นักวิจัยค้นพบ สายพันธุ์หนอนผีเสื้อกลางคืน ที่สามารถกัดกินและย่อยพลาสติกได้!!

นี่อาจเป็นข่าวดีที่สุดในรอบปีสำหรับมวลมนุษยชาติเลยก็ว่าได้ เมื่อปัญหาเกี่ยวกับขยะพลาสติกที่ล้นโลก กำลังจะถูกแก้ไขได้ด้วยตัวอ่อนของหนอนผีเสื้อกลางคืน

โดยเว็บไซต์ Telegraph ได้รายงานว่าทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ได้ค้นพบแล้วว่าตัวอ่อนของหนอนผีเสื้อกลางคืนสายพันธุ์ ‘Galleria mellonella’ สามารถกัดกิน และย่อยสลายพลาสติกได้จริง

 

 

อ้างอิงข้อมูลจากวารสาร Current Biology ทีมวิจัยได้อธิบายไว้ว่า พวกมันมีกลไกการย่อยสลายที่น่าอัศจรรย์มากๆ เพราะเดิมทีพวกมันจะกินขี้ผึ้งในรังผึ้งเป็นอาหาร ซึ่งมีพันธะเคมีใกล้เคียงกับพลาสติก

เมื่อนักวิจัยได้นำหนอนชนิดดังกล่าวมาทดสอบ โดยให้พวกมันกัดกินแผ่นขยะพลาสติก ก็พบว่ามันสามารถกัดกินถุงพลาสติกให้กลายเป็นรูเล็กๆ หลายรูได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง

 

น่าแปลกใจที่พวกมันสามารถย่อยสลายพลาสติกประเภทโพลีเอทิลีนได้

 

Dr. Paulo Bombelli หนึ่งในทีมวิจัยให้สัมภาษณ์ว่า‘มันน่าสนใจมากครับ ผมเชื่อว่านี่อาจจะพลิกโฉมการกำจัดขยะของมนุษย์ในอนาคตได้เลย ถึงแม้ว่าตอนนี้เราจะยังไม่รู้แน่ชัดว่ากลไกการย่อยสลายทางชีวภาพทั้งหมดเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่เราเชื่อว่าถ้าเรานำการค้นพบครั้งนี้ ไปต่อยอดเข้ากับเทคโนโลยีในปัจจุบัน เราจะสามารถแก้ปัญหาขยะได้แน่นอน’

และตอนนี้ทีมวิจัยก็ได้ร่วมกันจดทะเบียนสิทธิบัตรการค้นพบครั้งนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งทีมวิจัยจะมุ่งศึกษาระบบการย่อยอาหารเชิงลึกของหนอนชนิดนี้ต่อไป

 

ตัวอย่างของพลาสติกที่ถูกย่อยสลายด้วยหนอน 10 ตัว ภายในเวลา 30 นาที

 

มาครับ… เรามาเพาะหนอนขายกันดีกว่าครับแบบนี้

ที่มา: Telegraph

Comments

Leave a Reply