“การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา” เหตุการณ์ประชาชนเข่นฆ่ากันเองสุดโหด ที่โลกหลงลืม

เคยได้ยินเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดากับรึเปล่า นี่เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่กินเวลาราวๆ 100 วันในช่วงปี 1994 และน่าแปลกที่แทบไม่มีใครเข้าไปหยุดยั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเลย ทั้งที่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในยุคสมัยใหม่

 

 

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศรวันดา ซึ่งในสมัยก่อนเคยถูกปกครองโดยเบลเยียม และเป็นที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองสองชนเผ่าใหญ่ๆ ได้แก่เผ่าทุตซี และเผ่าฮูตู

โดยจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งในประเทศเกิดจากการที่ในสมัยที่ประเทศรวันดายังคงเป็นเมืองขึ้นอยู่ เผ่าทุตซีที่มีจำนวนน้อยกว่าเผ่าอื่นๆ กลับเป็นชนชั้นปกครองของประเทศ และได้รับอภิสิทธิ์เหนือชนเผ่าอื่นๆ (เช่นเผ่าฮูตูที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศ)

แต่เรื่องราวกันก็เลวร้ายขึ้นไปอีกเมื่อเบลเยียม สั่งให้ชนพื้นเมืองในพื้นที่ลงทะเบียนว่าตนเองเป็นคนจากเผ่าไหนกันแน่ระหว่าง เผ่าฮูตูและเผ่าทุตซี

 

 

แน่นอนว่าการกระทำเหล่านี้บ่มเพาะความไม่พอใจแก่เผ่าฮูตูเป็นอย่างมาก ดังนั้นเมื่อประเทศรวันดาได้รับอิสรภาพจากเบลเยียม รัฐบาลชาวทุตซีก็ต้องเจอกับการปฏิวัติของชาวฮูตูแทบจะในทันที

การปฏิวัติในครั้งนี้ ทำให้ชาวทุตซีจำนวนมากต้องออกจากประเทศไป หรือไม่ก็กลายเป็นกลุ่มต่อต้าน และแน่นอนว่าชาวฮูตูก็กดขี่ชาวทุตซีคืนเช่นกัน จนทำให้รวันดาตกอยู่ในภาวะความขัดแย้งระหว่างชนเผ่าเป็นเวลานาน

 

 

ความขัดแย้งในประเทศดำเนินเรื่อยมาจนกระทั่งประธานาธิบดี จูเวนาล ฮับยาริมานา ของฮูตูพยายามเจรจาสันติภาพกับชาวทุตซี แต่กลับถูกมิซไซล์ยิงถล่มเครื่องบินจนเสียชีวิตไปเสียก่อน

ที่มาของมิซไซล์นั้นเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ค่อนข้างมาก เพราะมีแนวคิดที่ว่าจริงๆ แล้วมิซไซล์เหล่านี้ถูกยิงมาจากทหารฮูตูหัวรุนแรง ที่ไม่พอใจในการเจรจาสันติภาพเสียเอง

แต่แม้ว่าจะยังไม่อาจมั่นใจได้ว่าใครกันแน่ที่เป็นคนสังหารประธานาธิบดี ประชาชนจำนวนมากก็มองว่านี่เป็นความผิดของชาวทุตซี และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวรวันดาด้วยมือชาวรวันดาไป

 

 

การฆ่าล้างสังหารในครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากทั้งสองฝ่ายร่วมแล้วกว่า 800,000 ราย และกลายเป็นหนึ่งในโศกนาฏกรรมที่เลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งของมนุษยชาติไป โดยที่แทบจะไม่มีใครเลยที่กล้าพอจะยื่นมือมาหยุดยั้ง

สุดท้ายแล้วการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในครั้งนี้ก็จบลงด้วยการเข้ายึดอำนาจจากกองกำลังของชาวทุตซีที่นำโดยนายพอล คากาเม ก่อนที่เจ้าตัวจะขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนต่อไปในเวลาต่อมา

 

 

ตั้งแต่วันนั้นมาประเทศรวันดาก็ค่อยๆ พัฒนาขึ้น ด้วยความพยายามของรัฐบาลในการลดความขัดแย้งกันเองในประเทศ ตั้งแต่การให้แต่ละชนเผ่ามีที่นั่งในสภาอย่างเหมาะสม ไปจนถึงการช่วยเหลือประชาชนทุกฝ่ายที่เดือดร้อน

จริงอยู่ว่าในทางการเมืองนายพอล คากาเมจะดูเป็นเผด็จการอยู่บ้าง แต่ผลงานการเยียวยาประเทศที่กำลังบอบช้ำของเขาก็เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้เลยเช่นกัน

 

 

นั่นทำให้ในทุกวันนี้ รวันดาไม่เพียงแต่กลายเป็นประเทศที่มีความมั่นคงไป แต่พวกเขานั้นยังได้กลายเป็นแหล่งลงทุนอันดับต้นๆ ของแอฟริกา มีอัตราอาชญากรรมต่ำมาก และอัตราการอ่านออกเขียนได้ ก็สูงเป็นอันดับต้นๆ ของทวีปแอฟริกาเลยทีเดียว

 

ที่มา allthatsinteresting

Comments

Leave a Reply