‘วานิลลา’ ขุมทรัพย์แห่งมาดากัสการ์ ผู้ส่งออกของแท้ ที่เหลือเพียง 1% บนโลก…

หากพูดถึงรสชาติอันหอมหวานของวานิลลา ถือว่าเป็นรสชาติขั้นพื้นฐานของบรรดาขนมหวานต่างๆ ทั่วโลกที่จะมาควบคู่กับช็อกโกแลต แท้จริงแล้ววานิลลาที่กำลังรับประทานกันอยู่นั้น ไม่ใช่ของแท้อย่างที่เราเข้าใจกัน…

 

 

วานิลลาคือเถาไม้เลื้อยชนิดหนึ่ง มีต้นกำเนิดมาจากประเทศเม็กซิโก ถูกนำมาปลูกในประเทศมาดากัสการ์ในช่วงศตวรรษที่ 19 โดยเจ้าอาณานิคมอย่างฝรั่งเศส จนกระทั่งในช่วงปี 1960 วานิลาก็กลายเป็นพืชยอดฮิตของชาวมาดากัสการ์

ด้วยภูมิประเทศที่มีความชื้นสูง อุณหภูมิพอเหมาะ และกลายมาเป็นผู้ส่งออกวานิลลารายใหญ่ที่สุดของโลก เคียงคู่กับประเทศอินโดนีเซีย

 

 

ปัญหาของการปลูกวานิลลาเริ่มส่อปัญหาภายในมากยิ่งขึ้น หลังจากที่ได้รับความนิยมสูง มูลค่าของวานิลลาก็ยิ่งมีมูลค่าแพง สามารถนำไปตากแห้งและขายได้สูงถึง 515 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 16,900 บาทต่อ 1 กิโลกรัม

 

 

ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้เกิดหมู่โจรปล้นและขโมยฝักวานิลลาจากสวนของชาวบ้าน และเจ้าของเองก็ต้องคอยลาดตระเวนดูฝักวานิลลาตลอดทั้งวันทั้งคืน ต้องพกปืนติดตัวเพื่อป้องกันทั้งตัวเองและผลผลิต รอคอยวันเก็บเกี่ยวที่จะมีเพียงแค่ครั้งเดียวต่อปีเท่านั้น

 

การสลักชื่อลงบนฝักวานิลลา

 

นอกเหนือจากการลาดตระเวน ตรวจตราผลผลิตแล้ว อีกหนึ่งวิธีป้องกันก็คือการสลักชื่อและการใส่เลขซีเรียลเอาไว้ เก็บเป็นร่องรอยเอาไว้แสดงว่าใครเป็นเจ้าของ แม้จะนำไปตากแห้งแล้วก็ตาม

 

 

ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยความหวาดผวาเกรงว่าจะถูกขโมยผลผลิตวานิลลาอันอวบอิ่มไป ชาวสวนจึงเร่งทำการเก็บเกี่ยวทั้งที่ยังไม่โตเต็มที่ เมื่อนำไปขายก็จะได้วานิลลาที่ผ่านมาตรฐานน้อยลง ส่วนที่เหลือคือวานิลลาคุณภาพต่ำ ไม่สามารถนำไปใช้แต่งกลิ่นได้

 

 

ทางด้านอีกฟากฝั่งหนึ่งของโลกตะวันตก ตามร้านค้าขายไอศกรีมที่ใช้วัตถุดิบตามธรรมชาติ ต้องประกาศให้ลูกค้าได้ทราบอย่างชัดเจนว่า ‘ไม่มีรสชาติวานิลลาขาย’ เนื่องจากไม่ต้องการใช้สารสังเคราะห์มาผสมลงในไอศกรีม

 

 

แม้ว่าในปัจจุบันเรายังคงเห็นรสชาติวานิลลาในขนมหวานต่างๆ วางจำหน่ายอยู่นั้น กลับเป็นสารสังเคราะห์จากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ที่มีราคาถูกกว่าวานิลลาแท้ 20 เท่า

ซึ่งจะมีวานิลลาแท้เหลือเพียงแค่ 1% บนโลกเท่านั้น จากผู้ส่งออก 4 ประเทศได้แก่ มาดากัสการ์ อินโดนีเซีย เม็กซิโก และปาปัวนิวกินี

สำหรับวานิลลาที่ได้มาจากฝักตามธรรมชาติ จะมีคุณภาพแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่เพาะปลูก เปรียบได้เหมือนกับการหมักไวน์

 

 

และวานิลลาจากมาดากัสการ์จะมีคุณสมบัติกลิ่นหอมหวาน และรสชาติคล้ายกับเหล้ารัม จึงไม่แปลกใจที่เหล่าผู้ผลิตไอศกรีมจะเลือกวานิลลาจากมาดากัสการ์มากกว่าที่อื่น

 

ที่มา: ozyaljazeera, reuters, euronews, downtoearth, pri, resiliencepost, bbc


Tags:

Comments

Leave a Reply