หากเจ้าของสุนัขตาย สุนัขจะ “กิน” ศพของเราไหม วิเคราะห์สถิติทางวิทยาศาสตร์

#เหมียวปั๊ก บางครั้งก็ต้องออกไปทำธุระต่างจังหวะกับครอบครัวเป็นระยะเวลานาน บางครั้งอาหารที่เราให้ไว้ในชามของมันก็ไม่เพียงพอจนเจ้าหมาปั๊กที่เลี้ยงไว้แอบไปตะกุยกินอาหารแมวที่เก็บไว้

จากกรณีนี้ เพื่อนๆ เคยสงสัยเหมือน #เหมียวปั๊ก ไหมว่าถ้าเปลี่ยนจากอาหารสุนัขเป็นเจ้าของที่ตายอยู่ในบ้านล่ะ เจ้าสุนัขที่เราเลี้ยงไว้จะกล้ากินเราหรือเปล่า?

 

ใครจะไปรู้ ~ พวกมันอาจจะกล้ากินเราก็ได้นะ

 

จากการรวบรวมข้อมูลที่ถูกตีพิมพ์กว่า 20 กรณี มาผนวกเข้ากับการศึกษาที่เกี่ยวข้องในปี 2015 และคดีที่มีรูปแบบที่เกี่ยวข้องกว่า 63 คดี แสดงให้เราเห็นถึงพฤติกรรมสัตว์เลี้ยงหลังเจ้าของตายและหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่

นักมานุษยวิทยานิติเวช Carolyn Rando จาก University College London กล่าวว่า “แมวนั้นมีแนวโน้มที่จะกินศพของเจ้าของโดยเริ่มจากส่วนที่นุ่มก่อนอย่างเช่นริมฝีปาก จมูก”

 

สุนัขเริ่มกัดกินจากใบหน้าก่อน?

 

แต่นี่ก็เป็นเพียงแค่สันนิษฐานเท่านั้น จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2010 ที่ถูกตีพิมพ์ผ่านวารสารนิติเวช หญิงชราผู้หนึ่งเสียชีวิตจากหลอดเลือดสมองโป่งพองภายในห้องน้ำ จากการทดสอบทางนิติเวชพบว่า สุนัขของเธอนั้นได้กัดกินใบหน้าของเธอในขณะที่แมวทั้งสองตัวของเธอไม่ทำอะไรกับศพเธอเลย

“สุนัขนั้นมีพัฒนาการมาจากหมาป่า ดังนั้นหากพวกมันกำลังหิวโหย พวกมันก็อาจจะหาอาหารที่เป็นเนื้อในบริเวณนั้นก็เป็นได้”  Stanley Coren นักจิตวิทยาผู้เขียนหนังสือและจัดรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับสุนัขกล่าว

 

หน้าตาน่ารักๆ แบบนี้ ก็มีพัฒนาการมาจากหมาป่าแสนดุร้ายนะ

 

มีหลากหลายกรณีที่สามารถยืนยันคำพูดนี้ได้เช่นในปี 2007 สุนัข 2 ตัวสามารถอยู่รอดเป็นเดือนๆ ได้โดยกินศพของเจ้านายจนเหลือทิ้งไว้เพียงกระดูก หรือ หมาเลี้ยงแกะกัดกินเจ้านายของมันหลังจากที่ตายได้ไม่นาน

ด้วยพฤติกรรมที่ไม่ธรรมดานี้ ผลจากทางสถิติที่ออกมา สุนัขที่เกี่ยวข้องกับคดีผู้ตายกว่า 73% พวกมันมักจะกัดกินที่ใบหน้าก่อน มีเพียง 15% เท่านั้นที่จะกัดตรงสวนลำตัวของเจ้าของที่เสียชีวิตไปแล้ว

 

ทำไมพวกมันถึงกิดกินใบหน้าก่อน

 

จากรายงานที่เขียนโดย Rando นั้นเผยว่า “สุนัขนั้นจะพยายามช่วยเจ้าของที่เสียชีวิตแล้วด้วยการเลียให้ฟื้น หลังนั้นมันจึงเริ่มที่จะกัดเพื่อเป็นการปลุกเจ้าของ และเมื่อไม่สามารถช่วยเหลือเจ้าของมันได้ มันก็เริ่มที่จะคลั่งและการกัดก็จะพัฒนากลายเป็นการกินได้อย่างไม่ยากเย็นนัก”

จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเจตนาของสุนัขที่เลี้ยงไว้นั้นไม่ได้ต้องการที่จะกินเจ้าของมันตั้งแต่แรก แต่เป็นการที่พวกมันถูกกระตุ้นด้วยเลือดที่มันกินเข้าไปหลังจากการเลียนั่นเอง

 

ที่พวกมันทำไปก็เพื่อช่วยเรา

 

ถึงแม้ว่าเราจะเลี้ยงมันด้วยความรักแต่ลึกๆ แล้วพวกมันก็ยังคงมีสัญชาตญาณของสัตว์ป่าอยู่ ไม่มีอะไรรับประกันได้ว่าพวกมันจะไม่กินศพของเจ้าของหลังจากที่เสียชีวิตแล้ว

Rando ยังแนะนำว่าวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันเหตุสัตว์เลี้ยงกินเจ้าของแบบนี้คือ เพื่อนบ้านควรสอดส่องและดูแลกันและกันอย่างเสมอ “กิจกรรมเข้าสังคมทำให้เรามีเพื่อนและช่วยให้เราดูแลคนรอบข้างอยู่เสมอ” Rando กล่าว

 

เพื่อนๆ ที่มีคุณยาย คุณตาอยู่ข้างบ้านที่ชอบเลี้ยงสัตว์ก็หมั่นไปหาท่านบ้านนะครับ เพื่อเป็นป้องกันเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นเนอะ 🙂

ที่มา: nationalgeographic

Comments

Leave a Reply