Tag: ปรากฏการณ์ธรรมชาติ

  • ภาพเหตุการณ์ “น้ำแข็งท่วม” เมืองบอสตัน น้ำท่วมและหนาวจัด เกิดเป็นภัยพิบัติหาชมยาก!!

    ภาพเหตุการณ์ “น้ำแข็งท่วม” เมืองบอสตัน น้ำท่วมและหนาวจัด เกิดเป็นภัยพิบัติหาชมยาก!!

    ภัยธรรมชาติเป็นเรื่องที่มนุษย์พยายามหลีกเลี่ยงมาอย่างยาวนาน อย่างไรก็ดีธรรมชาติก็เป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์และหลีกเลี่ยงได้อยู่ดี และราวกับธรรมชาติกลั่นแกล้งในบางครั้งมนุษย์เราก็ต้องพบกับภัยพิบัติอันแสนเลวร้ายยิ่งกว่าที่เคยมีมาอีกด้วย ในขณะเมืองบอสตันกำลังพยายามจัดการกับปัญหาน้ำท่วมอยู่นั้นพวกเขาก็ได้พบกับอุณหภูมิที่ลดลงอย่างกะทันหันจากพายุหิมะ จนทำให้เกิดธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่ปกคลุมไปทั่วท้องถนน สำนักข่าว The Boston Globe รายงานว่าประชาชนราว 20 ครอบครัวต้องทำการอพยพจากที่พักอาศัย แต่มีเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่ได้รับความช่วยเหลือจากยานพาหนะลุยน้ำของเจ้าหน้าที่ National Guard   น้ำท่วมแข็งในทางเหนือของเมือง Boston   ภาพของรถที่ทำการยกที่ปัดน้ำฝนและกระโปรงหลังไว้เพื่อไม่ให้ส่วนนั้นจมอยู่ในหิมะ แต่ก็ไม่สามารถต่อต้านการจมอยู่ในธารน้ำแข็งที่เกิดจากน้ำท่วมแข็งได้ .   ภาพพยากรณ์อากาศของของอเมริกาฝั่งตะวันออก   อุณหภูมิเยือกแข็งที่ประมาณ -9 องศาเซลเซียส จะยังปกคลุมเมืองบอสตันไปอีกประมาณสองวันและอาจลดลงไปได้ถึง -18 องศาเซลเซียสในตอนกลางคืน โดยที่ในบางพื้นที่อาจพบลมหนาวพัดซึ่งทำให้อุณหภูมิสามารถลดลงไปอย่างเลวร้ายที่สุดที่ -37 องศาเซลเซียส     Benjamin Sipprell นักอุตุนิยมวิทยาในบอสตันกล่าวว่าน้ำท่วมครั้งนี้เกิดจากพายุหิมะพัดผ่านในช่วงน้ำขึ้นซึ่งขึ้นสูงกว่าปกติเพราะซูเปอร์มูนเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ซึ่งเหตุการณ์ซูเปอร์มูนมักจะเกิดขึ้นประมาณ 4-6 ครั้งต่อปี     น้ำขึ้นน้ำลงเกิดขึ้นเพราะดวงจันทร์ น้ำจะขึ้นสูงสุดในช่วงพระจันทร์เต็มดวงและซูเปอร์มูนจะยิ่งทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นไปอีก จนในที่สุดก็ทะลักเข้าท่วมเมือง “น้ำขึ้นตามปกติในบอสตันจะสูงประมาณ 9 ถึง 10 ฟุต” Sipprell บอก “มันอาจขึ้นไปได้ถึง 12 ฟุต และเราก็คาดการณ์ว่าครั้งนี้มันจะขึ้นไปได้ถึง 12.1 แต่กลายเป็นว่ามันกลับสูงถึง 15 ฟุต มันต้องกลายเป็นประวัติศาสตร์แน่ๆ “ ครั้งสุดท้ายที่เมืองจมอยู่ในธารน้ำแข็งแบบนี้ก็ตั้งแต่เมื่อปี 1978 และเมืองที่ได้รับผลกระทบเลวร้ายที่สุดก็จะเป็นเมืองที่ติดแนวชายฝั่งแบบ Plum…

  • รู้จักกับปรากฏการณ์ ‘คลื่นสเลอปี้’ ที่น้ำทะเลเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง จากอุณหภูมิติดลบ หาชมได้ยากยิ่ง!!

