วิทยาศาสตร์แบบแมวๆ พวกมันพยายามบอกอะไรให้มนุษย์ได้รับรู้ หรือว่าไม่ได้คิดอะไรเลย!?

การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นนั้นถือว่าเป็นเรื่องพื้นฐานของการสื่อสารและอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ไม่ว่าจะเป็นทั้งการแสดงท่าทางและการออกเสียงมาเป็นภาษาพูด สำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะเข้าใจได้ทันที แต่ทว่าสำหรับต่างสายพันธุ์ล่ะ อย่างมนุษย์กับสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัขและแมว?

สำหรับสุนัขแล้ว การสื่อสารของพวกมันกับมนุษย์จะส่งผ่านการแสดงท่าทาง การส่ายหาง สายตา และเสียงเห่า เพื่อตอบสนองต่อฝ่ายตรงข้าม และมีความเชื่อที่ว่าแมวก็จะเป็นเช่นเดียวกัน เพื่อตอบสนองให้รับรู้ถึง ความกลัว ความหิว หรือแม้กระทั่งความต้องการที่จะไปปัสสาวะ

 

cat-talk (3)

 

ความเชื่อที่ยังหาข้อพิสูจน์ไม่ได้ นักวิจัยด้านสัทศาสตร์ชาวสวีเดนและเป็นผู้หลงใหลแมวเลี้ยงไว้ถึง 3 ตัว นามว่า Suzanne Schötz จาก Lund University จึงได้ทำการศึกษาหาข้อเท็จจริงในการสื่อสารของแมว

 

cat-talk (2)

 

จากทดสอบนั้นได้ขออาสาสมัครจากหลากหลายที่ในประเทศสวีเดนพร้อมกับแมวคู่ใจมาด้วย ซึ่งแต่ละคนก็มาจากคนละท้องถิ่นและมีภาษาเป็นของตัวเอง

โดยจะสังเกตว่าแมวที่มาด้วยนั้นอาจจะมีภาษาถิ่นเป็นของตัวเองเหมือนกับเจ้าของมันด้วยหรือไม่ อีกทั้งเพื่อหาข้อพิสูจน์การร้อง ‘เมี๊ยว’ นั้นอาจจะมีหลากหลายความหมาย จากการตอบสนองต่อการที่มนุษย์สื่อสารกับมัน

 

cat-talk (1)

 

ทำไมแมวต้องร้อง ‘เมี๊ยว’ ด้วยล่ะ? – เพราะแมวต้องใช้ทั้งการมองเห็นและเสียงในการสื่อสารกับมนุษย์ โดยทำการส่งเสียงเพื่อเรียกร้องความสนใจจากมนุษย์เพียงอย่างเดียว ไม่ใช่เพื่อเป็นการเรียกแมวตัวอื่นแต่อย่างใด ทั้งนี้แมวเป็นจำนวนมากและมนุษย์คู่ใจมักจะพัฒนาการสื่อสารอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกันและกันขึ้นมา เพื่อให้เข้าใจกันมากขึ้น

 

cat-talk (6)

 

แล้วมนุษย์พูดคุยกับสัตว์เลี้ยงแตกต่างกับการสื่อสารกับคนด้วยกันเองหรือไม่? – ผู้คนส่วนใหญ่มักจะสื่อสารออกเสียงกับแมวหรือสัตว์เลี้ยงในรูปแบบเดิมๆ เช่นเดียวกันอย่างการสื่อสารกับเด็กเล็ก โดยมักจะออกเสียงโทนสูงมากกว่าปกติ และจะมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

 

cat-talk (5)

 

แล้วเราหวังจะได้ข้อมูลอะไรบ้างจากการวิจัยนี้? – ถ้าหากว่าแมวใช้ทำนองเดียวกันในการออกเสียงแบบว่า ‘หิวเล็กน้อย แต่อยากกินขนมแล้ว’ ที่เหมือนกับ ‘หิวมาก หิวจนต้องร้องขอชีวิต’ เราก็อาจจะเข้าใจได้บ้างแล้วว่ามันต้องการที่จะสื่อสารอะไรกับมนุษย์

 

ทั้งนี้แมวแต่ละสายพันธุ์อาจจะใช้ทำนองเสียงที่แตกต่างกัน หรือแมวที่อาศัยอยู่ในแต่ละประเทศที่มีมนุษย์ออกเสียงในรูปแบบภาษาท้องถิ่นก็อาจจะออกเสียง ‘เมี๊ยว’ ได้ต่างออกไปจากแมวอื่นๆ ด้วย ซึ่งถ้าหากว่าผู้วิจัยค้นพบว่าแมวนำเสียงเหล่านี้มาใช้สื่อสารกับมนุษย์ ก็จะสามารถช่วยให้ผู้เลี้ยงแมวสามารถเข้าใจสัตว์หน้าขนพวกนี้ได้ดียิ่งกว่าเดิม

 

cat-talk (4)

 

แต่ต้องรอการถอดรหัสเสียงแมวอย่างจริงจังเสียก่อน จากการสังเกตเสียงของแมว สีหน้า การเคลื่อนไหวของร่างกาย หาง และหู ด้วย โดยรวมแล้วมันก็พยายามที่สื่อสารกับมนุษย์นั่นแหละ แต่ยังไม่สามารถหาความหมายที่ตายตัวได้เสียที

ที่มา : nationalgeographic

Comments

Leave a Reply