นอกจากรักษาคนแล้ว ชาวจีนแห่ใช้วิธีการ ‘ฝังเข็ม’ เพื่อรักษาอาการป่วยให้กับสัตว์เลี้ยง

การฝังเข็มเป็นศาสตร์ในการรักษาสุขภาพทางเลือกอีกอย่างหนึ่งที่เพิ่งได้การยอมรับจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่าสามารถรักษาโรคและบรรเทาปวดได้

การฝังเข็มมีมานานหลายพันปีเป็นศาสตร์หนึ่งของชาวจีนที่ถูกเผยแพร่ไปในหลายประเทศ โดยจะใช้เข็มทิ่มลงในจุดต่างๆของร่างกายที่เรียกว่า เส้นลมปราณ และเส้นลมปราณนั้นจะเชื่อมต่อกับอวัยวะต่างๆทำให้เกิดการกระตุ้นและรักษาทำให้ร่างกายเกิดความสมดุล

 

ปัจจุบันการฝังเข็มรักษาโรคไม่ได้ใช้แค่กับมนุษย์ แต่ยังถูกศึกษาและพัฒนาไปรักษาพวกสัตว์เลี้ยงได้ด้วยนะ

 

คลินิกศูนย์สุขภาพสัตว์และศูนย์ฝังเข็มในเซี่ยงไฮ้ (TCM) ได้เปิดให้บริการฝังเข็มให้กับสุนัขและแมวที่ีมีอาการบาดเจ็บจากกระดูกสันหลังและระบบประสาท

การฝังเข็มรักษาโรคของหมาและแมวกำลังเป็นที่นิยมที่เซี่ยงไฮ้ มีลูกค้านำสัตว์มารักษาด้วยการฝังเข็มประมาณ 20 คนต่อวันและกำลังจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

 

 

สุนัขจำนวนมากต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการบาดเจ็บที่หลัง หรือการเสื่่อมสภาพของกระดูกเป็นสาเหตุที่ทำให้มันไม่สามารถเดินได้ และเกิดในสุนัขหลา่ยสายพันธุ์ทั้ง บูลด็อก เยอรมันเชฟเฟิร์ด คอลลี่ บาสเซ็ต ฮาวน์ และชิสุ

“ร้อยละ 70 ของสัตว์ที่มาทำการรักษาที่นี่เกิดจากการเจ็บปวดในกระดูกสันหลัง ส่งผลให้มันเป็นอัมพาตในขาหลังหรือบางตัวก็เป็นทั้ง 4 ข้างเลย ซึ่งการรักษาแบบแพทย์ตะวันตกก็ยังไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก” นายจิน วัย 53 ปีเจ้าของคลีนิกกล่าว

 

ยกตัวอย่างเคสการรักษาของเจ้า Dan Jiao ที่เป็นอัมพาต เจ้าของตัดสินใจพามันเข้ารับการรักษา หลังจากการฝังเข็ม 3 วัน มันสามารถยืนด้วยเท้าด้านหน้าของมันและอีก 7 วันต่อมามันสามารถยืนทั้ง 4 ขาได้ ราวกับปาฏิหาริย์

ตอนแรกมันได้รับการรักษาด้วยการช็อตไฟฟ้ากระแสอ่อนๆ แต่นั่นก็ไม่ได้ช่วยให้มันหายจากการเป็นอัมพาต จึงต้องมารับการรักษาต่อที่คลินิกดังกล่าว

 

 

วิธีการฝังเข็มนี้เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาสัตว์ เพราะสัตว์บางตัวมีขนาดเล็กเกินไปที่จะผ่าตัด ดังนั้นการฝังเข็มอาจจะเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกให้เจ้าของได้ตัดสินใจในการรักษาสัตว์เลี้ยงแสนรัก

ในอดีตคนจีนมีความเชื่อว่าถ้าเลี้ยงสัตว์จะทำให้อ่อนแอ แต่ในปัจจุบันได้รับการยอมรับว่าสัตว์เลี้ยงสามารถเป็นเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวได้ ทำให้การดูแลสัตว์เลี้ยงดีกว่าในอดีตหลายเท่า

 

ที่มา shanghaiist

Comments

Leave a Reply