ทฤษฎีแห่งการ ‘สบตา’ เผยถึงสาเหตุที่ว่า ทำไมการสบตาในระหว่างสนทนาจึงเป็นเรื่องยาก

หลายคนอาจเคยสงสัยว่าเวลาที่เราคุยกับคนอื่นทำไมเขาถึงไม่ชอบมองตาเราตรงๆ แต่เลือกที่จะมองไปทางอื่นตอนที่พูดกับเรา? คำถามนี้ได้มีคำตอบออกมาอธิบายให้เพื่อนๆ เข้าใจกันว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

เมื่อนักวิทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น โดยพวกเขาได้ทำ การทดสอบ กับอาสาสมัครจำนวน 26 คน แล้วให้เล่นเกมต่อคำศัพท์โดยขณะที่เล่นต้องมองหน้าของคนที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ไปด้วย

 

 

ผลที่ได้คือการต้องนั่งสบตากับใบหน้าที่หันมามองเราทำให้ผู้เข้าร่วมการทดสอบใช้เวลาในการคิดคำศัพท์นานกว่าการที่ไม่ต้องสบตา นั่นจึงแสดงให้เห็นว่าการมองตากันจะทำให้ยากต่อการคิดคำพูดของเรา โดยเฉพาะกับคำที่เราไม่คุ้นเคย

นักวิจัยได้ออกมาบอกว่า “แม้กระบวนการการพูดและการสบตาจะไม่เกี่ยวกัน แต่ผู้คนส่วนใหญ่ก็เลือกที่จะไม่สบตาอีกฝ่ายขณะที่พูด และจากการทดสอบนี้ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าสองอย่างนั้นมีการรบกวนซึ่งกันและกันอยู่”

 

 

เมื่อปี 2016 เองก็ได้มี การวิจัยเกี่ยวกับการสบตา ของนักจิตวิทยาชาวอิตาลีที่ชื่อว่า Giovani Caputo เมื่อเขาได้ให้ผู้เข้าร่วมการทดสอบสบตากับคนคนหนึ่งเป็นเวลานานถึง 10 นาที

ผลที่ได้ก็คือผู้ทดสอบหลายๆ คนถึงกับเห็นภาพหลอนว่าใบหน้าอีกฝ่ายเป็นสัตว์ประหลาด เป็นคนรู้จัก หรือแม้แต่เห็นว่าเป็นใบหน้าของตัวเอง

ผลลัพธ์ของงานวิจัยนั้นเรียกว่า Neural Adaption หมายถึงการที่สมองเกิดการตอบสนองที่เปลี่ยนไปแม้ว่าสิ่งเร้าตรงหน้าจะยังคงเดิม ยกตัวอย่างการวางมือเอาไว้บนโต๊ะ เราจะรู้สึกทันทีในตอนแรก แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า เราก็จะลืมความรู้สึกไปว่าเรากำลังเอามือวางไว้บนโต๊ะอยู่

 

 

Neural Adaption ก็อาจเป็นสิ่งที่อธิบายให้กับงานวิจัยในมหาวิทยาลัยเกียวโตครั้งนี้ได้ว่าเป็นการตอบสนองที่ผิดเพี้ยนไปของสมองมนุษย์ ถึงอย่างไรนักวิจัยชุดนี้ก็ตั้งใจว่าจะศึกษาเรื่องของการสบตาต่อไป

โดยพวกเขาวางแผนเอาไว้ว่าครั้งต่อไปจะศึกษาในเรื่องของการใช้คำพูดและการใช้ภาษากายหรืออวัจนภาษา ว่าการสบตาทำให้เกิดผลที่แตกต่างกันหรือเปล่า

 

 

เมื่อรู้อย่างนี้แล้วครั้งต่อไปเราก็คงว่าคนอื่นไม่ได้แล้วนะว่า เวลาที่เขาพูดกับเราแล้วไม่ได้สบตา เพราะจริงๆ แล้วเขาก็อาจจะสนใจเราอยู่ แต่สมองของเขาอาจทำงานได้ยากเวลาที่ต้องสบตากันก็ได้

 

ที่มา: sciencealert

Comments

Leave a Reply