Tag: กยศ.

  • เปิดใจ “ลูกศิษย์ครูวิภา” หลังชาวเน็ตรุมประณาม ค้าง 20,000 เดี๋ยวจ่าย อย่าด่าถึงลูกเมีย

    เปิดใจ “ลูกศิษย์ครูวิภา” หลังชาวเน็ตรุมประณาม ค้าง 20,000 เดี๋ยวจ่าย อย่าด่าถึงลูกเมีย

    เรื่องราวที่ถูกพูดถึงอย่างต่อเนื่องในกรณีการค้างชำระหนี้กยศ. ของลูกศิษย์ ครูวิภา บานเย็น ในจังหวัดกำแพงเพชร อยู่ในขั้นตอนไกล่เกลี่ยเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งหลังจากที่เรื่องราวถูกเปิดเผยออกมาตามสื่อต่างๆ แล้ว ในส่วนของโลกออนไลน์ก็ได้ทำการแฉรายชื่อลูกศิษย์ที่ยังคงค้างอยู่ออกมา…     เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมาในรายการ ทุบโต๊ะข่าว จากช่องอมรินทร์ทีวี ได้นำเสนอประเด็นต่อเนื่องหลังจากที่มีการขุดคุ้ยในโลกออนไลน์ เปิดเผยรายชื่อศิษย์ที่ยังคงค้างชำระ ซึ่งตอนนี้มีลูกศิษย์ติดต่อกลับมายังครูวิภาแล้ว 11 คน ปิดยอดไปแล้ว 2 ราย และยังคงเหลืออีก 9 รายกำลังทยอยชำระ     สาเหตุที่ลูกศิษย์ไม่ได้ชำระหนี้นั้น ครูวิภาได้รับแจ้งจากลูกศิษย์ว่าบางคนอยู่ต่างประเทศ และต่างจังหวัดจึงไม่ได้รับจดหมายหรือเอกสารใดๆ จนกระทั่งเกิดเป็นเรื่องใหญ่โต…     ส่วนในเรื่องของศิษย์ที่มีรถเก๋งขับ กินอยู่สบายนั้น ครูวิภาไม่คิดโกรธหรือเอาเรื่องใดๆ อาจจะเป็นเพราะความจำเป็น แต่อยากให้ลูกศิษย์นั้นมีความรับผิดชอบกับหน้าที่ของตนเอง     ทางด้านนายวสรรณ หนึ่งในลูกศิษย์ที่ถูกเปิดเผยรายชื่อและภาพชีวิตส่วนตัว ให้การยอมรับว่ามีความจำเป็นต้องกู้เงินจาก กยศ. ในปี 41-42 เพื่อเรียนหนังสือ และให้ครูวิภาเป็นผู้ค้ำประกัน จนกระทั่งเรียนจบแล้วก็มาหางานทำในกรุงเทพฯ ตนจึงไม่ทราบว่าจะสามารถชำระเงินกู้ได้อย่างไร เนื่องจากไม่ได้รับเอกสารแจ้งหนี้ มาพบภายหลังว่าถูกส่งไปให้ผู้ใหญ่บ้านและพ่อแม่ไม่ทราบเรื่อง…

  • สรุปให้เข้าใจง่ายๆ 8 ข้อ ร่างกฎหมาย กยศ. ฉบับเก่า vs ใหม่ แตกต่างกันอย่างไร!? กู้ยาก!? ดอกเบี้ยแพง!?

    สรุปให้เข้าใจง่ายๆ 8 ข้อ ร่างกฎหมาย กยศ. ฉบับเก่า vs ใหม่ แตกต่างกันอย่างไร!? กู้ยาก!? ดอกเบี้ยแพง!?

    ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการมีอยู่ของหน่วยงานที่ชื่อ กยศ. (กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา) ทำให้เด็กไทยเป็นแสนเป็นล้านคนสามารถมีทุนการศึกษาเพื่อเล่าเรียนต่อและต่อยอดโอกาสให้กับตัวเอง โดยส่วนตัว#เหมียวฟิ้นเองในช่วงมัธยมก็ได้กู้เพื่อมาเรียนเหมือนกัน แต่คนบางคนเห็นว่ามีดอกเบี้ยที่ต่ำก็เลยเอาเงินไปผ่อนมือถือหรือซื้อของใช้ฟุ่มเฟือยเสียมากกว่า และเมื่อจบการศึกษาไปแล้วกลับไม่ยอมใช้หนี้ กยศ. จนตอนนี้มีรายชื่อผู้ค้างชำระหนี้มากถึง 1.9 ล้านราย   ด้วยเหตุนี้เองทางกยศ.จึงได้เตรียมร่างกฎหมายฉบับใหม่ เพื่อทำให้การกู้ยืมเงินเป็นไปได้ยากขึ้นและสร้างกฎเกณฑ์เพื่อให้คนหันกลับมาชำระหนี้หลังจากที่จบการศึกษาไปแล้ว โดยในร่างกฎหมายฉบับเดิมระบุว่าผู้มีสิทธิ์กู้คือนักเรียนและนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ แต่ในร่างกฎหมายฉบับใหม่นี้จะเพิ่มเงื่อนไขเข้าไปอีก ว่านอกจากจะขาดทุนทรัพย์แล้วจะต้องเป็นนักเรียนนักศึกษาที่เรียนในสาขาที่มีความจำเป็นพ่อประเทศหรือสาขาที่ประเทศกำลังขาดแคลน (ถ้าเรียนตามใจตัวเองก็จะไม่สามารถกู้ได้) และต้องเรียนดีด้วย     ต่อไปนี้จะเป็นการเปรียบเทียบเงื่อนไขการกู้ยืมเงินแบบเก่าและแบบใหม่ดูว่ามีความแตกต่างกันยังไงบ้าง!?   1. เรื่องผลการศึกษา แบบเก่า: เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00 แบบใหม่: เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1.00 จุดนี้จะเห็นได้ว่าเปิดโอกาสให้นักเรียนที่มีผลการเรียนแย่กว่าเดิมสามารถกู้ได้ เหมือนกับการเปิดโอกาส แต่การที่จะมีคนได้เกรด 1.00 หรือ 1.25 แล้วได้เรียนต่อไป (จุดนี้ต้องตั้งคำถามว่ายังมีสถาบันที่เปิดโอกาสให้เรียนต่อไปอีกหรือไม่ เพราะบางสถาบันเกรดต่ำกว่า 1.75 หรือ 2.00 ก็จะถูกบังคับออกแล้ว)   2. ดอกเบี้ย แบบเก่า: ดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี แบบใหม่: ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จากเดิมที่เงินกู้ กยศ.…

  • เซ็งหนัก!! กยศ. มียอดหนี้ค้างชำระพุ่งสูง แม้ลูกหนี้จะมีงานและมีเงิน แต่ตั้งใจที่จะไม่จ่าย

    เซ็งหนัก!! กยศ. มียอดหนี้ค้างชำระพุ่งสูง แม้ลูกหนี้จะมีงานและมีเงิน แต่ตั้งใจที่จะไม่จ่าย

    ถือว่าเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาได้เป็นอย่างดี สำหรับนักเรียนหรือนักศึกษาที่ไม่มีเงินทุนสำหรับการใช้จ่ายในการเล่าเรียน ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายประจำวัน ค่าเทอมหรืออะไรก็แล้วแต่ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดเลยล่ะ     ทั้งนี้การกู้ยืมเงินจาก กยศ. นั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิด จึงทำให้มีจำนวนผู้กู้ยืมเป็นจำนวนมาก และสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นก็ตามมา นั่นก็คือการไม่ชำระหนี้หลังจากจบการศึกษาและมีงานทำแล้ว     โดยมีการเปิดเผยจากทาง กยศ. ว่า ณ ขณะนี้มียอดผู้ที่ครบกำหนดและอยู่ระหว่างชำระหนี้ 2,185,133 ราย ค้างชำระหนี้อีก 1,205,626 ราย โดยกำลังทำการเร่งติดตามอยู่ ซึ่งสาเหตุหลักของผู้ที่ไม่มาชำระหนี้ก็คือไม่มีงานทำจึงทำให้ไม่มีเงินมาชำระหนี้ และอีกหนึ่งสาเหตุก็คือ มีงานทำและมีเงินเดือน แต่ตั้งใจที่จะไม่ชำระหนี้     ทั้งนี้สถิติสาขาที่มีผู้ค้างชำระมากที่สุดก็ได้ถูกเปิดเผยออกมาแล้ว นั่นก็คือ กลุ่มสาขาสังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ โดยรวม 72% กลุ่มสาธารณสุข/พยาบาลอีก 57% และกลุ่มแพทย์ศาสตร์อีก 51% จะเห็นได้ว่าจำนวนเกินครึ่งทุกกลุ่ม     เหมียวว่าการที่มีผู้เบี้ยวหนี้เยอะขนาดนี้อาจจะเป็นเพราะรุ่นพี่บอกต่อรุ่นน้องว่าไม่จำเป็นต้องชำระก็ได้ หรือไม่ก็ผลัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ หรือเห็นยอดหนี้ที่เยอะเกินจนไม่อยากจะจ่าย ทั้งที่ดอกเบี้ยก็ไม่ได้สูงเลย ถ้าขืนปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ รุ่นน้องก็จะไม่มีเงินกู้เรียนอย่างแน่นอน…