดิภาพของลุงด้วย)

 

 

หลังจากที่เปิดตัวให้บริการไปอาจอชีเซอร์วิสไปแล้ว พ่อแม่ส่วนใหญ่ต่างยอมรับว่าบริการนี้คือทางออกที่ดีกว่าการรอให้โรงเรียนจัดการ

เพราะคุณครู พ่อแม่ ทนาย และคนนอกอื่นๆ อีกมากมาย ต้องคอยประสานงานกันเพื่อนัดประชุมหาทางออกในการแก้ไขปัญหากลั่นแกล้งในโรงเรียน และมักจะเกิดเป็นคดีความที่กินเวลายาวเหยียด…

อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์ Kim Yoon Tae จากมหาวิทยาลัยเกาหลี เป็นกังวลว่ารูปแบบการให้บริการดังกล่าวนั้น เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของความรุนแรง แทนที่แก้ไขปัญหาให้ตรงจุดด้วยการปรับระบบโรงเรียนมากกว่า

 

ที่มา: nate, allkpop, odditycentral


Tags:

Comments

Leave a Reply