    รู้จักกับปรากฏการณ์ ‘คลื่นสเลอปี้’ ที่น้ำทะเลเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง จากอุณหภูมิติดลบ หาชมได้ยากยิ่ง!!

    จากที่เกิดพายุหิมะที่กระทบชายฝั่งตะวันออก เป็นที่สนใจอย่างมาก ทางวิทยาศาสตร์ได้อธิบายเหตุการณ์แบบนี้ว่า “ระเบิดพายุไซโคลน” แต่ตอนนี้มีปรากฏการ์อื่นแบบเจ้าคลื่นสเลอปี้ด้วยเช่นกัน คลื่นสเลอปี้แน่นอนมันฟังดูเหมือนกับ คลื่นเริ่มเย็นลงและเคลื่อนตัวไปช้าๆ ขณะที่มันม้วนตัวเข้าหาฝั่ง คุณ Jonathan Nimerfroh เป็นช่างภาพที่ได้ถ่ายภาพเหตุการณ์นี้ได้เมื่อวันที่ 3-4 มกราคม ปี 2561 ที่ผ่านมานี่เอง จากปรากฏการณ์พายุฤดูหนาว Grayson ที่หาด Nobadeer ซึ่งเป็นจุดโต้คลื่นของเกาะ Nantucket รัฐแมสซาชูเซต ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ใช้ Instagram ชื่อ jdnphotography ได้โพสต์ภาพเจ้าคลื่นสเลอปี้พร้อมเขียนว่า “คลื่นสเลอปี้กลับมาแล้ว”     คลื่นยังสามารถใช้เล่นเซิร์ฟบอร์ดได้เหมือนเดิมนะ .   น่าลงไปเล่นมากๆ   คลื่นสเลอปี้ช่วงพายุหิมะกลายเป็นภาพสวยๆ ให้เรารับชมกัน   มาดูเป็นแบบภาพเคลื่อนไหวของเจ้าคลื่นสเลอปี้กันมั่งดีกว่า   ที่มา Ibtimes, Designyoutrust

  • หน้าผา ‘Chan Da Ya’ ในจีนที่จะปล่อยไข่ออกมาทุกๆ 30 ปี เฮ่ยยยมันเป็นไปได้ไง!?

    หน้าผา ‘Chan Da Ya’ ในจีนที่จะปล่อยไข่ออกมาทุกๆ 30 ปี เฮ่ยยยมันเป็นไปได้ไง!?

    บ่อยครั้งที่ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติมักจะสร้างความประหลาดใจให้กับเรา ไม่ว่าจะเป็นความสวยงามของแสงเหนือ หรือปรากฏการณ์สุริยุปราคา และเรื่องราวที่เรานำมาฝากวันนี้เองก็น่าทึ่งไม่แพ้ปรากฏการณ์เหล่านี้เช่นกัน นั่นก็คือหน้าผาที่สามารถออกไข่ได้นั่นเอง!! หน้าผา Chan Da Ya หน้าผามหัศจรรย์จากประเทศจีนแห่งนี้ สร้างความประหลาดใจให้กับผู้ที่พบเห็นอย่างมาก เพราะมันสามารถออกไข่ได้ทุกๆ 30 ปี   หน้าผา Chan Da Ya และไข่ของมัน   หน้าผาแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขต Qiannan Buyi และ Miao Autonomous ของมณฑลกุ้ยโจว หน้าผา Chan Da Ya หรอืที่รู้จักกันในชื่อหน้าผาไข่สร้างความน่าประหลาดใจให้กับนักธรณีวิทยามานาหลายศตวรรษแล้ว ลักษณะของหน้าผาแห่งนี้มีความสูง 2 เมตรและกว้าง 19 เมตร บริเวณพื้นผิวของมันเต็มไปด้วยการกัดเซาะมากมายและหินกลมๆ ที่มีลักษณะคล้ายกับไข่ เมื่อเวลาผ่านไป ธรรมชาติจะกัดเซาะหน้าผาไปเรื่อยๆ จนทำให้หินกลมเหล่านั้นหลุดออกมาในที่สุด ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน Gulu บอกว่าก้อนหินเหล่านั้นจะใช้เวลาประมาณ 30 ปี จึงจะหล่นลงมา     ปรากฏการณ์ดังกล่าวถือว่าเป็นสิ่งที่หาชมได้ยากมากๆ นักธรณีมากมายได้เดินทางมายังหุบเขาที่ห่างไกลแห่งนี้เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับการออกไข่ของหน้าผา พวกเขาพบว่าภูเขา Gandeng โดยส่วนมากแล้วมีลักษณะเป็นตะกอนที่ทับถมกัน และหินที่นี่ส่วนมากเป็นหินปูน ซึ่งถูกกัดกร่อนได้ง่าย ไข่เหล่านี้ถูกสร้างมาจากหินที่แข็ง ซึ่งแต่ละก้อนอาจจะใช้เวลาในการสร้างที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแร่ธาตุ และสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่ผ่านหินเหล่านั้น แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีใครที่สามรถอธิบายได้ว่าชั้นหินปูนที่ก่อตัวมาตั้งยุคแคมเบรียนสามรถคงอยู่มาได้ถึง 500…

