ในที่สุด นักโบราณคดีก็ไขปริศนา “การสร้างพีรามิด” ว่าขนหิน 2.5 ตัน ระยะทาง 800 กิโลได้ยังไง!?

มหาพีระมิดแห่งกีซา เป็นหนึ่งใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่ยังคงอยู่จนปัจจุบันนี้ และด้วยขนาด รูปทรงของ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่ามันถูกสร้างขึ้นมาได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ในยุคนั้นไม่น่าจะมีเครื่องมือที่เพียงพอสำหรับการทำอะไรแบบนี้ได้

แต่ตอนนี้นักโบราณคดีได้ค้นพบหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าชาวอียิปต์ได้ขนหินก้อนละ 2.5 ตัน เป็นระยะทาง 800 กิโลเมตร เพื่อสร้างเป็นที่เก็บศพของฟาโรห์คูฟู เมื่อ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล

 

 

มหาพีระมิด มีความสูงถึง 147 เมตร ซึ่งเป็นพีรามิดที่ใหญ่ที่สุดจนถึงยุคกลาง เนื่องจากมีการก่อสร้างมหาวิหารลินคอล์น (Lincoln Cathedral) ที่ ประเทศอังกฤษ ซึ่งมียอดวิหารสูง 160 เมตร ในปี พ.ศ. 1843 ในเวลาต่อมา

ข้อมูลทางโบราณคดีเผยว่า มีคนงานมืออาชีพหลายพันคนได้ขนก้อนหิน 170,000 ตัน มาตามแม่น้ำไนล์ โดยใช้เชือกมัดก้อนหินไว้ด้วยกันแล้วลำเลียงมาบนเรือไม้ ผ่านคันคลอง ไปยังท่าเรือที่อยู่ห่างจากพีรามิดเพียงไม่กี่หลา

 

Egyptologist Mark Lehner

 

ขณะเดียวกันได้มีการค้นพบกระดาษปาปิรัสโบราณที่เมืองท่า Wadi Al-Jarf ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับบทบาทของเรือที่มีผลต่อการก่อสร้างพีระมิด

ข้อความในกระดาษดังกล่าวเขียนโดย Merer ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลคนงานจำนวน 40 คน ในนั้นพูดถึงการสร้างมหาพีระมิดและอธิบายว่าก้อนหินถูกส่งมาจาก Tura ถึง Giza ได้อย่างไร

 

Reconstructed boat on Nile

 

นอกจากนี้ ในบันทึกนั้น Merer ยังได้อธิบายถึงวิธีการที่ลูกเรือเขามีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ รวมทั้งการเปิดเขื่อนยักษ์เพื่อลำเลียงน้ำจากแม่น้ำไนล์มายังช่องทางในพีระมิดผ่านคลองที่มนุษย์สร้างขึ้น

Mark Lehner นักโบราณคดี ผู้เชี่ยวชาญภาคสนาม ได้เปิดเผยหลักฐานที่ชี้ให้เห็นถึงการสูญเสียเส้นทางน้ำใต้ที่ราบสูง Giza ที่ตอนนี้เต็มไปด้วยฝุ่นทับถม

 

Merer papyrus

 

สำหรับรายละเอียดทั้งหมดของการค้นพบในครั้งนี้ ได้รับเผยแพร่ในสารคดีชุด Great Pyramid ทางช่อง 4 โดยมีนักโบราณคดีอีกกลุ่มที่ค้นพบเรือพระราชพิธีที่ออกแบบมาเพื่อชีวิตหลังการตายของฟาโรห์คูฟูด้วย

 

 

ที่มา dailymail

Comments

Leave a Reply