สิ่งของภายในบ้านที่คุณอาจไม่เคยรู้ว่ามัน ทำให้คุณมีโอกาส ‘เป็นมะเร็ง’ ได้

“โรคมะเร็ง” เป็นโรคที่น่ากลัวสำหรับมนุษย์เราตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ฉะนั้นหากคนเราได้ยินว่าอะไรที่สามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้ ก็มักจะหลีกเลี่ยงสิ่งก่อมะเร็งเหล่านั้น

แต่ถึงจะหลีกเลี่ยงอย่างไรก็ยังหนีไม่พ้นสารก่อมะเร็งอยู่ดี เพราะผู้เชี่ยวชาญด้านพิษวิทยาได้ออกมาบอกว่า “สิ่งของในบ้าน” ของเราเอง ก็ยังแอบซ่อนสารก่อมะเร็งเอาไว้เหมือนกัน แล้วทีนี้จะหลีกเลี่ยงมะเร็งกันได้ยังไงล่ะ?

ไม่ต้องกังวลไป เพราะบทความนี้จะมาบอกทุกท่านเองว่าของใช้ในบ้านชนิดใดบ้างที่มีสารก่อมะเร็ง และควรจัดการกับสิ่งของเหล่านั้นด้วยวิธีใด เชิญทุกท่านไปดูพร้อมๆ กันเลยดีกว่า…

 

1. โซฟา

 

โซฟา ที่นอน และเฟอร์นิเจอร์จำพวกหุ้มเบาะต่างๆ นั้นเต็มไปด้วยสาร TDCIPP เป็นสารที่ใช้หน่วงการติดไฟแต่กลับสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้ แถมสาร TDCIPP ยังถือว่าเป็นหนึ่งใน 10 สารที่พบเห็นบ่อยที่สุดในบ้านอีกด้วย

วิธีแก้: ตรวจสอบเฟอร์นิเจอร์หุ้มเบาะของคุณว่าผลิตก่อนหรือหลังปี 2013 เพราะก่อนปี 2013 นั้นมีการใช้สาร TDCIPP บ่อยที่สุด นอกจากนี้ยังควรตรวจสอบป้ายสินค้าหรือสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าว่ามีการใช้สารหน่วงการติดไฟ TDCIPP นี้หรือไม่

 

2. พรมและผ้าม่าน

 

หากคุณสูบบุหรี่ในบ้าน พรมและผ้าม่านจะเป็นสถานที่ที่กักเก็บสาร Cadmium สารก่อมะเร็งที่ออกมาจากควันบุหรี่ มันจะคงอยู่แม้ว่าควันบุหรี่จะหมดไปแล้วก็ตาม สารแคดเมียมที่ติดอยู่ตามพรมและผ่าม่านนั้นจะทำให้ผู้ที่ไม่ได้สูบได้รับผลกระทบทางอ้อมและมีโอกาสเป็นมะเร็งได้

วิธีแก้: เลิกสูบบุหรี่ หรือสูบบุหรี่นอกบ้าน

 

3. เก้าอี้หนัง

 

หนัง เฟอร์นิเจอร์ไม้ สีย้อม เม็ดสีที่ใช้สิ่งทอ และปูนซีเมนต์ ที่ถูกนำไปผ่านกระบวนการตากให้เกรียมมาแล้วจะมีสาร Chromium (VI) ที่ทำให้เกิดมะเร็งได้

วิธีแก้: ควรตรวจสอบป้ายสินค้าหรือสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าว่ามีวัสดุที่ใช้คืออะไรและได้ผ่านกระบวนการตากให้เกรียมหรือไม่

 

4. สวน

 

Dioxin เป็นสารก่อมะเร็งที่เกิดขึ้นในสวนจากดินและน้ำ มันมักจะอยู่ในฝุ่น ดิน และตกค้างในผัก คุณมีโอกาสเป็นมะเร็งจากสาร Dioxin อยู่ที่ 1 ใน 1,000

วิธีแก้: ใส่ถุงมือเมื่อทำสวน และล้างมือเสมอเมื่อกลับเข้าบ้าน ที่สำคัญคือควรหลีกเลี่ยงการเผาขยะในสวนหลังบ้าน

 

5. ตู้เย็นเก่า

 