  • “Crown Shyness” ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ต้นไม้เว้นช่องว่าง ที่น้อยคนนักจะสังเกตเห็น

    “Crown Shyness” ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ต้นไม้เว้นช่องว่าง ที่น้อยคนนักจะสังเกตเห็น

    โดยธรรมชาติแล้วเวลาที่ต้นไม้ขึ้นใกล้กัน กิ่ง ก้าน และใบของมันจะอยู่แทรกกัน จากต้นนี้ไปต้นนั้น จากต้นนั้นไปต้นโน้น จนบางทีก็งงไปหมดว่ากิ่ง ก้าน ใบไหน เป็นของต้นไหน แต่ปรากฏการณ์ธรรมชาติของต้นไม้ที่เกิดขึ้นใน Plaza San Martín อาจเป็นสิ่งที่หลายคนไม่เคยเห็นมาก่อน เพราะต้นไม้มีการเว้นช่องว่างระหว่างกันอย่างชัดเจน     ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า Crown Shyness อยู่ที่อุทยานในกรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ซึ่งถูกสังเกตได้ครั้งแรกเมื่อทศวรรษที่ 1920 จนนำไปสู่การตั้งสมมติฐานต่างๆ เพื่ออธิบายถึงธรรมชาติอันน่าทึ่งนี้     บางคนเชื่อว่าการที่ต้นไม้เว้นช่องว่างระหว่างกันนี้ ก็เพื่อลดการแพร่กระจายของแมลงที่เป็นอันตราย ในขณะที่หลายคนเชื่อว่าต้นไม้พยายามปกป้องกิ่งก้านสาขาของมันไม่ให้เกิดการแตกหัก     ในขณะเดียวกันได้มีการนำเสนอว่า การที่เกิดปรากฏการณ์ Crown Shyness ก็เพื่อให้ต้นไม้สามารถปรับแสงได้อย่างเหมาะสม และเพิ่มกระบวนการสังเคราะห์แสงได้อย่างมีประสิทธิภาพ     ส่วนใหญ่แล้วปรากฏการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นกับต้นไม้สายพันธุ์เดียวกัน แต่ก็มีพบในต้นไม้ต่างสายพันธุ์กันบ้าง สำหรับสาเหตุของการเกิดนั้นยังไม่มีการยืนยันแน่ชัดว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร   . . . . . . . . . . .…

