Tag: ค่ายกักกัน

  • ทีมเชลซีเตรียมส่ง ‘แฟนบอลขี้เหยียด’ ไปทัวร์ ‘ค่ายกักกัน Auschwitz’ เพื่อให้สำนึกผิด

    ทีมเชลซีเตรียมส่ง ‘แฟนบอลขี้เหยียด’ ไปทัวร์ ‘ค่ายกักกัน Auschwitz’ เพื่อให้สำนึกผิด

    เรื่องของการเหยียดนั้นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับทุกวงการ โดยเฉพาะใน ‘วงการกีฬา’ ที่มักจะเจอปัญหานี้อยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นตัวนักกีฬาเอง หรือบรรดาแฟนกีฬาทั้งหลาย ที่ดูเหมือนจะอินจัดไปหน่อย เวลาเกลียดคู่แข่งก็ต้องหาเรื่องมาถากถางกัน และเรื่องเชื้อชาติหรือสีผิว ก็มักจะกลายเป็นประเด็นที่ถูกยกมาด่าทอกันบ่อยครั้งที่สุดแล้ว ด้วยเหตุนี้เองทางสโมสรทีมฟุตบอลเชลซี (Chelsea) ทีมชั้นนำจากลีกอังกฤษ ก็เลยเสนอมาตรการในการแก้ไขปัญหา ‘ดัดนิสัย’ บรรดาแฟนบอลที่ชอบเหยียด ด้วยการพาไปทัวร์ ‘ค่ายกักกัน’ ซะเลย!!     ซึ่งโดยปกติแล้วมาตรการในการจัดการกับแฟนบอลที่มีนิสัยชอบเหยียด ก็คือการ ‘แบน’ ไม่ให้เข้ามาชมการแข่งขันที่สนาม แต่นาย Roman Abramovich เจ้าของสโมสร ที่เป็นชาวยิว จึงเสนอวิธีการใหม่ขึ้นมาแทน คือการพาแฟนบอลเหล่านั้นไปทัวร์ค่ายกักกัน Auschwitz ที่นาซีใช้เป็นสถานที่กักกันชาวยิวในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และมีชื่อเสียงเรื่อง ‘ห้องรมแก๊ส’ เพื่อให้พวกเขาศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และผลกระทบจากการ ‘เหยียดเชื้อชาติ’ แทน     “ถ้าคุณแค่แบนพวกเขาไม่ให้เข้ามาชมการแข่งขัน คุณจะไม่สามารถเปลี่ยนความคิดของพวกเขาได้” นาย Bruce Buck หนึ่งในผู้บริหารของทีม Chelsea กล่าว “มาตรการนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้พวกเขาสำนึกว่า ตัวเองได้ทำอะไรลงไป และเมื่อคิดได้เขาก็จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้น”     “หากย้อนกลับไปในอดีต เราจะแบนพวกเขาไม่ให้เข้ามาชมเกมในสนามไม่ต่ำกว่า…

  • วัยรุ่นที่เคยผ่าน “ค่ายดัดนิสัยติดอินเตอร์เน็ต” เผยภายในนั้น คือการทรมานขั้นรุนแรง!!

    วัยรุ่นที่เคยผ่าน “ค่ายดัดนิสัยติดอินเตอร์เน็ต” เผยภายในนั้น คือการทรมานขั้นรุนแรง!!

