NVIDIA โชว์นวัตกรรม ให้ AI เปลี่ยนภาพสเก็ตช์แบบเพ้นท์ๆ กลายเป็นทิวทัศน์เสมือนจริง

นวัตกรรมทุกวันนี้มีการพัฒนาที่รวดเร็วเป็นอย่างมาก เวลาผ่านพ้นไปโดยที่ยังไม่รู้สึกว่านานเสียเท่าไหร่ เทคโนโลยีใหม่ก็เกิดขึ้นมาเรื่อยๆ เพื่อนำไปต่อยอดทางอุตสาหกรรมต่างๆ มากขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของนวัตกรรม AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถนึกคิดและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ขึ้นมาได้เอง แม้ของจริงอาจจะยังไม่เหมือนในภาพยนตร์มากนัก แต่ก็มีความใกล้เคียงมาอีกนิดแล้วล่ะ

 

 

ล่าสุดภายในงาน NVIDIA GTC 2019 ที่ผ่านมา ทางบริษัท Nvidia ผู้ผลิตเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และหน่วยประมวลผลกราฟฟิค ได้โชว์เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สามารถเปลี่ยนภาพวาดง่ายๆ ให้กลายเป็นภาพเสมือนจริงได้เพียงแค่ไม่กี่คลิ๊ก

 

 

ซอฟต์แวร์ตัวดังกล่าวที่กำลังพูดถึงอยู่ก็คือ GauGAN ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับผลการประมวลภาพที่มนุษย์วาดออกมา

และนำภาพสเก็ตช์เหล่านั้นเปลี่ยนให้เป็นภาพเสมือนจริงภายในเสี้ยววินาที ผ่านระบบโครงข่ายประสาทเทียมของคอมพิวเตอร์ (Neural Network)

ซึ่งตัวซอฟต์แวร์ที่นำมาใช้สาธิตในงานยังเป็นเพียงตัวทดสอบเท่านั้น แต่ทว่าความสามารถของมันไม่ได้โม้เกินจริงแต่อย่างใด

 

 

GauGAN จะมีชุดเครื่องมือเพียงแค่ 3 ตัวเท่านั้น ประกอบไปด้วย ถังสี ปากกา และดินสอ และปุ่มด้านล่างจะเป็นการกำหนดรูปแบบของวัตถุ ไม่ว่าจะเป็นน้ำ ภูเขา ดอกไม้ หิน ดิน ทราย และอื่นๆ อีกมากมาย

 

 

เมื่อเลือกเครื่องมือกับรูปแบบวัตถุได้แล้ว นำไปละเลงในส่วนของภาพสเก็ตช์ ผลลัพธ์ที่ออกมาจากเป็นไปตามที่ผู้ใช้ลากเส้นหรือเทสีลงไป

อย่างเช่นการวาดวงกลมใส่สีน้ำตาลลงไป ก็จะกลายเป็นโขดหิน เติมสีฟ้าน้ำทะเลตัดกับสีฟ้าของท้องฟ้า ก็จะออกมาเป็นภาพริมทะเล

 

 

ผู้ใช้สามารถจินตานาการภาพได้หลายรูปแบบ อย่างการใช้เครื่องมือวาดเป็นรูปทรงของต้นไม้ก็จะได้ต้นไม้เสมือนจริงออกมา ลากเส้นตรงๆ ก็จะได้เป็นลำต้น วาดเป็นดวงไฟเล็กๆ ด้านบนก็จะได้ออกมาเป็นใบไม้เพื่อให้เกิดเป็นต้นไม้ที่สมบูรณ์

 

 

อย่างไรก็ตาม หากมีผู้ใช้สองคนวาดภาพสเก็ตช์เหมือนกันเป๊ะๆ ตัวซอฟต์แวร์ GauGAN จะทำการประมวลผลใหม่เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน นั่นจึงหมายถึงภาพเสมือนจริงที่จะออกมาสองครั้ง จะไม่มีทางเหมือนกัน

 

.

 

เพื่อให้ได้ผลลัพธ์การประมวลผลที่รวดเร็ว GauGAN จะต้องรันบนแพลทฟอร์มคอมพิวเตอร์ Tensor และใช้ควบคู่กับหน่วยประมวลผลกราฟฟิค RDX Titan

 

 

ในส่วนของภาพเสมือนจริง ทาง Nvidia ได้นำภาพที่ได้รับอนุญาตเผยแพร่จำนวน 1,000,000 ภาพ จากเว็บไซต์ Flickr นำมาฝึกฝนให้กับระบบโครงข่ายประสาทเทียม จนสามารถเทียบเคียงวัตถุต่างๆ ในภาพถ่ายได้อย่างที่เห็น

 

 

ที่มา: blogs.nvidiaventurebeatdigitaltrendsthenextweb, interestingengineering, unilad, techspot, techcrunch

Comments

Leave a Reply