วิศวกรกูเกิลสร้างสถิติโลก ‘คำนวณค่าพาย’ ออกมาได้ 31.4 ล้านล้านหลัก ใช้เวลาทั้งหมด 121 วัน!

เป็นที่ทราบกันดีว่า ค่าพาย (π) เป็นค่าคงตัวทางคณิตศาสตร์ที่มีความสำคัญ และถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั้งในวงวิชาการทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ อย่างเช่นเส้นรอบวง พื้นที่วงกลม หรือปริมาตรทรงกลม

 

 

ความมหัศจรรย์ของค่าพายนั้น ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจำนวนสิ้นสุดของมันอยู่ตรงไหน โดยค่าของพายจะอยู่ที่ 22/7 หรือ 3.14 เกิดจากการนำความยาวของเส้นรอบวง หารด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม และจะกลายเป็นค่าตัวเลขที่ยาวไปเรื่อยๆ ซึ่งไม่มีชุดตัวเลขใดที่ซ้ำกันเลย

 

สถิติเก่าที่สามารถถอดออกมาได้ 22.4 ล้านล้านหลักของนาย Peter Trueb

 

โดยที่ผ่านมา มีผู้พยายามทำการคำนวณจำนวนค่าพายไว้ได้มากที่สุดในปี 2016 นั่นก็คือนาย Peter Trueb ด้วยจำนวน 22.4 ล้านล้าน แต่ทว่าสถิติของเขาก็ถูกทำลายลงด้วยฝีมือของวิศวกรชาวญี่ปุ่น Emma Haruka Iwao

 

Emma Haruka Iwao

 

Emma Haruka Iwao วิศวกรชาวญี่ปุ่นจากบริษัทกูเกิล ใช้ระบบคลาวด์ของบริษัทช่วยในการคำนวณถอดค่าพายออกมา โดยใช้เวลาในการคำนวณทั้งหมด 121 วัน ใช้เวลาตรวจสอบอีก 20 ชั่วโมง จนสามารถถอดค่าพายได้ออกมาเป็น 31,415,926,535,897 ในวันที่ 21 มกราคม 2019

 

เริ่มคำนวณตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน 2018 สิ้นสุดวันที่ 21 มกราคม 2019

 

ทั้งนี้ การประกาศผลแห่งความสำเร็จเพิ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 14 มีนาคม 2019 ซึ่งเป็นวันแห่งค่าพายพอดิบพอดี อีกทั้งยังเป็นครั้งแรกของการทำสถิติถอดค่าพายด้วยการใช้ระบบคลาวด์

“ตั้งแต่ยุคโบราณของชาวบาบิโลน ผู้คนก็ยังคงคำนวณหลักของค่าพายมาอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มต้นจากค่า 3.1415 และมันจะไปต่อเรื่อยๆ ไม่รู้จบ

เพื่อเป็นเกียรติแก่วันแห่งค่าพาย ในวันนี้ วันที่ 14 มีนาคม (3/14) เราจึงมีความยินดีที่จะประกาศว่าเราสามารถคำนวณค่าพายออกมาได้ 31.4 ล้านล้านหลักเป็นที่เรียบร้อย นั่นก็คือ 31,415,926,535,897 หรือ π * 10^13″

 

 

กระบวนการคำนวณในครั้งนี้ จำเป็นจะต้องใช้โปรแกรมที่เรียกว่า y-cruncher ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย Alexander J. Yee และสั่งการผ่านระบบ Google Compute Engine ใช้งานผ่านระบบคลาวด์

ตลอด 121 วันในการคำนวณ ชุดข้อมูลที่คำนวณถอดค่าออกมานั้นมีความจุ 170 เทราไบต์ โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยคำนวณทั้งหมด 25 เครื่อง

 

 

นอกจากจะต้องใช้จำนวนพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่เยอะแล้ว กระบวนการถอดค่าจะไม่มีช่องว่างให้ผิดพลาดได้โดยเด็ดขาด เนื่องจากอาจจะทำให้ผลคำนวณในขั้นสุดท้ายคลาดเคลื่อนไปได้

 

Guinness World Records‏ ร่วมแสดงความยินดีผ่านทวิตเตอร์

 

แต่ถึงจะประสบความสำเร็จจนสร้างสถิติโลกใหม่ได้แล้ว เธอยังไม่หยุดค่าพายไว้เพียงเท่านี้ เพราะมันยังสามารถถอดค่าออกมาให้ไปได้ไกลมากกว่านี้อีก และจะลองคำนวณอีกครั้งเมื่อมีความพร้อมที่มากพอ

 

 

ที่มา: cloud.googleblog.google, numberworld, cbsnewsbbc, nextshark


Tags:

Comments

Leave a Reply