  • ความงดงามของ ‘ปรากฏการณ์แสงใต้’ สีสันแห่งยามค่ำคืน พาดผ่านน่านฟ้าออสเตรเลีย…

    ความงดงามของ ‘ปรากฏการณ์แสงใต้’ สีสันแห่งยามค่ำคืน พาดผ่านน่านฟ้าออสเตรเลีย…

    การได้ไปชม ‘แสงเหนือ’ คงเป็นสิ่งที่หลายๆ คนใฝ่ฝันเอาไว้ แต่หารู้ไม่ว่าบนโลกของเราเองก็มีปรากฏการณ์ ‘แสงใต้’ อยู่ด้วยเช่นเดียวกัน และมันงดงามไม่แพ้แสงเหนือเลยล่ะ และนี่คือภาพถ่ายของปรากฏการณ์แสงเหนือที่เกิดขึ้นในรัฐ Tasmania ประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา แสงสีเขียวที่พาดผ่านบริเวณขอบฟ้าไล่ไปเรื่อยๆ จนทำให้ท้องฟ้ายามค่ำคืนเปลี่ยนเป็นสีม่วงสดใสพร้อมกับถูกแต่งแต้มไปด้วยดวงดาวที่สุกสะกาว ภาพเหล่านี้ถูกถ่ายขึ้นที่เมืองเล็กๆ Ulverstone ที่อยู่ห่างออกไปทางตอนเหนือจากเมือง Hobart ประมาณ 300 กิโลเมตร     สำหรับรัฐ Tasmania นี้เป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอันแสนงดงามมากมายให้เราได้ชม และเช่นเดียวกันกับปรากฏการณ์ ‘แสงใต้’ ที่เกิดขึ้นนี้เองก็ด้วยเช่นกัน ซึ่งมันเกิดขึ้นได้ยากมากๆ “การมองแสงใต้ด้วยตาเปล่าเราจะเห็นเป็นแค่แสงสีขาวจางๆ เท่านั้น จนบางครั้งอาจทำให้เข้าใจผิดไปว่ามันคือก้อนเมฆ” ช่างภาพ James Garlick นักล่าแสงใต้กล่าว   .   “ความสวยงามของมันนั้นจะเผยออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนก็ต่อเมื่อเรามองผ่านกล้องที่เปิดรูรับแสง” เขากล่าวเสริม     สำหรับเพื่อนๆ คนไหนที่อยากเดินทางไปเก็บรูปภาพแสงใต้ที่ประเทศออสเตรเลียช่างภาพ James ก็แนะนำว่าให้ไปช่วงฤดูหนาว โดยเฉพาะเดือนกันยายนคือช่วงที่เหมาะที่สุด     ที่มา : dailymail

  • น้ำแข็งในไซบีเรีย ถูกคลื่นซัดจนกลายเป็นก้อนกลม ราวกับศิลปะที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ขึ้น…

    น้ำแข็งในไซบีเรีย ถูกคลื่นซัดจนกลายเป็นก้อนกลม ราวกับศิลปะที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ขึ้น…

    ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่เราไม่รู้เกี่ยวกับ ‘ธรรมชาติ’ และแน่นอนว่าคงไม่มีใครรู้มาก่อนว่าธรรมชาติของเรานั้นก็สามารถปั้นหิมะให้กลายเป็นก้อนกลมๆ ได้ด้วยนะเออ!!? เมื่อช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมาจู่ๆ ก็มีชาวบ้านพบก้อนหิมะแปลกๆ ที่มีรูปร่างเหมือนหัวของตัวตุ๊กตาหิมะวางอยู่เรียงรายชายหาดที่อยู่ในอ่าว Gulf of Ob ที่ตั้งอยู่ใกล้กับหมู่บ้าน Nyda อยู่ทางตอนเหนือของประเทศไซบีเรีย     คุณ Ekaterina Chernyk ชาวบ้านที่พบเหตุการณ์นี้เล่าว่า “จู่ๆ ฉันก็พบเจ้าก้อนกลมๆ นี้อยู่เต็มไปหมด และที่สำคัญมันมีอยู่แค่ที่นี่ที่เดียวด้วย เหมือนกับว่ามีใครบางคนมาปั้นทิ้งเอาไว้เลย” นอกจากนี้คุณ Valery Akulov ชาวบ้านอีกคน ยังกล่าวถึงเหตุการณ์แปลกประหลาดนี้อีกว่า “แม้แต่ผู้สูงอายุในหมู่บ้านยังบอกว่าพวกเขาเพิ่งเคยเห็นปรากฏการณ์นี้เป็นครั้งแรก”       และนักวิทยาศาสตร์ก็ออกมายืนยันและนอนยันว่านี่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และมันก็เกิดขึ้นได้ ‘ยากมากๆ’ อีกด้วย!! Sergey Lisenkov จากศูนย์วิจัย Arctic and Antarctic Research Institute (AARI) ได้ให้สัมภาษณ์ว่า “นี่เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ยากมากๆ โดยทั่วไปแล้วมันก็คือน้ำที่ใกล้จะแข็งตัว แต่หลังจากที่ผ่านกระบวนการของลม กระแสน้ำขึ้นน้ำลง และอุณหภูมิที่เย็นตัวลง จึงทำให้เจ้าน้ำที่ใกล้จะแข็งตัวนั้นถูกปั้นและแช่แข็งกลายมาเป็นก้อนกลมๆ อย่างที่เห็น”      …