พบประติมากรรมอูฐอายุ 2,000 ปี บนหน้าผาซาอุดีอาระเบีย ทั้งที่ยังไม่นิยมสลักภาพนูนในช่วงนั้น…

งานแกะสลักรูปอูฐขนาดเทียบเท่าของจริงจากราวๆ 2,000 ปีก่อน ถูกพบเจอ ณ ที่รกร้างแห้งแล้งในทะเลทรายของซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเมื่อเทียบกับยุคที่มันเกิดขึ้นแล้ว มันเป็นประติมากรรมที่มีมาตราส่วนแบบไม่เคยคาดคิดมาก่อน

งานชิ้นนี้ถูกพบในเมืองอัลเจาฟ์ ทางตอนเหนือของผระเทศซาอุดีอาระเบีย สถานที่ที่พบเจอถูกเรียกว่า Camel Site ส่วนผู้ที่ค้นพบก็คือทีมนักวิจัย Franco-Saudi

แม้งานแกะรูปอูฐนี้ดูไม่สมบูรณ์นัก และถูกสลักบนหินทั้งสามส่วนที่ยื่นออกมาจากหน้าผา กลุ่มนักวิจัยก็สามารถระบุรูปร่างของอูฐได้หลายตัวทีเดียว

 

 

ถึงกระนั้น เหตุผลที่ผู้สลักเลือกที่จะมาแกะสลักรูปสัตว์ไว้ ณ พื้นที่ห่างไกลแบบนั้น ยังคงเป็นปริศนาที่ต้องสืบหากันต่อไป

นักวิทยาศาสตร์เสนอว่าสถานที่แห่งนี้อาจจะเคยเป็นสถานที่สำหรับพิธีการบูชาหรือไม่ก็รูปภาพอูฐเหล่านี้อาจถูกสลักไว้เป็นเครื่องหมายแบ่งเขตแดน

มีการศึกษาเกิดขึ้นโดยอิงมาจาก Centre National de la Recherche Scientifique (CNRS) ในฝรั่งเศสและทีมงานจาก Saudi Commission for Tourism and National Heritage (SCTH) ที่เข้ามาสำรวจงานแกะสลักนี้ในปี 2016 และ 2017

 

 

นักโบราณคดีชื่อว่า Guillaume Charloux ผู้ที่เป็นวิศกรงานวิจัยของ CNRS ฝรั่งเศสกล่าวว่า “แม้ว่าการกร่อนที่เกิดจากธรรมชาติได้ทำลายภาพอูฐไปส่วนหนึ่ง แต่ด้วยร่องรอยของการใช้เครื่องมือ ที่มีการลงน้ำหนักหลากรูปแบบ ทำให้เราสามารถระบุภาพแกะสลัก และภาพผิวนูนของสัตว์จำพวกอูฐหรือม้าได้”

ส่วนหนึ่งปรากฏภาพการพบกันของอูฐหนอกเดียวกับลาซึ่งเป็นสัตว์ที่แทบไม่พบอยู่บนการแกะสลักหิน ประกอบกับหลายๆ ภาพที่พบ ซึ่งมีความแตกต่างกับงานแกะสลักหินที่เคยค้นพบในดินแดนแถบนี้

 

 

ในทางเทคนิค มันดูแตกต่างไปจากงานสลักที่เคยค้นพบในทะเลทรายเขตอื่นๆ เพราะส่วนมากเป็นการแกะสลักภาพสัตว์จำพวกอูฐลงไปตรงๆ โดยมิได้มีการเน้นนูน เช่น ประติมากรรมบนฉากหน้าของ Al Ḩijr

ยิ่งไปกว่านั้น ภาพแกะสลักในส่วนบนของผิวหินนั้นแสดงให้เห็นถึงทักษะทางประติมากรรมที่น่าทึ่ง “ตอนนี้ Camel Site เหมือนเป็นงานแสดงประติมากรรมผาหินของซาอุดีอาระเบียไปเสียแล้ว ซ้ำยังให้ประโยชน์เชิงโบราณคดีอีกด้วย”

 

 

จากผลการศึกษา การแกะสลักและการเขียนภาพเป็นเทคนิคการสร้างงานศิลปะบนหินที่นิยมในซาอุดีอาระเบีย ขณะที่ภาพสลักนูนสูงและนูนต่ำ ยังเป็นเพียงเทคนิคการตกแต่งเชิงสถาปัตยกรรมเท่านั้น

โดยรวมแล้วประติมากรรมบนหินของทางอาราเบียน ตั้งแต่ยุคหินใหม่ (10,000 ปีก่อนคริสตกาล) จนกระทั่งยุคปัจจุบัน มักใช้รูปแบบเป็นเส้นค่อนข้างตรงและมีแค่สองมิติ

 

.

 

เนื้อหาของภาพที่แพร่หลายที่สุดในคาบสมุทรอาระเบียมักจะเป็นภาพเกี่ยวกับสงคราม การล่าสัตว์ การเดินขบวนของสัตว์ต่างๆ (เช่น อูฐ แพะ และฝูงวัวควาย เป็นต้น) หรือสัญลักษณ์แปลกๆ รูปเรขาคณิต รูปสัตว์ และรูปคน ที่ถูกสลักไว้บนหินจารึก

ผู้วิจัยเขียนไว้ในงานศึกษาของเขาว่า “ภาพแกะสลักนูนที่พบเห็นได้ยากในงานประติมากรรมหินอาระเบียจะกลายเป็นอุปสรรคสำคัญที่ต้องเรียนรู้เพื่อการเข้าใจถึง พัฒนาการ หน้าที่ และบริบททางสังคมวัฒนาธรรมของงานประติมากรรมนั้นๆ”

 

 

นักวิจัยยังกล่าวอีกว่าถึงแม้ว่าพื้นที่บริเวณนี้จะคำนวณอายุได้ยาก จากการเปรียบเทียบมันกับงานแกะสลักนูนในเปตราของประเทศจอร์แดน สามารถทำให้คาดได้ว่างานประติมากรรมในซาอุดีอาระเบียน่าจะถูกทำขึ้นสำเร็จในระหว่าง 1 ปีก่อนคริสตกาลถึงคริสศตวรรษที่ 1

 

 

พวกเขาเพิ่มเติมว่าบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมเป็นทะเลทรายแบบนี้อาจจะเป็นบริเวณที่ใกล้เคียงกับการเดินทางของอูฐ ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับการตั้งรกรากแต่อาจจะเป็นจุดพักสำหรับนักท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหรือทำพิธีบูชา

 

ที่มา: Dailymail

Comments

Leave a Reply