เปิดประวัติ “คลองคอรินธ์” เชื่อมทะเลกรีีซทั้งสองฝั่ง กับ 2,000 ปี ที่กว่าความฝันจะเป็นจริง..!!

อีกหนึ่งเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อันน่าสนใจเกี่ยวกับการทำเส้นทางเชื่อมระหว่างอ่าวซาโรนิค และอ่าวคอรินทร์ ที่ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานานกว่า 2,000 ปี ถึงจะแล้วเสร็จ..!!

ย้อนกลับไปในช่วง 602 ปี ก่อนคริสตกาล ผู้ปกครองเมืองคอรินทร์ตอนนั้นนามว่า ‘Periander’ มีความใฝ่ฝันที่อยากจะเอาชนะธรรมชาติด้วยการเชื่อมเส้นทางจากทั้ง 2 อ่าวเข้าด้วยกัน

ทว่าด้วยยุคสมัยที่ไม่มีเทคโนโลยี หรือเครื่องมืออำนวยความสะดวกอะไรเท่าสมัยนี้ ทำให้โปรเจคดังกล่าวดูจะใหญ่เกินความสามารถของมนุษย์ และถูกล้มเลิกไปในที่สุด…

 

บริเวณช่องคลองคอรินธ์

 

จนกระทั่งเมื่อ 300 ปีก่อนคริสตกาล กษัตริย์ Dimitrios Poliorkitis แห่งมาซีโดเนีย ก็ได้ริเริ่มโครงการที่ถูกทิ้งร้างมานานหลายร้อยปีอีกครั้ง ทว่าท้ายที่สุดก็กลับไม่สำเร็จด้วยเหตุผลความเชื่อทางศาสนาของผู้คนที่เชื่อว่าการทำให้ทะเลทั้งสองฝั่งเชื่อมกัน อาจทำให้เทพโพไซดอนโกรธได้

 

 

แผนการณ์ทุกอย่างถูกล้มเลิก จนกระทั่งมาถึงยุคการปกครองของจักรพรรดิแนโรแห่งโรมัน ที่มีการสั่งให้สร้างจุดเชื่อมต่อดังกล่าวขึ้นอีกครั้ง ทว่าน่าเสียดายที่ในที่สุดกษัตริย์แนโรได้ถูกลอบปลงพระชนม์ และคำสั่งการสร้างทางเชื่อมก็ถูกยกเลิกตามไปด้วย

 

 

ดูเหมือนว่าเรื่องราวทุกอย่างจะถูกลืมและไม่ได้มีการเล่าต่อ กระทั่งเมื่อปี 1830 ผู้ว่าการรัฐคนแรกของกรีซ ได้ริเริ่มโครงการขุดคลองคอรินธ์อีกครั้ง ทว่าด้วยปัญหาด้านการเงินทำให้ในที่สุดโครงการนี้ก็ตกเป็นของบริษัทเอกชนอย่าง Austrian General Etiene Tyrr ในปี 1869

ใช่ว่าเมื่อได้เป็นบริษัทเอกชนเข้ามารับช่วงต่อแล้ว เมกะโปรเจคต่างๆ จะสามารถเสร็จสิ้นได้โดยง่าย เพราะต่อมาในช่วงปี 1890 ก็ได้มีส่งงานต่อให้กับบริษัท Andreas Syggros ก่อนจะทำสำเร็จและเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในปี 1893

 

 

ภาพการก่อสร้างคลองคอรินธ์ ที่ช่วยแก้ปัญหาการเดินทางของผู้คนอย่างเห็นได้ชัด

 

คลองแห่งนี้มีขนาดความยาวทั้งหมด 6.3 กิโลเมตร น้ำลึก 8 เมตร และมีความกว้างอยู่หลายระดับตั้งแต่ 21 เมตร – 25 เมตร

 

นับตั้งแต่สร้างเสร็จ.. ที่แห่งนี้ก็กลายเป็นอีกหนึ่งสถานที่จัดกิจกรรมยอดฮิตของชาวเมือง และนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก

 

กว่าจะสร้างเสร็จได้ก็ใช้เวลานานกว่า 2,000 ปี การจะเจาะเขาเป็นลูกๆ ให้ทะลุผ่านกันได้นี่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะเนี่ย

ที่มา: Wiki

Comments

Leave a Reply