    การเสพย์ติดโลกอินเตอร์เน็ตนั้นดูเหมือนว่าจะเป็นปัญหาที่มากขึ้นเรื่อยๆ ในหลายๆ พื้นที่รวมถึงประเทศจีนด้วยเช่นเดียวกัน และหนึ่งในมาตรการที่พวกเขาใช้แก้ปัญหาที่ว่านี้ก็คือการอบรมพิเศษสำหรับเด็กที่ติดอินเตอร์เน็ต แต่ดูเหมือนว่าผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นจะไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ หลังจากที่มีการเผยแพร่ภาพการฝึกในค่ายดังกล่าวออกมา นักเรียนผู้หนึ่งที่เคยผ่านค่ายบำบัดอาการติดอินเตอร์เน็ตของสถาบัน Yuzhang Shuyuan เล่าว่าในสถาบันดังกล่าวนั้นคุณครูจะควบคุมพวกเขาอย่างเข้มงวด และเฆี่ยนพวกเขาด้วยแส้มากกว่า 30 ครั้ง พร้อมกับขังให้อยู่ในห้องเล็กๆ เป็นเวลานานกว่า 1 สัปดาห์     ค่ายอบรมดังกล่าวตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน ในเมืองหนานชาง มลซลเจียงซี ซึ่งผู้ปกครองที่มีความต้องการอยากจะนำลูกๆ มาบำบัดอาการติดอินเตอร์เน็ตนั้นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นเงินกว่า 150,000 บาทสำหรับการเข้าค่ายนานกว่า 6 เดือน ในประเทศจีน อาการติดอินเตอร์เน็ตนั้นถือเป็นความผิดปรกติของร่างกาย และกำลังเพิ่มมากขึ้นในหมู่วัยรุ่น โดยเด็กๆ ที่มีอาการดังกล่าวจะละเลยการเข้าสังคม ไม่ใส่ใจคนรอบข้างและสนใจแต่โลกออนไลน์     ในการโฆษณาของสถาบันดังกล่าวได้อ้างว่าพวกเขาสามารถช่วยให้เด็กๆ หลุดพ้นจากการเสพติดอินเตอร์เน็ตได้ด้วยหลักปรัชญาจีนโบราณของขงจื๊อ และมันจะช่วยทำให้ชีวิตของพวกเขาดีขึ้น ภาพโปรโมทของสถาบันดังกล่าวได้เผยให้เห็นนักเรียนของที่นี่ในชุดประจำชาติของจีน ที่กำลังอ่านวรรณกรรมคลาสสิคและกำลังฝึกการเขียนตัวอักษร แต่ในความเป็นจริงแล้วจากคำบอกเล่าของเด็กนักเรียนที่ใช้ชื่อว่า Shan Ni Ma Da Wang สถาบันแห่งนี้มีโหดร้ายกว่าที่เห็นในภาพมาก   Shan Ni Ma Da Wang อดีตนักเรียนที่ออกมาเปิดเผยถึงเรื่องประสบการณ์อันโหดร้ายในสถาบันแห่งนี้   ในโพสต์บนโลกออนไลน์ของหญิงสาวคนดังกล่าวเผยว่า เธอถูกแม่ของตัวเองหลอกให้เข้ามารับการรักษาที่สถาบันแห่งนี้ในปี 2014…

  • ย้อนประวัติศาสตร์… 15 ภาพเล่าเรื่องจาก “ค่ายกักกัน” อันโหดร้าย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

    ย้อนประวัติศาสตร์… 15 ภาพเล่าเรื่องจาก “ค่ายกักกัน” อันโหดร้าย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

    ถ้าพูดถึงบุคคลในประวัติศาสตร์ รับรองได้ว่าชื่อของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำนาซีและผู้อยู่เบื้องหลังการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวจะต้องเป็นชื่อแรกๆ ที่ลอยเข้ามาในหัวอย่างแน่นอน   การฆ่าล้างเผา่พันธุ์ชา่วยิวในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น ได้คร่าชีวิตชาวยิวมากกว่า 6 ล้านคน ซึ่งชาวยิวจากทั่วยุโรปจะถูกนำไปยังค่ายกักกัน จากนั้นพวกเขาทั้งหมดก็ถูกนำไปรมแก๊สพิษจนตาย ค่ายกักกันที่แรกก็คือ ค่ายกันกันเบวเชตซ์ ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับเมืองลูบลิน ในประเทศโปแลนด์ ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1942 และนอกจากค่ายกักกันเบวเชตซ์ ยังมีค่ายกักกันอื่นๆ อีกถึง 5 ค่ายเลยทีเดียว แต่ค่ายที่ใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า ค่ายกักกันเอาชวิทซ์   ภาพของค่ายกักกันเอาชวิทซ์  ที่ถูกปลดปล่อยเมื่อ 72 ปีที่แล้ว   เพียงแค่ค่ายกักกันเอาชวิทซ์เพียงแห่งเดียว ก็พรากชีวิตผู้คนไปถึง 1.1 ล้านคน และเมื่อวันที่ 27 มกราคมที่ผ่านมาก็เป็นวันรำลึกถึงเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นั่นเอง เราเลยจะมาย้อนดูภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นี้กัน   ภาพเดินสวนสนามของเหล่าทหาร ที่ถือคบเพลิงไปด้วยด้านนอกประตูบรันเดนบูร์ก ในเบอร์ลิน เพื่อเฉลิมฉลองที่ฮิตเลอร์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี   ภาพของทหารชุทซ์ชทัฟเฟิลที่ลำเลียงชาวยิวไปยังค่ายกักกัน ผ่านถนนในเบอร์ลินในปี ค.ศ. 1934   ภาพของชาวโปแลนด์ ที่ถูกสังหารโดยทหารเยอรมัน ในปี…

