มารู้จักเด็กๆ ให้มากขึ้นดีกว่ากับ 8 ทฤษฎีที่น่าสนใจของความแตกต่างระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่

ว่ากันว่าเด็กๆ นั้นมองโลกต่างกับผู้ใหญ่ พวกเขานั้นทำอะไรลงไปโดยที่ยังคิดว่าตัวเองนั้นเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และทุกๆ คนเป็นเหมือนดั่งดวงดาวที่หมุนรอบตัวของพวกเขาอยู่ แต่เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมเด็กๆ ถึงเป็นเช่นนั้น

นี่คือ 8 ทฤษฎีที่น่าสนใจของความแตกต่างระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ ที่จะมาตอบคำถามมากมายที่อยู่ในหัวเราเกี่ยวกับเด็กๆ ตั้งแต่การจินตนาการไร้ขอบเขตของพวกเขา เรื่อยไปจนทำไมบางครั้งพวกเขาก็พูดอะไรแปลกๆ ออกมา

 

จินตนาการของเด็กๆ

จนกว่าจะโตในระดับหนึ่ง เด็กเล็กจะไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างจินตนาการกับความเป็นจริงได้ นั่นเป็นเหตุผลที่พวกเขามั่นใจว่าสิ่งที่พวกเขาแต่งขึ้นมาเองในหัวมีอยู่จริง อย่างไรก็ตามหากเด็กได้ยินเรื่องที่ไม่น่าเชื่อจากบุคคลอื่นพวกเขาก็จะไม่เชื่อมันเท่าไหร่นักคล้ายๆ กับผู้ใหญ่

การทดลองแสดงให้เห็นว่าเส้นแบ่งระหว่างความคิดและความเป็นจริงในการรับรู้ของเด็กน้อยนั้น มีอยู่ค่อนข้างน้อย เพราะพวกเขายังไม่เข้าใจว่าความรู้ใดเป็นความจริงนั่นเอง

 

ขาดความคิดเชิงนามธรรม

มีเรื่องที่ว่าเด็กที่อายุน้อยกว่า 11 ปีจะสามารถคิดโดยอิงถึงความเป็นจริงในปัจจุบันเท่านั้น และไม่สามารถคิดแบบนามธรรมได้

นักจิตวิทยา Rudolph Schaffer ได้ทำการทดลอง โดยถามเด็กสองกลุ่มว่าจะวางตาที่สามบนส่วนไหนของร่างกายดี เด็กทั้งหมดในกลุ่มที่อายุ 9 ปี จะชี้ไปที่หน้าผาก เพราะมีสองตาอยู่ที่บริเวณใกล้ๆ

ส่วนกลุ่มที่สองที่ประกอบด้วยเด็กที่อายุ 11 ปีซึ่งสามารถคิดได้แบบนามธรรมได้แล้ว ดังนั้นพวกเขาจึงเริ่มเสนอทางเลือกที่แตกต่างกันไป เช่นการวางตาบนฝ่ามือเพราะจะทำให้พวกเขาสามารถมองเห็นด้านหลังได้

 

การเรียนภาษา

เด็กๆ จะสามารถเรียนรู้ภาษาได้ง่าย นักภาษาศาสตร์ Noam Chomsky อธิบายว่ามีสิ่งที่คล้ายๆ กล่องเครื่องมือในสมองของมนุษย์ซึ่งเชื่อมต่อกฎไวยากรณ์ของภาษาทั้งหมด

นอกจากนี้ยังมีเซลล์สมองนับล้านที่รับผิดชอบต่อการรับรู้ของเด็กและการทำซ้ำคำพูดที่ก่อให้เกิดระบบการดำเนินการที่ซับซ้อน โดยที่ระบบดังกล่าวจะเสร็จสิ้นการพัฒนาในเวลาที่เราอายุ 10 ปี

ว่าง่ายๆ ว่าเมื่อคุณอายุมากขึ้น การเรียนรู้ภาษาใหม่ก็จะยากขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

 

การมีอยู่ของวัตถุ

เด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบจะคิดว่าวัตถุที่มองไม่เห็นนั้น หายไปตลอดกาล นักจิตวิทยา Jean Piaget ได้ออกมาพิสูจน์แล้วว่าความรู้เกี่ยวกับการดำรงอยู่ของวัตถุที่อยู่นอกระยะมองเห็นของเราจะพัฒนามากับอายุ