สาร PCBs นั้นจะเกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้าเก่า ขณะที่ยังไม่มีประกาศถึงอันตรายของสาร PCBs ในประเทศสหรัฐอเมริกาจึงยังคงใช้สารนี้ในการผลิตอยู่

ดังนั้นสาร PCBs ร้อยละ 70 ยังคงกระจายอยู่ในสภาพแวดล้อมของเรา อาหารที่เราทานนั้นเป็นตัวการหลักที่สามารถรับสารนี้เข้าไป

วิธีแก้: นำเครื่องใช้ไฟฟ้าเก่าและหลอดไฟเก่าในบ้านไปทิ้ง พร้อมทั้งสนใจคำแนะนำที่เกี่ยวกับสาร PCBs ที่อาจเจือปนมากับเนื้อปลาและเนื้อสัตว์ที่กินปลาเป็นอาหาร

 

6. อุปกรณ์ทำความสะอาด

 

สาร Formaldehyde เป็นสารก่อมะเร็งที่พบเจอในอาหาร เครื่องสำอาง อุปกรณ์ทำความสะอาดต่างๆ สีทาบ้าน และผ้ารีดสำเร็จ คุณอาจจะสูดสารนี้เข้าไปในร่างกายยามที่หายใจเอาควันจากเตาแก๊สและเตาผิงในบ้าน

วิธีแก้: สามารถตรวจดูของใช้ภายในบ้านที่มีสาร Formaldehyde ได้ ที่นี่ และเลือกใช้อย่างระมัดระวัง ในขณะที่คุณสามารถเลือกใช้วิธีการทำความสะอาดบ้านแบบไร้สารเคมีได้ ตามนี้ และสุดท้าย หมั่นระบายอากาศในบริเวณที่ประกอบอาหาร

 

7. ตู้ทั้งหลาย

 

สาร Perchloroethylene ที่อยู่ในน้ำยาซักแห้งเป็นสารก่อมะเร็งที่ก่อตัวขึ้นเมื่อคุณบรรจุเสื้อผ้าซักแห้งเข้าไปในตู้ และยังก่อตัวขึ้นในยาแต้มสิว ยาขัดรองเท้า และยาทำความสะอาดเนื้อไม้อีกด้วย

วิธีแก้: สวมใส่ถุงมือทุกครั้งที่ทำความสะอาดไม้ และเลือกใช้น้ำยาซักแห้งที่ไม่มีสาร Perchloroethylene

 

8. พื้นและม่านปรับแสงที่ทำจากไวนิล

 

Phthalates คือสารที่น่าสงสัยว่าอาจก่อให้เกิดมะเร็ง และอาจส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของมนุษย์ได้ สารดังกล่าวจะพบเจอในพื้นไวนิล ฉากกั้นในห้องน้ำ หนังสังเคราะห์ ม่านปรับแสง วอลเปเปอร์ และสิ่งที่ทำขึ้นจากไวนิล รวมไปถึงภาชนะบรรจุอาหารที่ทำจากพลาสติกอีกด้วย

วิธีแก้: พยายามหลีกเลี่ยงไวนิล และหันมาใช้ของที่ประกอบขึ้นจากวัสดุอื่นๆ เช่น กระจก และสเตนเลส และควรระมัดระวังการใช้พลาสติกในการบรรจุอาหาร

 

9. ไก่และข้าว

 

สาร Asenic นั้นเป็นพิษต่อร่างกาย แต่ในปริมาณน้อย มันก็สามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้ มันสามารถถูกพบในอาหารที่เรารับประทานในทุกๆ วัน เช่น ไก่ ข้าวสวย น้ำผลไม้บางชนิด รวมไปถึงผลิตภัณฑ์แยกไข สีย้อม ยาเคลือบเฟอร์นิเจอร์ กาว น้ำมันหล่อลื่น ไนลอน และสีทาบ้าน

วิธีแก้: รับประทานอาหารออร์แกนิก และปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้ข้าวประกอบอาหาร ตามนี้ และควรอ่านฉลากก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของใช้ภายในบ้าน

 

10. ฉนวนกันความร้อน

 