  • นำภาพเหตุการณ์จริง ใส่ในภาพปัจจุบันของ “ค่ายกักกันชาวยิว” สะท้อนความโหดร้ายของสงคราม

    นำภาพเหตุการณ์จริง ใส่ในภาพปัจจุบันของ “ค่ายกักกันชาวยิว” สะท้อนความโหดร้ายของสงคราม

    สงครามโลกครั้งที่ 2 แม้จะผ่านนับ 60 ปีแล้ว แต่ผลกระทบจากการสู้รบและความโหดร้ายของสงครามก็ยังคงส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพำะเรื่องราวของ “ค่ายกักกัน” ที่ไม่ว่ากี่ครั้งที่เราได้ยินเรื่องราว ก็ยังทำให้เราสงสัยว่า มนุษย์สามารถโหดร้ายต่อกันได้ถึงขนาดนี้เชียวหรือ ล่าสุด ศิลปินหนุ่ม Dan Burkhardt ได้นำภาพของค่ายกักกันดาเคาในเยอรมันนีที่ถ่ายในช่วงยุคสงครามโลก มาผสมกับภาพที่ถ่ายในปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นถึงความโหดร้ายของค่ายกักกันเหล่านั้น     ค่ายกักกันดาเคาเป็นค่ายกักกันแห่งแรกที่เปิดขึ้นในเยอรมันนี ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับโรงงานผลิตอาวุธในเมืองมิวนิก รัฐบาวาเรีย โดยข้ออ้างที่รัฐบาลในขณะนั้นแถลงแก่ประชาชนถึงจุดประสงค์ของค่ายกักกันนี้คือเพื่อ “คุมขังนักโทษทางการเมือง”     แต่หลังจากสงครามโลกเริ่มต้นขึ้น ค่ายกักกันแห่งนี้ก็กลายเป็นที่คุมขังของเหล่านักโทษจากชาติที่กองทัพเยอรมันเข้ายึดครอง รวมทั้งชาวยิวที่ฮิตเลอร์จงเกลียดจงชังอีกด้วย     ว่ากันว่าตลอดระยะเวลา 12 ปีที่ค่ายกักกันแห่งนี้ถูกใช้งานโดยกองทัพเยอรมัน มีผู้เสียชีวิตกว่า 200,000 คน โดยหนึ่งในสามเป็นชาวยิวที่ถูกจับตัวมา และอีกสองในสามเป็นเหล่านักโทษทางการเมือง สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่มาจากโรคระบาด ทุพโภชนาการ และอัตวินิบาตกรรม     ภายหลังเยอรมันพ่ายแพ้สงคราม กองทัพอเมริกาจึงเข้ามาควมคุมค่ายกักกันแห่งนี้ และเปลี่ยนให้กลายเป็นที่คุมตัวเหล่าทหารเอสเอส ซึ่งเป็นทหารที่ขึ้นตรงต่อฮิตเลอร์ ที่กำลังรอการพิจารณาโทษ     จนในปี 1960 ค่ายกักกันแห่งนี้ก็ถูกปิดโดยสมบูรณ์ และมีการก่อสร้างอนุสรณ์สถานขึ้นหลายแห่งในพื้นที่ค่ายกักกันแห่งนี้  …