“เซซิเลีย เพย์น-กาปอชกิน” หญิงผู้พิสูจน์ส่วนประกอบดวงอาทิตย์ แต่กลับถูกโลกลืม

ถ้าจู่ๆ พูดชื่อ “เซซิเลีย เพย์น-กาปอชกิน”  (Cecilia Payne-Gaposchkin) ขึ้นมาคงมีคนไม่น้อยเลยที่ทำหน้าสงสัยว่าเธอคนนี้เป็นใครกัน ทั้งๆ ที่เธอนั้นเป็นเจ้าของการค้นพบครั้งใหญ่สุดๆ ครั้งหนึ่งเลยด้วยซ้ำ

 

 

นั่นเพราะในปี 1925 เซซิเลียเป็นหญิงสาวคนแรกผู้เขียนวิทยานิพนธ์พิสูจน์ว่าดวงอาทิตย์นั้นมีส่วนประกอบหลักเป็นฮีเลียม และไฮโดรเจน ในขณะที่เธออยู่ได้เพียง 25 ปีเท่านั้น

นี่นับเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่มากเลยก็ว่าได้ แต่เคยสงสัยกันไปว่าทำไม ชื่อของเซซิเลียกลับแทบไม่มีการพูดถึงเลย ทั้งๆ ที่มีผลงานยิ่งใหญ่ขนาดนั้น

 

 

เรื่องของเรื่องคือ เซซิเลียมีชีวิตอยู่ในสมัยที่สังคมมีความเหลื่อมล้ำทางเพศสูง ดังนั้นแม้ว่าเธอจะได้เป็นนักวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดก็ตาม แต่งานวิทยานิพนธ์ของเธอก็ถูกตั้งคำถามอย่างหนักอยู่ดี เนื่องจากเขียนโดยผู้หญิง และปฏิเสธแนวคิดเดิมๆ แบบสุดโต่ง

นั่นทำให้เพื่อนนักดาราศาสตร์ของเธอ “เฮนรี นอร์ริส รัสเซลล์” แนะนำไม่ให้เธอนำเสนอวิทยานิพนธ์ของตัวเองไป ซึ่งมันจะไม่มีปัญหาเลยถ้าเขาไม่นำมันวิทยานิพนธ์ที่ว่านั้นไปตีพิมพ์ในฐานะผลงานของตัวเองในเวลาต่อมา

 

 

การกระทำของเฮนรีทำให้ เซซิเลียไม่ได้รับชื่อเสียงอย่างที่เธอสมควรจะได้รับ และกว่าที่นักดาราศาสตร์คนอื่นๆ จะรู้ความจริงที่ว่า เซซิเลียเป็นคนเขียนวิทยานิพนธ์ฉบับนั้น เฮนรีก็ได้ใช้ชีวิตกับชื่อเสียงที่เขาขโมยมาอยู่นานทีเดียว

เท่านั้นยังไม่พอเพราะนี่ไม่ใช่ครั้งเดียวที่เธอถูกแย่งผลงานไป การค้นพบปรากฏการณ์สตาร์คของเธอเองก็เคยถูกยับยั้งการตีพิมพ์ จนถูกนักวิทยาศาสตร์คนอื่นนำเสนอการค้นพบตัดหน้าไปก่อนเช่นกัน

 

 

นับว่าโชคดีมากที่ชีวิตหลังจากนั้นของเซซิเลียไม่ได้เลวร้ายลงไปกว่านั้น เพราะหลังจากเรื่องร้ายๆ ในชีวิต ในที่สุดเธอก็ได้รับตำแหน่งนักดาราศาสตร์อย่างเป็นทางการไปในปี 1938

เท่านั้นยังไม่พอเพราะหลังจากนั้นมา เซซิเลียก็ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จนในปี 1956 เธอก็ได้เป็นผู้หญิงของแรกที่ได้เป็นผู้อำนวยการภาควิชาดาราศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเลยทีเดียว

 

 

เซซิเลีย เพย์น-กาปอชกิน เสียชีวิตไปในวันที่ 7 ธันวาคม 1979 และแม้ว่าเธอจะไม่ได้เป็นผู้หญิงที่ได้รับชื่อเสียเป็นที่จดจำอย่างที่ควรก็ตาม แต่เธอก็แสดงให้โลกเห็นแล้วว่า เธอเป็นนักดาราศาสตร์หญิงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งเลยนั่นเอง

 

ที่มา boredpandabritannica

Comments

Leave a Reply