ทีมนักวิทย์และ NASA ลงสำรวจเกาะเกิดใหม่ ผ่านมาได้ 4 ปี พบทั้งโคลนและพืชพันธุ์เติบโต

เป็นระยะเวลานานร่วม 4 ปีแล้ว หลังจากที่ Hunga Tonga เกาะใหม่ผุดขึ้นกลางทะเล ตั้งอยู่ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ใกล้กับประเทศตองกา โดยเริ่มก่อตัวขึ้นจากแรงปะทุของภูเขาไฟใต้น้ำในช่วงเดือนมกราคม 2015

 

คลิปจำลองภาพการเกิดขึ้นของเกาะ Hunga Tonga

 

ภาพเกาะ Hunga Tonga ในเดือนมิถุนายน ปี 2017

 

โดยปกติแล้ว เกาะเกิดใหม่ลักษณะนี้มักจะมีอายุไม่ยืนยาวมากนัก เนื่องจากจะถูกน้ำทะเลกัดเซาะไปเรื่อยๆ จนจมหายลงสู่ทะเลในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน

แต่ทว่าสำหรับเกาะ Hunga Tonga กลับยืนหยัดมาได้ถึง 4 ปีแล้ว และเป็นจำนวนที่รอดเพียง 1 ใน 3 เกาะใหม่จากทั่วโลกในรอบ 150 ปี

 

เกาะใหม่ขึ้นแทรกตรงกลางระหว่างเกาะเก่า 2 ด้าน

 

ซึ่งในช่วงเดือนธันวาคม 2018 ที่ผ่านมา ทีมนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยทางทะเล Sea Education Association ร่วมกับทีมนักสำรวจจาก NASA ได้ลงไปสำรวจพื้นที่บนเกาะเพื่อเก็บข้อมูลทางธรณีวิทยา เก็บรายละเอียดทำแผนที่สามมิติ และเก็บตัวอย่างเพื่อนำไปวิเคราะห์เพื่อเติม

 

 

สิ่งที่ทำให้พวกเขารู้สึกประหลาดใจมากๆ นอกเหนือจากการอยู่รอดของเกาะแห่งนี้แล้ว คือพบว่าบนเกาะมีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ พืชพันธุ์ต่างเติบโตขึ้นบนเกาะ รวมไปถึงนกทะเล ที่เข้ามาสร้างถิ่นที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนหนึ่งแล้วด้วย

 

 

อีกทั้งภูมิประเทศบนเกาะแห่งนี้มีความแตกต่างจากเกาะทั่วไป เนื่องจากพบว่าบนชายหาดเต็มไปด้วยก้อนกรวดขนาดเล็ก ไม่ใช่ทรายเหมือนเกาะอื่นๆ และดินโคลนสีอ่อนที่หนืดและเหนียวมากๆ แต่กลับไม่ใช่เถ้าภูเขาไฟด้วย

 

 

อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจเบื้องต้นคาดว่าเกาะ Hunga Tonga น่าจะอยู่ต่อไปได้อีกประมาณ 6 ถึง 30 ปี แต่อาจจะไวกว่านั้น เนื่องจากพบว่าบริเวณชายฝั่งเกาะตอนใต้ถูกฝนและคลื่นทะเลกัดเซาะอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง

 

ที่มา: nasa, cnn, iflscience


Tags:

Comments

Leave a Reply