Tag: ไวโอลิน

  • เจ้าของโวย เชลโลอายุ 210 ปี ราคาแพง พังยับบนเครื่อง แต่สายการบินเบี้ยวไม่รับผิดชอบ

    เจ้าของโวย เชลโลอายุ 210 ปี ราคาแพง พังยับบนเครื่อง แต่สายการบินเบี้ยวไม่รับผิดชอบ

    เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2017 มีผู้ใช้เฟซบุ๊กท่านหนึ่ง ออกมาโพสต์ถึงสายการบินที่แสนไร้ความผิดชอบ ที่ทำเชลโลของเขาแตกหัก โดยเขาไม่ได้รับการรับผิดชอบใดๆ จากทางสายการบิน ผู้โพสชื่อว่า Yu Hao Xuan มีอาชีพเป็นนักดนตรี เขาอาศัยอยู่ในปประเทศสหรัฐอเมริกา เขาจำเป็นต้องเดินทางทางอากาศจากเมืองลอสแองเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ไปยังเมืองดีทรอยด์ รัฐมิชิแกน เขาจึงเลือกเดินทางกับสายการบิน Spirit Airlines โดยที่นำเชลโลคู่ใจติดไปด้วย ซึ่งเชลโลของเขามีชื่อรุ่นว่า Martin Stoss ผลิตขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ช่วงศตวรรษที่ 19 สิริอายุรวมกว่า 210 ปี จากการประเมินราคาล่าสุด มันมีมูลค่ากว่า 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือตีเป็นเงินไทยได้กว่า 2.6 ล้านบาทเลยทีเดียว!!   สภาพที่แตกหักของเชลโล . . .   เขานำเชลโลตัวนี้ใส่กล่องของมันอย่างดี และใส่เข้าไปในกล่องกันกระแทกพร้อมทั้งห่อด้วยแผ่นกันกระแทกอีกชั้นหนึ่ง ก่อนจะนำกระเป๋าโหลดลงไปกับเครื่องบิน แต่พอลงมาจากเครื่อง ตัวเชลโลกลับแตกเป็นรูใหญ่และมีรอยร้าวยาวตามตัวเชลโลด้วย เขารู้สึกไม่พอใจเป็นอย่างมากจึงได้โวยวายกับทางสายการบิน แต่กลับไม่มีพนักงานคนไหนกล่าวขอโทษเขาหรือว่าแสดงท่าทีรู้สึกผิดเลย ซ้ำยังพยายามบ่ายเบี่ยงที่จะรับผิดชอบเชลโลของเขา ทั้งๆ ที่สายการบินนั้นแหละเป็นคนทำพัง เมื่อเห็นว่าสายการบินไม่ยอมรับผิดความเรื่องความเสียหาย เขาจึงตัดสินใจโพสต์ผ่านทางเฟซบุ๊กของกลุ่มนักดนตรี เพื่อเตือนภัยแก่นักดนตรีท่านอื่น…

  • เมื่ื่อนำไวโอลินในตำนานมาทดสอบ Blind Test กับไวโอลินตัวท๊อปยุคใหม่ ผลจะเป็นยังไงนะ

    เมื่ื่อนำไวโอลินในตำนานมาทดสอบ Blind Test กับไวโอลินตัวท๊อปยุคใหม่ ผลจะเป็นยังไงนะ

