เปิดเบื้องหลังการทำฟาร์ม ‘เสื้อขนสัตว์’ ที่ดูแล้วชวนให้รู้สึกหดหู่ น่าสงสารเหลือเกิน (มีคลิป)

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเบื้องหลังที่มาของชุดแฟชั่นอันโดดเด่นที่เราเห็นบนรันเวย์ ล้วนมีราคาที่ต้องจ่ายเป็นชีวิตของสัตว์โลกผู้ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ และความโหดร้ายทารุณที่พวกมันต้องได้รับ

และครั้งนี้เราจะขอพาไปชมข้อมูลจากองค์กร Animal Defenders International (ADI) ที่ออกมาเปิดโปงเบื้องหลังการทำฟาร์มเสื้อขนสัตว์ที่เต็มไปด้วยความน่าหดหู่…

(คำเตือน: บทความนี้อาจมีภาพหรือเนื้อหาที่รุนแรง)

 

คลิปวิดีโอฟุตเทจส่วนหนึ่งที่องค์กร ADI ได้ปล่อยออกมา เกี่ยวกับชะตากรรมอันโหดร้ายที่หมาจิ้งจอก 3 ตัวต้องพบเจอ

 

หากเรามองย้อนกลับไปที่ตัวเลขจำนวนประชากรสัตว์โลก ที่ถูกสังเวยเพื่อนำขนไปขายต่อให้กับอุตสาหกรรมแฟชั่น มีการเปิดเผยว่าในแต่ละปีมีจำนวนสัตว์ถูกฆ่าทั้งหมด 110 ล้านตัว

จากในคลิปวิดีโอเราจะได้เห็นเรื่องราวของ Aleska แม่สุนัขจิ้งจอก และลูกน้อยของมันทั้ง 2 ตัว Borys และ Eryk

เราจะเห็นได้ว่า หลังจากที่ลูกจิ้งจอกได้ออกมาลืมตาดูโลก พวกมันก็มีโอกาสที่จะได้สัมผัสกับอิสรภาพเพียงไม่กี่สัปดาห์ จากนั้นทั้ง 2 ตัวก็ถูกนำไปขังไว้ในกรงสี่เหลี่ยมขนาดเล็กเพื่อรอวันที่พวกมันเติบโตเต็มที่

 

 

ทันทีที่ขนของพวกมันเริ่มมีสีขาว และมีความหนามากขึ้นเพื่อช่วยปกป้องอากาศหนาวที่กำลังจะมาถึง พวกมันก็จะถูกนำตัวไปแขนคอ… จากนั้นคนงานก็จะปลิดชีวิตพวกมันด้วยเครื่องช็อตไฟฟ้า ก่อนจะนำร่างกายไปถลกหนังเพื่อส่งต่อให้อุตสาหกรรมเสื้อผ้า

หนึ่งในโฆษกขององค์กรช่วยเหลือสัตว์ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า “จุดประสงค์ของเราก็เพื่อต่อต้านความรุนแรงและปัญหาที่เกิดขึ้นจากความโลภของมนุษย์เอง พวกเราเชื่อว่าถ้าทุกคนตระหนักถึงปัญหานี้ และเซย์โนให้กับแฟชั่นขนเฟอร์ ต่อไปจะต้องไม่มีสัตว์ชนิดใดที่ถูกทารุณกรรมแบบนี้อีก”

 

 

นอกจากนั้นยังมีการเปิดเผยตัวเลขการส่งออกอุตสาหกรรมขนสัตว์ โดยพบว่าในปี 2016 มีเงินหมุนเวียนอยู่ในอุตสาหกรรมขนสัตว์ทั่วยุโรปมากกว่า 39 พันล้านบาท (994 ล้านยูโร)

อีกทั้งยังพบว่าในกลุ่มประเทศแถบทวีปยุโรป อังกฤษเป็นประเทศที่มีการนำเข้า – ส่งออก อุตสาหกรรมขนสัตว์ใหญ่ที่สุดในภาคพื้นทวีป (ส่งออกทั่วยุโรป 981 ล้านบาท และส่งออกไปจีนราว 176 ล้านบาทต่อปี)

 

ภาพชะตากรรมที่เหล่าสัตว์โลกต้องเจอ…

 

หลังจากที่ถูกถลกหนังออกหมดแล้ว ศพของพวกมันก็จะถูกนำไปกองทิ้งรวมกันไว้

 

และดูเหมือนว่านี่อาจจะเป็นปัญหาที่ยังแก้กันไม่ตก เพราะนอกเหนือจาก ADI แล้วก็ยังมีองค์กรอื่นๆ อีกมากมายที่พยายามต่อสู้เพื่อลดปัญหาดังกล่าว

ที่มา: Dailymail

Comments

Leave a Reply