พบนกคาร์ดินัลสองสีที่สหรัฐ มีร่างกายครึ่งหนึ่งเป็นตัวเมีย และอีกครึ่งหนึ่งเป็นตัวผู้

นกคาร์ดินัลแดง เป็นนกที่พบเห็นได้ทั่วไปทางตะวันออกของสหรัฐอเมริกา มีจุดเด่นที่สีแดงสด และขนบนหัวตั้ง ตามปกติจะแยกเพศได้ง่ายจากการที่ตัวผู้มีสีแดงสด ในขณะที่ตัวเมียจะมีสีออกน้ำตาล

อย่างไรก็ตามเมื่อไม่นานมานี้เอง ที่เมืองอิรี รัฐเพนซิลเวเนีย หญิงสาวคนหนึ่งกลับพบกันนกคาร์ดินัลสุดแปลก ที่มีสีตัวซีกขวาแดง และตัวซีกซ้ายสีน้ำตาลเสียอย่างนั้น

 

 

หญิงสาวคนดังกล่าวนี้มีชื่อว่า Shirley Caldwell ผู้ซึ่งบังเอิญถ่ายภาพนกตัวนี้ได้ในช่วงเช้าของฤดูหนาว เพียงแต่ในเวลานั้นเธอไม่ได้ทราบเลยว่านกตัวนี้มีความพิเศษมากกว่าแค่ที่สีของมัน

นั่นเพราะจากคำบอกเล่าของผู้เชี่ยวชาญด้านนกวิทยาเจ้านกตัวนี้ไม่แค่มีขนสองสีแบ่งครึ่งตัวอย่างน่าประหลาดเท่านั้น แต่มันยังเป็นนกในกลุ่มที่เรียกว่า “Bilateral Gynandromorphs” หรือนกที่มีเพศครึ่งหนึ่งเป็นตัวเมีย ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งเป็นตัวผู้นั่นเอง

 

 

ที่เป็นเช่นนี้เพราะโครโมโซมของนกนั้นแตกต่างไปจากมนุษย์ เพราะแทนที่จะเป็นโครโมโซม X กับ Y นกนั้นจะใช้โครโมโซม W กับ Z หากนกมีโครโมโซม ZZ นกจะเป็นตัวผู้ และหากโครโมโซม ZW นกจะเป็นตัวเมีย

นั่นหมายความว่าสำหรับนกแล้ว ไข่จากฝั่งเพศเมียที่มีโครโมโซม ZW จะเป็นตัวกำหนดเพศของลูกนก ซึ่งต่างไปจากมนุษย์ที่ใช้สเปิร์มกำหนดเพศนั่นเอง

 

 

และกลุ่มอาการ Bilateral Gynandromorphs ก็จะเกิดขึ้นจากการที่ไข่ของนกบังเอิญมีโครโมโซม W กับ Z อยู่ทั้งคู่ และทางสเปิร์มเองก็มีโครโมโซม Z เกินมาหนึ่งตัวในเวลาเดียวกันนั่นเอง

ในกรณีนี้โครโมโซมทั้งสองตัวในไข่จะได้รับการผสมไปทั้งคู่ ทำให้นกที่เกิดออกมากลับจะมีลักษณะที่มีซีกหนึ่งของร่างกายเป็นโครโมโซม ZZ และอีกซีกหนึ่งเป็น ZW แทนที่จะมีความพิการจากการที่โครโมโซมเกินตามปกติ

การผสมสุดแปลกนี้ทำให้นกที่ออกมานั้นมีความรู้สึกนึกคิดเป็นทั้งตัวผู้และตัวเมียในเวลาเดียวกัน แต่ก็อาจจะมีลักษณะของแต่ละเพศไม่รุนแรงเท่ากันนกปกติเช่นกัน

 

 

เหล่าผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่านกตัวนี้อาจจะไม่ “ร้องเพลง” เพื่อเรียกหาตัวเมียเหมือนกับนกคาร์ดินัลตัวผู้ทั่วๆ ไป ถึงอย่างนั้นการที่มันมีโครโมโซมครบก็ทำให้มีนกตัวนี้อาจจะมีความสามารถในการขยายพันธุ์ต่อไปเช่นกัน (เพราะมันมีรังไข่ซีกซ้ายอยู่)

อย่างไรก็ตามงานวิจัยเกี่ยวกับระบบโครโมโซมและเพศของนกนั้นยังค่อนข้างมีอยู่อย่างจำกัด และจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษากันต่อไปในปัจจุบัน

 

ที่มา livescienceforbessciencealert และ nationalgeographic

Comments

Leave a Reply