5 เหตุผลว่าทำไม “คนเยอรมัน” ทำงานใช้เวลาน้อยกว่าชาติอื่น แต่ได้ประสิทธิภาพงานที่มากกว่า!?

โดยส่วนตัวของ#เหมียวฟิ้นเอง เคยได้มีโอกาสทำงานร่วมกับบริษัทของเยอรมันแห่งหนึ่ง ซึ่งขอบอกเลยว่าบรรยากาศการทำงานนั้นแตกต่างจากการทำงานแบบคนไทยมากๆ

อย่างแรกที่เราสัมผัสได้เลยคืองานของพวกเขาจะมีประสิทธิภาพมาก เวลางานเป็นเวลางาน เวลาพักก็พักกันแบบไม่สามารถตามตัวได้เลย

 

1
Linkedin.com

 

หากเทียบเวลาการทำงานกับบริษัทของไทยแล้ว การทำงานในบริษัทเยอรมันดูจะได้ผลงานเป็นที่น่าพอใจมากกว่า ทำไมถึงเป็นแบบนั้นไปได้?

เมื่อไม่นานมานี้#เหมียวฟิ้นเพิ่งจะมีโอกาสได้อ่านบทความบทความหนึ่งของเว็บไซต์ Knote.com ที่เป็นการเปิดเผยถึงเคล็ดลับในการทำงานแบบคนเยอรมัน ว่าทำไมถึงมีประสิทธิภาพมาเป็นอันดับต้นๆ ของโลก เราลองไปดูกันทีละข้อๆ เลย

 

1. เวลางานคือเวลาทำงาน

ในวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมัน พวกเขาจะไม่ทำอะไรเลยนอกจากงาน การเล่น Facebook การนั่งเมาท์กัน การแว้บไปเปิดเว็บโน่นนี่ระหว่างทำงานแทบจะไม่ใช่วิสัยของพวกเขาเลย

ในขณะที่ถ้าเป็นบ้านเรา คุณจะเห็นพนักงานจับกลุ่มคุยกัน บางคนแอบงีบแอบเล่นเกมในที่ทำงาน บางคนเดินไปเข้าห้องน้ำบ่อยครั้ง

 

ในช่วงเดือนสิงหาคมปี 2013 สำนักข่าว BBC ได้เคยทำสารคดีที่ชื่อว่า Make Me a German เกี่ยวกับหญิงสาวชาวเยอรมันที่เดินทางไปทำงานและเปลี่ยนวัฒนธรรมที่อังกฤษ แต่เธอกลับช็อคมากที่วัฒนธรรมที่นั่นแตกต่างจากบ้านเกิดของเธอโดยสิ้นเชิง

“ฉันไปทำงานแลกเปลี่ยนที่อังกฤษมา ฉันทำงานอยู่ในออฟฟิศและผู้คนก็เอาแต่พูดตลอดเวลาเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของพวกเขา ‘คืนนี้ทำอะไรดี?’ และเอาแต่ดื่มกาแฟกันตลอดเวลาเลย” หญิงสาวชาวเยอรมันกล่าว

4
zaneyyyyyy

 

2. มุ่งเน้นเป้าหมาย สื่อสารโดยตรงเป็นสิ่งที่มีค่า

ในการทำธุรกิจแบบชาวเยอรมันจะมีการกำหนดเป้าหมายที่เข้มข้นมาก และมีการสื่อสารกันโดยตรงโดยไม่เกี่ยงว่าคนที่เราต้องสื่อสารด้วยจะมีตำแหน่งที่สูงหรือต่ำกว่าเรา

เมื่อลองย้อนมาดูการทำงานในสไตล์ไทยๆ แบบบ้านเรา เราจะมีการพูดคุยกันแบบกลุ่มเล็กๆ เช่นการประชุมระหว่างผู้บริหารระดับสูง ก่อนจะนำเอาผลสรุปมาแจกแจงให้กับลูกน้องที่มีตำแหน่งรองๆ ลงมา

แต่ชาวเยอรมันนั้นจะพูดคุยกันเป็นกลุ่ม หรือไม่ก็คุยกันโดยตรงเลย เช่นหากคุณเป็นพนักงานแต่อยากจะปรึกษาเรื่องงาน คุณก็สามารถเดินตรงไปคุยแบบเปิดอกกับผู้จัดการได้ทันที โดยที่ไม่ต้องมีการละลายพฤติกรรม หรือการพูดอ้อมค้อม

