“ภาพถ่ายหลังจากชันสูตรศพ” ภาพแปลกจากศตวรรษที่ 19 ที่ถ่ายคนตายเหมือนยังมีชีวิต

การเอาศพคนตายมาถ่ายรูปกับครอบครัว อาจจะเป็นเรื่องที่ฟังดูแปลกๆ ในปัจจุบัน แต่รู้หรือไม่ว่าในช่วงศตวรรษที่ 19 การถ่ายรูปในรูปแบบนี้ไม่เพียงแต่เป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่การถ่ายภาพแบบนี้ยังเป็นที่นิยมกว่าที่คิดด้วย

ที่เป็นเช่นนี้นั้นคาดว่าเป็นเพราะการถ่ายภาพในสมัยนั้นเป็นเรื่องที่ใช้เงินค่อนข้างสูง ในหลายๆ ครั้งคนจึงไม่มีโอกาสได้ถ่ายรูปเลยทั้งชีวิต ทำให้ครอบครัวมักจะถ่ายรูปให้แก่คนที่รักเป็นครั้งสุดท้าย เพื่อเป็นเครื่องจดจำของคนที่จากไป

 

 

ภาพในรูปแบบนี้มักถูกเรียกกันว่า “Post-mortem Photography” หรือ “ภาพถ่ายหลังจากชันสูตรศพ” และเชื่อกันว่าเกิดขึ้นครั้งแรกๆ ในปี 1839

โดยในช่วงแรกๆ การถ่ายภาพหลังจากชันสูตรศพ จะไม่มีการแต่งศพใดๆ เลยด้วย จริงอยู่ที่อาจจะมีการเปลี่ยนชุดอยู่บ้าง แต่จะไม่มีการแต่งหน้าศพแต่อย่างใด

 

 

เป็นไปได้ว่าที่การถ่ายรูปแบบนี้กลายเป็นที่นิยมขึ้นมาได้ง่าย มาจากการที่คนในสมัยก่อนมักจะตายกันที่บ้านมากกว่าที่โรงพยาบาล ทำให้พวกเขาสามารถเรียกช่างภาพมาถ่ายภาพได้ง่าย แถมยังสามารถจัดฉากหลังให้สวยงามได้ด้วย

 

 

อย่างไรก็ตามภาพถ่ายที่มีการแต่งหน้าและจัดท่าทางของศพนั้น เกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 อีกที โดยในช่วงนี้คนจะมีการจัดท่าทาง ตัดผม หรือแม้กระทั่งเปิดตาศพเพื่อให้เหมือนกับว่ายังมีชีวิตเลยทีเดียว

 

 

และก็เป็นในช่วงนี้เองที่มีภาพถ่ายหลังจากชันสูตรศพปรากฏออกมาเป็นจำนวนมาก และท่าทางกับวิธีการจัดภาพของศพเองก็มีทั้งที่แปลกๆ และสร้างสรรค์มากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน

 

 

การถ่ายภาพในรูปแบบนี้ค่อยๆ ได้รับความนิยมลดลงเรื่อยๆ ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 จากการที่การตายมักจะเกิดขึ้นในโรงพยาบาลมากขึ้น และการถ่ายภาพกลายเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย และราคาถูกขึ้น

และแล้วในที่สุดการภาพถ่ายหลังจากชันสูตรศพก็เลือนหายไปตามกาลเวลาในที่สุด

 

 

ที่มา history

Comments

Leave a Reply