สื่อญี่ปุ่นวิเคราะห์ “Return of ประยุทธ์” ลุงตู่เป็นรัฐบาลต่อ คือการพาไทยกลับสู่ยุค 1980

Nikkei สื่อชื่อดังแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้เขียนคอนเทนต์พูดถึงการเมืองไทย หลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับเสียงโหวตให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง

จากการสรุปข้อมูลของทีมข่าวแคทดั๊มบ์ พบว่าสื่อดังกล่าว ได้วิเคราะห์ในประเด็นต่างๆ ดังนี้…

 

การเข้ามาของ พล.อ.เปรม คือการเริ่มต้นยุคความสงบของชาติ

ภาพจาก Kapook

 

หลังจากการแก่งแย่งอำนาจอย่างมากมาย ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ.2475 นั้น Nikkei มองว่าการเข้ามาของ พล.อ.เปรม คือจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง

ในช่วงปี พ.ศ.2523 ช่วงที่ พล.อ.เปรม เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ดำรงตำแหน่งยาวนาน ถึง 8 ปี และแม้ว่าท่านจะได้รับการแต่งตั้งมาจากอำนาจทหาร แต่ก็ยังใช้หลักการประชาธิปไตยในการขับเคลื่อนประเทศ

อย่างไรก็ตาม หลักการประชาธิปไตยที่ว่านั้น ก็มิใช่ระบอบประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ ซึ่ง Nikkei มองว่าแม้เป็น ‘ประชาธิปไตยครึ่งใบ’ แต่เศรษฐกิจก็ขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว

 

ยุคแห่ง ทักษิณ ชินวัตร

 

มาถึงยุคของนายทักษิณ ชินวัตร ที่เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรก เมื่อปี พ.ศ.2544 Nikkei มองว่าเขาใช้วิธีการปกครองแบบอำนาจนิยม และการใช้อำนาจทางการเงินในการบริหารประเทศ ทำให้ฝ่ายอนุรักษนิยม (ฝ่ายขวา) เริ่มต่อต้าน

จนแบ่งเป็นสองฝ่าย ที่มีความขัดแย้งกันระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนนายทักษิณ และฝ่ายที่ต่อต้านนายทักษิณ

หลังจากนั้นก็เกิดการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ.2549 แล้วก็กลายเป็นความวุ่นวายทางการเมือง มีการรัฐประหารต่อเนื่อง การประท้วงต่างๆ เกิดขึ้นมาตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมาอย่างที่เราได้สัมผัสมา

 

รีเทิร์น ออฟ ประยุทธ์

 

จนกระทั่งปี พ.ศ.2560 ประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ที่นายกรัฐมนตรี สามารถเสนอชื่อ ‘คนนอก’ เข้ามาเป็นก็ได้ (ไม่ต้องผ่านการเลือกตั้ง และเป็น ส.ส.)

รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 มีการระบุเอาไว้ว่า ให้มี ส.ว. เข้ามาโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีได้ ซึ่ง Nikkei วิเคราะห์ว่า ส.ว. เหล่านั้นมาจากการแต่งตั้งของทหาร

 

ภาพจาก BBC

 

และด้วยเหตุนี้เองประเทศไทย ได้ย้อนกลับไปในจุดที่เรียกว่า รัฐบาลที่ไม่ได้มาจากเสียงของประชาชน และได้รับการสนับสนุนจากทหาร

พวกเขามองว่า สิ่งนี้ทำให้ประเทศไทยกลับไปสู่ยุค 1980 (พ.ศ.2520) อีกครั้งหนึ่ง

 

สุดท้าย เปรียบเทียบไทย กับอินโดนีเซีย

ภาพจาก The National

 

ก่อนปิดท้ายบทความ Nikkei ได้เปรียบเทียบไทยและอินโดนีเซีย โดยระบุว่า เหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นนี้เป็นแบบเดียวกันที่เกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย

ที่มีผู้คนเสียชีวิตจากเหตุประท้วงอย่างรุนแรง ถึง 8 คน หลังจากที่พรรคการเมืองฝ่ายค้าน ไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง และปฏิเสธที่จะให้นาย Joko Widodo (ผู้ชนะการเลือกตั้ง) เข้ารับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2

จากข้อมูลการจัดอันดับประเทศที่เป็นประชาธิปไตยโดยธนาคารโลก ประจำปี 2562 พบว่าตลอด 20 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยตกลงไปอยู่ในอันดับที่ 161 จากเดิมเคยอยู่ในอันดับที่ 80 มาก่อน ขณะที่ประเทศอินโดนีเซีย ขยับขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 101 จาก 160

แม้ว่าอันดับของทั้งสองประเทศจะสวนทางกัน แต่ทั้งสองประเทศที่ต่างเรียกตัวเองว่าเป็นประเทศมหาอำนาจในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังคงเป็นประเทศที่ ระบอบประชาธิปไตยด้อยพัฒนา ด้วยกันทั้งคู่…

 

เรียบเรียงโดย : #เหมียวหง่าว


Tags:

Comments

Leave a Reply