เด็กเล็กๆ จะไม่มีประสบการณ์พอที่จะเข้าใจว่าวัตถุที่มองไม่เห็นยังคงมีอยู่

 

การแยกรูปลักษณ์ประจำตัว

นักวิทยาศาสตร์อ้างว่าทารกที่เกิดใหม่จะไม่สามารถแยกแยะใบหน้าได้ เนื่องจากไม่มีประสบการณ์มากพอ และพวกเขาจะยังเห็นวัตถุเป็นภาพเบลอ

การทดลองชิ้นหนึ่งได้พิสูจน์ว่าทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือนไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างของใบหน้าของคนอื่นได้ แต่เมื่อถึงวัย 9 เดือนพวกเขาสามารถปรับตัวและเริ่มแยกใบหน้าของคนเหล่านั้นจากคนที่ไม่รู้จักได้

และเมื่ออายุหนึ่งปีสายตาของพวกเขาชัดเจนพอที่จะสามารถมองเห็นวัตถุอย่างคมชัดและมีสีสันได้

 

การเปลี่ยนแปลงรูปทรงในปริมาณเท่าเดิม

เด็กๆ จะขาดความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรูปทรงในปริมาณเท่าเดิม นั่นคือเหตุผลว่าทำไม เวลาคุณเทน้ำจากแก้วทรงสูงลงในแก้วทรงกว้างแล้วเด็กๆ จะคิดว่ามีน้ำมากขึ้น ก่อนที่จะอายุเจ็ดขวบ เด็กๆ จะเชื่อว่าถ้ารูปร่างของแก้วเปลี่ยนไป ปริมาณของข้างในก็จะเปลี่ยนไปด้วย

เป็นที่เชื่อกันว่าเด็กๆ จะไม่สามารถคำนวณโดยรวมมิติความสูงและความกว้างพร้อมกันได้ พวกเขาจะเน้นความสนใจไปที่มิติใดมิติหนึ่งเท่านั้น

 

การวาดภาพ

เด็กอายุ 5-9 ปีที่ได้รับมอบหมายให้วาดถ้วยชาซึ่งวางไว้ในลักษณะที่คิดได้ว่าอาจจะมีที่จับ แม้จะมองไม่เห็นก็ตาม ผลที่ออกมาคือแต่เด็กทุกคนที่อายุต่ำกว่า 7 ขวบมีการวาดที่จับเพิ่มลงไปในภาพตรงกันข้ามกับเด็กที่มีอายุมากกว่า 7 ปีที่วาดถ้วยโดยไม่มีที่จับ

นักจิตวิทยาได้ข้อสรุปว่านี่เป็นข้อแตกต่างหลักระหว่างเด็ก และผู้ใหญ่ ถ้าผู้ใหญ่จะวาดภาพวัตถุที่พวกเขาเห็นออกมาตรงๆ ในขณะที่เด็กๆ จะเพิ่มองค์ประกอบที่แม้พวกเขาจะมองไม่เห็น แต่ควรมีอยู่ด้วย

 

การทำความเข้าใจศีลธรรม

เมื่อพูดถึงศีลธรรมทุกสิ่งทุกอย่างจะง่ายสำหรับเด็ก เด็กเล็กจะหลีกเลี่ยงการโดนลงโทษในการกระทำผิด ส่วนเด็กที่โตขึ้นมาอีกนิดจะเข้าใจศีลธรรมในรูปแบบการกระทำที่ควรได้รับรางวัล

ว่าง่ายๆ ว่าถ้าถามเด็กเล็กว่าระหว่างคนที่ตั้งใจทำแว่นพังหนึ่งอัน กับคนที่ไม่ได้ตั้งใจทำแว่นพังสองอัน คนไหนผิดมากกว่า เด็กเล็กจะบอกว่าคนที่ทำแว่นพังสองอันนั่นเอง เนื่องจากพวกเขามองที่ผลการกระทำที่ออกมามากกว่าความตั้งใจนั่นเอง

 

 

ที่มา brightside

Comments

Leave a Reply