นักวิทย์สร้างแผ่นห่อของ “SCOBY” ทดแทนพลาสติก ย่อยสลายง่าย กินได้ ช่วยฟื้นฟูดิน

อย่างที่เรารู้กันดีว่าพลาสติกเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ยาก ต้องใช้เวลานานหลายร้อยถึงเป็นพันปี แถมยังเป็นมลพิษ สร้างความเดือดร้อนให้ธรรมชาติและสัตว์ทุกชนิดอีกด้วย

ส่วนมนุษย์เรานั้นก็กำลังพยายามแก้ไขในสิ่งที่เกิดขึ้น ด้วยการรณรงค์และออกข้อบังคับต่างๆ เพื่อลดการใช้พลาสติก และยังมีการคิดค้นทำ “วัสดุทดแทน” ที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

 

วัสดุทดแทนที่จะนำมาใช้เป็นแผ่นห่อของต่างๆ แทนพลาสติกนี้มีชื่อเรียกว่า SCOBY เดิมทีเป็นไอเดียของนักออกแบบชาวโปแลนด์ Roza Janusz ซึ่งเป็นโปรเจกต์จบสมัยเรียนของเธอ

ตอนนี้เจ้าไอเดียสุดเก๋ไก๋นั้นถูกนำมาต่อยอดพัฒนาโดย MakeGrowLab ซึ่ง Roza เองก็เป็นผู้ร่วมก่อตั้งด้วย

 

 

ซึ่งเจ้า SCOBY นี้ทำมาจากขยะที่ได้จากการเกษตรในท้องถิ่น มันไม่เพียงแค่นำไปใช้เป็นแพคเกจของสินค้าต่างๆ เท่านั้น แต่ยังใช้ห่อเก็บอาหารได้ด้วย

วัสดุชนิดนี้นั้นไม่ละลายในน้ำ กันน้ำ กันอากาศเข้า แถมยังสามารถพิมพ์ลวดลาย หรือข้อความติดลงไปได้ด้วยนะ มันจึงเหมาะที่จะนำไปใช้ทำแพคเกจของสินค้าได้แทบทุกชนิด

 

.

 

สิ่งที่พิเศษมากๆ ของ SCOBY นั้นก็คือมันย่อยสลายได้ง่ายมากๆ ง่ายพอๆ กับผักเลยทีเดียว แล้วเมื่อเราทิ้งมันลงบนดิน มันยังเป็นปุ๋ยที่ช่วยฟื้นฟูดินได้อีกต่างหาก อ้อ…และเราสามารถกินมันได้ด้วยล่ะ

ทางผู้พัฒนานั้นต้องการให้ผู้คนได้ตระหนักถึงมลพิษที่โลกต้องเผชิญอยู่ ลองคิดดูว่าหากสินค้าทุกชิ้นบนโลกใช้ SCOBY เป็นวัสดุทำแพคเกจขึ้นมาจริงๆ พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งคงลดลงไปมหาศาลเลยทีเดียว

 

 

ที่มา BoredPanda และ MakeGrowLab

Comments

Leave a Reply