สาร Asbestos นั้นไม่ปรากฏให้เห็นมานับทศวรรษ แต่คุณก็ยังสามารถพบเจอสารดังกล่าวนี้ได้ในฉนวนกันความร้อนที่อยู่ในบ้านเก่าๆ เพราะขณะที่พวกฉนวนกันความร้อนเริ่มเสื่อมสภาพ ใยสาร Asbestos นั้นจะแปลสภาพเป็นสารที่ล่องลอยในอากาศที่สามารถลอยไปติดเสื้อผ้าและแพร่ไปยังบ้านผู้คนได้

วิธีแก้: ทำตามคำแนะนำ ตามนี้ เช่น อย่าแตะต้องวัสดุใดๆ ในบ้านเก่า เป็นต้น

 

11. แก้วโฟม

 

สาร Styrene นั้นเป็นสารก่อมะเร็งที่ถูกใช้ในการผลิตพลาสติกและโฟม สารดังกล่าวจะละลายสู่กาแฟหรือซุปร้อนๆ หากคุณใช้โฟมเป็นภาชนะ สารนี้ยังมีอยู่ในบุหรี่อีกด้วย

วิธีแก้: หลีกเลี่ยงการใช้โฟมเพื่อบรรจุของร้อน และอ่านฉลากก่อนซื้อภาชนะโฟมต่างๆ

 

12. หนังสือจากห้องสมุด

 

หนังสือจากห้องสมุดและของต่างๆ จากพิพิธภัณฑ์นั้นจะปนเปื้อนและเต็มไปด้วยสาร Ethylene Oxide ที่เป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง

วิธีแก้: พยายามหลีกเลี่ยงการนำสิ่งของที่มีสาร Ethylene Oxide เข้ามาในบ้านของคุณ

 

13. ยากำจัดวัชพืช

 

ไม่มีใครชอบให้สวนของตนเองมีวัชพืชขึ้นแน่นอน แต่หากว่าท่านใดคิดจะใช้ยากำจัดวัชพืชล่ะก็ ลองพิจารณาดูใหม่เพราะน้ำยากำจัดวัชพืชนั้นประกอบไปด้วยสารก่อมะเร็ง Glyphosate ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง

วิธีแก้: อ่านฉลากก่อนซื้อน้ำยากำจัดวัชพืช และศึกษาการกำจัดวัชพืชแบบไม่ใช้สารเคมี

 

14. ยาฆ่าแมลง

 

แมลงต่างๆ เป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ภายในบ้าน แต่หากกำจัดพวกมันด้วยสเปรย์กำจัดแมลงแล้วล่ะก็ อาจทำให้คุณมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งได้ สารก่อมะเร็งในยากำจัดแมลงนี้ยังสามารถพบเจอในสัตว์เลี้ยงอีกด้วย ได้แก่ ปลอกคอ และยากำจัดเห็บหมัด

วิธีแก้: หายาฆ่าแมลงที่มีสารพิษต่ำ หรือไม่ก็หาวิธีกำจัดด้วยตนเองแบบไม่พึ่งพาสารเคมี ส่วนการกำจัดเห็บหมัดด้วยวิธีการธรรมชาติสามารถดูได้ ที่นี่

 

15. เคาน์เตอร์หินแกรนิต

 

สาร Radon นั้นเกิดขึ้นจากกระบวนย่อยสลายของ Uranium ในหินและดิน มันเป็นสารที่ทำให้มีโอกาสเกิดมะเร็งปอดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณสูบบุหรี่ เมื่อคุณอยู่ในพื้นที่ที่มี Uranium และ Radium สูง คุณจะมีโอกาสได้รับสาร Radon จากพื้น และถ้าคุณมีเคาน์เตอร์หินแกรนิตในบ้านก็ยิ่งทำให้คุณมีโอกาสรับสาร Radon มากขึ้น

วิธีแก้: หากทราบว่าคุณอยู่ท่ามกลาง Uranium และ Radium พยายามวัดค่า Radon ในบริเวณดังกล่าว ด้วยวิธีการ ตามนี้

 

หวังว่าข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมาจะมีประโยชน์กับผู้อ่านทุกท่าน หากไม่ลำบากจนเกินไป การป้องกันสารก่อมะเร็งดังที่กล่าวไปนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย

 

ที่มา: RD

Comments

Leave a Reply