เฮกันดังๆ เพราะเรา “ไม่ต้องถ่ายสำเนาเอกสาร” เวลาไปติดต่อราชการอีกต่อไปแล้ว…!!

เป็นปัญหาที่อยู่คาใจคนไทยเรามานาน เพราะถึงแม้ว่าเราจะมีบัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด แต่เวลาไปติดต่อหน่วยงานรัฐทีไร ก็ยังต้องเตรียมสำเนาเอกสารสำคัญหอบไปเป็นตั้งอยู่ดี แถมถ้าบางทีลืมอะไรแล้วต้องถ่ายเพิ่ม ก็ต้องจ่ายค่าถ่ายเอกสารที่แพงกว่าร้านทั่วๆ ไปอีก… แหม่ พูดแล้วยาวววววววววววว

แต่ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2560 มีประกาศราชกิจจานุเบกษา จากคณะคสช. โดยใช้อำนาจ ม.44 ที่ดูเหมือนจะออกมาพัฒนาตรงจุดนี้โดยเฉพาะ

 

สถานที่ๆ เวลาไปติดต่อราชการทีไร ได้ใช้บริการเจ้าพวกนี้ทู๊กกที

 

โดยประกาศของคสช. ข้อนี้ไม่ได้เป็นการแก้ไขกฏหมายแต่อย่างใด แต่เป็นการพูดถึงกระบวนการทำงานของหน่วยงานภาครัฐโดยทั่วไป ถ้าจะให้เล่าเป็นภาษาทางการก็กลัวจะงง เอาเป็นว่าเราจะเล่าเนื้อหาเป็นภาษาชาวบ้านละกัน คืองี้…

ในประกาศข้อที่ 17 ได้บอกว่าในกรณีที่ประชาชนไปติดต่อหน่วยงานราชการ แล้วทางราชการมีความจำเป็นที่จะต้องใช้สำเนาเอกสารสำคัญ

ผู้มีอำนาจอนุมัติ (เจ้าหน้าที่รัฐ) จะต้องเป็นคนดำเนินการจัดแจงเรื่องเอกสารสำเนาให้กับผู้มายื่นเรื่องในการประสานงาน  แทนแบบเดิมที่ประชาชนต้องเตรียมมาเอง

อีกทั้งหากต้องมีการนำเอกสารของประชาชนไปถ่ายเป็นสำเนา ยังห้ามมิให้มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการเตรียมสำเนาเอกสาร ใดๆ ทั้งสิ้น

 

ภาพจากประกาศข้อที่ ๑๗ ในราชกิจจานุเบกษา

ขอบคุณภาพจาก: Blognone.com

 

ราชกิจจานุเบกษาตัวเต็ม โดยคำสั่งนี้จะมีผลบังคับใช้ทันทีตั้งแต่วันประกาศ (ก็คือ 4 เมษายน 2560 นั่นเอง)

 

ก็ถือเป็นอีกเรื่องที่น่าดีใจสำหรับเราทุกคน ต่อจากนี้จะไปติดต่อหน่วยงานราชการก็ไม่ต้องคอยหอบเอกสารไปเป็นตั้ง ให้เมื่อยแขนอีกต่อไปแล้ว เย้…!!

 

ห๊ะ?? อะไรนะ!? ไม่ต้องถ่ายเอกสารแล้วงั้นเหรอ?

 

ที่มา: ratchakitcha ผ่านทาง: blognone

Comments

Leave a Reply