นักวิทย์ไขปริศนาความตายที่ “ประตูสู่นรก” เมืองเฮียราโปลิส แท้จริงแล้วเกิดจากก๊าซคาร์บอน

ในอดีต ทางตอนใต้ของประเทศตุรกี มีวิหารที่ถูกเรียกโดยชาวกรีกและโรมันโบราณว่า “ประตูสู่นรก”

นั่นเพราะตลอดหลายปีหลังจากที่มีการสร้างวิหารดังกล่าวขึ้น ก็มีคนจำนวนมากเสียชีวิตไปโดยไม่ทราบสาเหตุ ในตอนที่เขาไปในวิหารแห่งนี้ ราวกับว่าถูกอะไรบางอย่างลากไปสู่ความตายไม่มีผิด

 

 

นี่เป็นเรื่องเล่าที่เกิดขึ้นในเมืองเฮียราโปลิสในยุคสมัยของกรีก-โรมันเมื่อราวๆ 2,000 ปีก่อน และกลายเป็นเรื่องเล่าชวนขนหัวลุกที่ทำให้คนโบราณหวาดกลัวที่แห่งนี้จนแทบจะไม่มีใครกล้าเข้าใกล้

อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไป ในที่สุดนักวิทยาศาสตร์ก็สามารถไขปริศนาความตายของคนในพื้นที่วิหารแห่งนี้ได้สำเร็จ และแน่นอนว่าความตายของคนในสมัยก่อนนั้น ไม่ได้มาจากลมหายใจของเจ้าแห่งนรกแต่อย่างไร

 

 

สิ่งที่อยู่เบื้องหลังความตายของคนในสมัยก่อนมันอยู่ที่ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้ๆ ทางเข้าของวิหารเองต่างหาก

เพราะจากการตรวจสอบของทีมนักวิทยาศาสตร์ ในพื้นที่ใต้วิหารแห่งนี้มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หนาแน่นถึง 91% ซึ่งมากพอที่จะทำให้มนุษย์เห็นภาพหลอน หรือเสียชีวิตได้อย่างไม่ยาก

โดยในเบื้องต้นนักวิทยาศาสตร์คาดว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เหล่านี้น่าจะมาจากแนวรอยเลื่อน Badadag ในชั้นเปลือกโลก ซึ่งบังเอิญพาดผ่านพื้นที่วิหารนี้พอดี

 

 

ระดับความหนาแน่นของก๊าซที่พบทำให้ จึงไม่แปลกเลยที่ชาวกรีก-โรมันจะบันทึกเกี่ยวกับโบราณสถานแห่งนี้ไว้ว่า “สัตว์ใดๆ ก็ตามที่ผ่านประตูเข้าไปจะต้องพบกับความตายในทันที เมื่อข้าปานกกระจอกเข้าไป มันก็หายใจเฮือกสุดท้ายและสิ้นลม”

เพราะแม้ว่าเวลาจะผ่านไปนานแล้วก็ตาม ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบริเวณก็ไม่ได้มีวี่แววว่าจะลดลงไปเลย

ว่ากันตามตรงในตอนที่มีการค้นพบวิหารในปี 2013 นักโบราณคดียังสังเกตเห็นว่าที่รอบๆ ปากทางเข้าวิหาร มีนกจำนวนมากตายอยู่ใกล้ๆ

 

 

จริงอยู่ว่านี่อาจจะเป็นโชคร้ายของเหล่าสัตว์อยู่บ้าง แต่อย่างน้อยๆ ความตายของพวกมันก็ทำให้นักโบราณคดีรับรูปถึงอันตรายของที่แห่งนี้ ก่อนที่จะสายเกินไป

และแม้ว่าที่แห่งนี้จะไม่ได้มีพลังของเทพแห่งความตายอยู่จริงๆ ก็ตาม แต่จากความอันตรายของมันก็ทำให้ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเลย ที่คนในสมัยก่อนจะยกย่องให้ที่แห่งนี้เป็นวิหารของเฮดีสไป

 

ที่มา allthatsinteresting, timebiblicalarchaeology และ nypost

Comments

Leave a Reply