การสั่งงานแบบไทย อาจจะพูดกันว่า “ถ้าได้งานชิ้นนี้ก่อนบ่ายโมงจะดีมาก” หรือ “งานชิ้นนี้เลทได้ไม่เกินเที่ยง” แต่หากเป็นชาวเยอรมัน พวกเขาจะเจาะจงลงไปเลยว่า “งานชิ้นนี้ต้องเสร็จก่อนบ่าย 3 นะ”

Close-up of male’s hand with pen over document on background of working woman

 

3. ชาวเยอรมันมีชีวิตนอกเหนือจากที่ทำงานด้วยนะ

ชาวเยอรมันเป็นชนชาติที่สามารถพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า “ทำงานส่วนทำงาน เล่นส่วนเล่น” เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ชั่วโมงของการทำงานเริ่มต้นขึ้น พวกเขาจะไม่เอาเรื่องส่วนตัวเข้ามายุ่งเกี่ยวทันที และจะมุ่งเน้นไปที่ผลงานเป็นหลัก

เมื่อเลิกงานไปแล้ว พวกเขาก็แยกย้ายกลับบ้านใครบ้านมัน หรือกลับกลุ่มเพื่อนสนิท แทบจะไม่มีการชวนกันไปเที่ยวหลังเลิกงานเป็นกลุ่มใหญ่ เนื่องจากพวกเขาแยกชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวออกจากกันแบบชัดเจน

เมื่อราวๆ เดือนพฤษภาคมปี 2016 ได้มีรายงานข่าวว่ารัฐบาลของเยอรมันกำลังเตรียมที่จะออกกฎหมายใหม่ ห้ามไม่ให้ผู้ว่าจ้างส่งอีเมล์หรือติดต่องานหลัง 6 โมงเย็นเป็นต้นไป เพื่อที่ลูกจ้างจะได้มีเวลาส่วนตัวและพักผ่อนอย่างเต็มที่

wok

 

4. ชาวเยอรมันเคารพในการเลี้ยงบุตรของลูกจ้าง

ประเทศเยอรมันมีระบบ “การเลี้ยงดูบุตร” ที่ประเทศอื่นๆ ค่อนข้างจะอิจฉาเอามากๆ ลูกจ้างสามารถลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรตั้งแต่วันที่บุตรเกิดจนถึงบุตรอายุสามปี การลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรจะพิจารณาแยกสำหรับพ่อแม่ ฉะนั้นพ่อหรือแม่อาจจะลาในส่วนของตนเพียงลำพังหรืออาจลาพร้อมกันทั้งสองคนได้

นอกจากนี้ยังมีเบี้ยเลี้ยง สำหรับดูแลบุตร บุตรสองคนแรก คนละ 184 ยูโร บุตรคนที่สาม 190 ยูโร บุตรคนที่ 4 และคนถัดไป คนละ 215 ยูโร เบี้ยเลี้ยงสำหรับบุตรจะจ่ายให้กับเด็กทุกคนโดยไม่คำนึงถึงรายได้ของพ่อแม่ และยังมีระบบลดหย่อนภาษีสำหรับครอบครัว (ข้อมูลจาก www.mol.go.th)

นั่นคือตัวอย่างหนึ่งทำให้คนวัยทำงานสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ เพราะรู้ว่าจะได้รับสวัสดิการตอบแทนอย่างเหมาะสมด้วยเช่นกัน

2_0236_high_school_host-family_1834_box

 

5. ลองนำวัฒนธรรมแบบชาวเยอรมันไปปรับใช้ดูกับออฟฟิศของคุณ

วัฒนธรรมการทำงานแบบชาวเยอรมันนั้นค่อนข้างแตกต่างจากบ้านเรามาก แต่มันก็แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของงานว่าออกมาดีขนาดไหน

การมุ่งมั่นทำงานแบบพวกเขาทำให้ได้รับเสียงชื่นชม การแยกระหว่างการทำงานและการพักผ่อนออกจากกัน อาจช่วยให้พวกเราสามารถรักษาสมดุลระหว่างชีวิตได้ดีขึ้นก็เป็นได้

วางมือถือลงสักหน่อย ปิดเฟซบุ๊กสักพัก เพื่อให้เราจดจ่อกับงานแบบมีสมาธิ แล้วหยุดโอ้เอ้หันมาตั้งหน้าตั้งตาทำงานแบบขยันขันแข็ง ก็ส่งผมให้งานของคุณออกมาดีกว่าที่เคย และสุดท้ายการสื่อสารกันแบบเปิดอกก็ช่วยให้งานของคุณราบรื่นได้

3

 

ที่มา knote

Comments

Leave a Reply