ความเจ๋งของ “เนเธอร์แลนด์” มีที่ดินอันดับที่ 131 แต่กลับเป็นผู้ส่งออกอาหารใหญ่อันดับ 2 ของโลก

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมอันดับต้นๆ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งประเทศของเราเป็นแหล่งอุตสาหกรรมที่ หลายๆ ประเทศแถบตะวันตกได้เข้ามาลงทุนสร้างฐานการผลิตที่ไทย

ด้วยความอุดมสมบูรณ์เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของบ้านเรา  ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศหนึ่งที่มีคนอยากเข้ามาทำงาน สังเกตได้จากแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่ทยอยเข้ามาทำงานจำนวนมาก ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เติบโตยิ่งขึ้นและมีความก้าวหน้าไปเรื่อยๆ

 

ในการแข่งขันของประเทศต่างๆ บนโลก ความก้าวหน้าทางเกษตรกรรมก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศมีความเจริญ หลายๆ ประเทศให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมการเกษตรเป็นอย่างอย่างมาก

ดังเช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่กำลังพัฒนาและกำลังจะก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศที่มีการส่งออกอาหารที่ใหญ่อันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา

 

ธุรกิจการเกษตรเป็นหนึ่งในแรงผลักดันทางการเกษตรของประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาเนเธอร์แลนด์ได้พัฒนาฟาร์มเล็กๆ ให้กลายเป็นฟาร์มขนาดใหญที่มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว

อีกทั้งมีงบประมาณในการสนับสนุนด้านการวิจัยการเกษตร มีความใส่ใจจากทีมบริหารประเทศ ทำให้เนเธอร์แลนด์มีการพัฒนาแบบก้าวกระโดด มาแรงแซงทางโค้งหลายๆ ประเทศที่กำลังพัฒนา

 

ความล้ำสมัยของการเกษตรของเนเธอร์แลนด์ มีการบำบัดจัดการน้ำให้ใช้ประโยชน์สูงสุด  ลดการใช้สารกำจัดศัตรูพืช หันมาใช้การพึ่งพาแบบธรรมชาติ อีกทั้งมีการศึกษาค้นคว้าใช้เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์มาพัฒนาการเกษตรควบคู่กันไป

 

 

ยกตัวอย่างการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการปลูกมันฝรั่งและหัวหอม โดยใช้โดรนในการสอดส่องการเจริญเติบโต บันทึกผล นำไปพัฒนา ทำให้ผลผลิตที่ได้มีอัตราเพิ่มถึง 2 เท่า

อีกทั้งการใช้โรงกระจกควบคุมสภาพอากาศ ปรับสมดุลในการผลิต ทำให้ผลิตผลมีคุณภาพ นำไปใช้กับการปลูกมะเขือเทศ พริก แตงกวา และพืชผักผลไม้อื่นๆ ทำให้เนเธอร์แลนด์มียอดส่งออกผักและผลไม้เป็นอันดับ 3 ของโลก

 

 

เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์มากกับการบริหารจัดการพื้นที่ เพราะว่าเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศเล็กๆ จำนวนพื้นที่ไม่มาก จำนวนประชากรอยู่ที่ 1,300 คนต่อตารางไมล์ การร่วมมือจากหลายๆ ภาคส่วนเป็นแรงผลักดันทำให้ประเทศเนเธอร์แลนด์มีความเจริญก้าวหน้า

 

ทั่วโลกเริ่มเข้ามาศึกษาการเกษตรกรรมของชาวดัตช์ ทั้ง จีน อินเดีย เม็กซิโก บราซิล กาน่า และเอธิโอเปีย คาดว่าในปี 2050 จะมีจำนวนประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นจำนวน 10 พันล้านคน จึงต้องมีพัฒนาการเกษตร เพื่อให้สามารถผลิตอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของมนุษยชาติต่อไป

ที่มา World Economic Forum

Comments

Leave a Reply