    เชื่อว่าในทุกวงการ ต้องมีของชิ้นหนึ่งที่ทุกคนต่างยอมรับว่าเป็นเอกแห่งผลิตภัณฑ์ ที่ไม่ว่าถามใคร ก็ต้องยกให้เป็นตำนานไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน ไม่ว่าจะเป็นวงการพระเครื่อง วงการเครื่องเสียง วงการฟุตบอล และอื่นๆ อีกมากมาย สำหรับวงการเครื่องดนตรี โดยเฉพาะเครื่องดนตรีคลาสสิกนั้น เครื่องดนตรีแต่ละชนิดก็เครื่องดนตรีในตำนานของตนเอง อย่างเครื่องดนตรีไวโอลิน ก็จะมีไวโอลินของ Stradivarius ที่นักไวโอลินทั่วโลกต่างถือว่าเป็นไวโอลินที่ “สมบูรณ์แบบ” ที่สุดในโลก       ไวโอลินตัวนี้ สร้างขึ้นโดย Antonio Stradivari จากตระกูลนักทำเครื่องดนตรีในตำนานจากประเทศอิตาลีในช่วงศตวรรษที่ 17 – 18 ซึ่งในปัจจุบันเหลือเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น และราคามันก็พุ่งขึ้นไปถึงตัวละ 3.5 ล้านปอนด์หรือราว 150 ล้านบาทเลยทีเดียว… แต่ไวโอลินตัวนี้ ถือว่า “ดี” ที่สุดในโลกจริงๆ หรือ? หากเทียบกับไวโอลินรุ่นท็อปๆ ในยุคปัจจุบัน มันจะดีกว่าจริงๆ หรือ? หรือว่าเป็นเพียงอุปทานของมนุษย์ ที่คิดว่าของเก่ามักจะดีกว่าเสมอหรือเปล่า?     ทาง National Academy of Sciences จึงทำการทดสอบด้วยการทำ Blind Test หรือปิดตาทดสอบในห้องจัดเลี้ยงของโรงแรม Indianapolis  วิธีการของพวกเขาก็ง่ายๆ…

  • ชมไวโอลินที่สร้างจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติสุดเจ๋ง อย่างกับหลุดออกมาจากอนาคต!!!

    ชมไวโอลินที่สร้างจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติสุดเจ๋ง อย่างกับหลุดออกมาจากอนาคต!!!

    ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าไปมาก เราสามารถสร้างข้าวของต่างๆได้เองผ่านเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ขึ้นอยู่กับการออกแบบของเราเอง และวันนี้เหมียวจะพาไปชมไวโอลินที่สร้างขึ้นมาด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ซึ่งออกแบบโดนทีม Monad Studio ที่เห็นแล้วบอกได้คำเดียวเลยว่า เจ๋งสุดๆ และขอบอกเลยว่า ใช้งานได้จริงๆนะ ไม่ได้ทำมาโชว์เฉยๆ   โดยไวโอลินอันนี้ จะประกอบไปด้วย สายไวโอลิน 2 เส้น สายเบสไฟฟ้าอีก 1 เส้น และสายเชลโลอีก 1 เส้น   ไปลองฟังกันดีกว่า ว่าเสียงเป็นยังไงบ้าง   เจ๋งไปเลยใช่มั้ยละ เห็นแล้วอยากได้ซักอันจริงๆ ถึงจะเล่นไวโอลินไม่เป็นก็ตาม แค่เอาไปประดับพนังก็สวยแล้วละ ฮ่าๆ ที่มา monadstudio

  • เทคโนโลยีก้าวไกล ผลิตไวโอลินจากแบบพิมพ์ 3 มิติ แถมใช้งานได้จริงอีกด้วย!!

    เทคโนโลยีก้าวไกล ผลิตไวโอลินจากแบบพิมพ์ 3 มิติ แถมใช้งานได้จริงอีกด้วย!!

    เทคโนโลยีไม่มีวันหยุดพัฒนากันจริงๆ ซึ่งจากที่มีการเปิดตัวเทคโลโลยีแบบพิมพ์ 3 มิติออกมาให้ชาวโลกได้รับรู้ ก็เริ่มมีการผลิตอุปกรณ์จากแบบพิมพ์ 3 มิติออกมามากมาย รวมไปถึงเครื่องดนตรีอย่างไวโอลินชิ้นนี้ด้วย!! สำหรับไวโอลินชิ้นนี้เป็นไวโอลินไฟฟ้าที่ทำมาจากแบบพิมพ์ 3 มิติเป็นชิ้นแรกของโลก โดยมีต้นแบบมาเครื่อง Stradivarius ขึ้นรูปและพิมพ์แบบออกมาเป็นชิ้นเดียว ไม่ต้องประกอบอะไรเพิ่มเติมเลย นับว่าเป็นส่วนผสมระหว่างเทคโนโลยีสมัยใหม่บวกกับฝีมือการออกแบบเครื่องไวโอลิน หลอมรวมออกมาเป็นดีไซน์รูปแบบใหม่ที่สามารถใช้งานได้จริงอีกด้วย แล้วเรื่องของเสียงจะไพเราะแค่ไหน ลองฟังกันได้ที่คลิปด้านล่างเลยจ้า ที่มา : Laurent Bernadac