Nasa ค้นพบดวงดาวใหม่กว่า 10 ดวง ที่มีคุณสมบัติมากพอจะเป็น “โลกใหม่” ให้เราอยู่ได้

หากว่าวันหนึ่งโลกของเราถึงกาลอวสานขึ้นมา คงไม่มีทางรอดอื่นนอกจากการย้ายไปอาศัยอยู่ที่ดาวดวงอื่น แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่มีการค้นพบดวงดาวที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ หรือดวงดาวที่มีลักษณะคล้ายเคียงโลกทุกประการเลย

ทางด้าน NASA เองก็ไม่ได้นิ่งเฉย พวกเขายังคงคอยสอดส่องดูดวงดาวที่อยู่ห่างไกลออกไปจากโลกของเรา ด้วยความหวังว่าจะได้รู้ความลับของจักรวาลให้มากยิ่งขึ้น และค้นหาดวงที่อาจเป็นบ้านหลังที่สองสำหรับมนุษย์ได้

 

 

บริษัท Kepler ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ NASA นั้นมีหน้าที่สำรวจดวงดาวใหม่ๆ ที่ยังไม่ถูกค้นพบ จากข้อมูลของทาง Kepler ในปี 2009 ถึง 2013 บริษัทได้ทำการสังเกตดวงดาวที่คล้ายกับพระอาทิตย์เป็นจำนวนกว่า 145,000 ดวง ใกล้กับกลุ่มดาว Cygnus

แม้ว่าดวงดาวเหล่านี้จะอยู่ไกลจากโลกมากกว่าหนึ่งร้อยปีแสง และดูจากเทคโนโลยีในปัจจุบันแล้ว มีโอกาสเพียงน้อยนิดที่มนุษย์จะได้เดินทางไปเยือนดวงดาวเหล่านั้น แต่การส่องมองก็ทำให้เรารู้ว่าดาวเหล่านั้นมีลักษณะคล้ายคลึงโลกแค่ไหน หรือมีสิ่งมีชีวิตอื่นอยู่หรือเปล่า

ล่าสุดพวกเขาได้ออกมาประกาศว่า พวกเขาพบดวงดาวที่มีลักษณะคล้ายโลกกว่าหนึ่งร้อยดวง และ 10 ดวงจากจำนวนนั้น อาจกลายเป็น “บ้าน” ของมนุษย์ในอนาคตอันไม่ใกล้ไม่ไกล

Susan Thompson นักวิทยาศาสตร์หญิงจาก Kepler บอกว่า “ถ้าอยากรู้จำนวนดวงดาวที่มีความคล้ายคลึงกับโลกของเราละก็ จากข้อมูลที่มีตอนนี้ ฉันสามารถบอกจำนวนชัดเจนได้แล้ว และเราจะค้นหาต่อไปว่ามีดาวดวงไหนบ้างไหม ที่เราอาจจะย้ายไปอยู่ได้

 

 

ในตอนนี้ หากนับรวมดวงดาวที่เพิ่งมีการค้นพบใหม่อีก 10 ดวง เราจะมีดวงดาวที่คล้ายๆ กับโลกแล้วถึง 49 ดวง ถ้าหนึ่งในดวงดาวเหล่านี้มีสภาพชั้นบรรยากาศเสถียรพอละก็ เราอาจจะไปอาศัยอยู่บนดาวเหล่านั้นได้ หรืออาจจะพบเอเลี่ยนก็ได้นะ

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้บอกอะไรเกี่ยวกับดาวดวงที่พบใหม่มากนัก พวกเขารู้เพียงว่าดาวเหล่านี้มีรูปร่างคล้ายโลก และโคจรอยู่ในบริเวณที่น่าจะอยู่อาศัยได้

หรือพูดอีกอย่างคือน้ำบนดาวเหล่านั้นมีสภาพเป็นของเหลวนั่นเอง ซึ่งสรุปได้ว่านักวิทยาศาสตร์ยังยืนยันไม่ได้ว่าดวงดาวเหล่านี้เหมาะเป็นที่อยู่อาศัยหรือไม่

 

 

แต่จากจำนวนดวงดาวที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ ก็ทำให้พวกเขาเชื่อว่าน่าจะมีดวงดาวในลักษณะเดียวกันนี้อีกเป็นล้านๆ ดวงซึ่งรอให้เราค้นพบอยู่ เพราะบริเวณที่ Kepler สามารถสังเกตได้นั้น เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของจักรวาลเท่านั้นเอง

นักวิทยาศาสตร์ Mario Perez จาก Keplers เองก็บอกว่า “เราคงต้องมีบริษัท Kepler เพิ่มอีกสัก 400 แห่ง ถึงจะค้นพบดวงดาวทั้งหมดได้”

นอกจากนี้ จากการส่องดูดวงดาวครั้งล่าสุดยังพบอีกว่า ดวงดาวส่วนใหญ่ในจักรวาล จัดอยู่ในประเภทดวงดาวที่ค้นพบใหม่ซึ่งเรียกว่า mini-Neptunes ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าโลกของเรา แต่ไม่ใหญ่เท่ากลุ่มก๊าซ

 

 

หลังจาก Kelper วิเคราะห์ข้อมูลจากการส่องมองครั้งก่อนเสร็จในปี 2013 แล้ว พวกเขายังวางแผนที่จะค้นหาดวงดาวเพิ่มเติมอีก โดยมีเป้าหมายที่จะส่องดูดวงดาวนอกเหนือจากบริเวณที่สามารถส่องดูได้ในครั้งที่แล้ว

พวกเขาจึงคิดแผนสำรวจใหม่ขึ้นมาในปี 2014 ที่มีชื่อว่า K2 โดยจะให้ความสำคัญกับการสำรวจดาวแคระแดงเป็นหลัก เนื่องจากดวงดาวประเภทนี้มักจะมีดวงดาวเล็กๆ ที่สิ่งมีชีวิตน่าจะสามารถเข้าไปอยู่ได้นั่นเอง

Kepler จะทำการสรุปผลข้อมูลที่ได้อีกครั้งในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ตอนที่เชื้อเพลิงของยานสำรวจได้หมดลง เมื่อถึงเวลานั้นแล้ว ดาวเทียมสำรวจอวกาศ Transiting Exoplanet Survey Satellite (TESS) รุ่นใหม่น่าจะพร้อมใช้งานแล้ว และพวกเขาจะสามารถสำรวจพื้นได้ในอวกาศได้ละเอียดกว่าเดิม รวมถึงน่าจะหาดาวที่มนุษย์สามารถย้ายไปอยู่ได้เจอ

ที่มี: independent

Comments

Leave a Reply