5 อาหารในช่วงยุคกลาง ที่ในปัจจุบันดูยังไงก็เป็นของแปลก นี่มันเปิบพิสดารชัดๆ

ว่ากันว่าวัฒนธรรมการทานอาหารของแต่ละประเทศ จะเปลี่ยนไปตามวัตถุดิบที่พวกเขามี ดังนั้นอาหารที่ดูเป็นเรื่องธรรมดาของที่หนึ่ง อาจจะดูเป็นของเปิบพิสดารของอีกที่ได้ไม่ยาก เพราะต่อให้เป็นสถานที่เดียวกันเมื่อเวลาผ่านไปมุมมองที่คนมีต่อการกินก็เปลี่ยนไปตามกาลเวลาได้เช่นกัน

ดังเช่นอาหารธรรมดาๆ ในช่วงยุคกลาง แต่สำหรับในปัจจุบัน ดูยังไงก็มันก็เป็นของแปลกชัดๆ อย่างเช่นเมนูต่อไปนี้

 

บีเวอร์

ในช่วงยุคกลางมีความเชื่อกันว่าหางของบีเวอร์เป็น “ของเย็น” และสามารถทานได้ในช่วงเทศกาลมหาพรต (ที่มีการทำศีลอดเนื้อ)

แถมต่อมาในศตวรรษที่ 17 ทางโบสถ์ก็ออกมาบอกว่าไม่ใช่แค่หางของบีเวอร์เท่านั้นที่ทานได้ในเทศกาลมหาพรต แต่เป็นบีเวอร์ทั้งตัวเลย เนื่องจากทางโบสถ์อ้างว่าบีเวอร์นั้นเป็น “ปลา” เพราะมันว่ายน้ำได้เร็วมากนั่นเอง (ศีลอดเนื้อของคริสต์ไม่ห้ามทานปลา)

ที่มา scientificamerican

 

หงส์ย่าง

แม้ว่าหงส์ย่างอาจจะไม่ใช่อะไรที่แปลกเท่าไหร่สำหรับบางคน แต่ก็ไม่ใช่อาหารที่เห็นกันได้บ่อยๆ เช่นกัน โดยในช่วงศตวรรษที่ 14 ในอังกฤษจะมีวิธีเตรียมหงส์ย่างแบบแปลกๆ ด้วยการถลกหนังหงส์ไปย่าง ก่อนจะเอาหนังและขนกลับมาคลุมไว้ก่อนนำไปเสิร์ฟ ซึ่งจะทำให้ดูเหมือนหงส์ยังมีชีวิตอยู่เลยนั่นเอง

ที่มา innatthecrossroads

 

แมวย่าง

อีกหนึ่งของอาหารแปลกในอดีต โดยการเตรียมอาหารเริ่มจากการตัวหัวแมวทิ้งเนื่องจากสมัยก่อนเชื่อกันว่ากินไม่ได้ เพราะหากทานสมองแมวเอาไปคนทานจะเป็นบ้า

จากนั้นก็ควักเครื่องในออกและล้างทำความสะอาดเนื้อก่อนจะเอาไปฝังหนึ่งวันแล้วค่อยนำมาย่างตามปกติ

ที่มา medievalcookery

 

ไก่ร้องเพลง

เมนูนี้ต้องบอกว่าไม่ได้แปลกที่ไก่ แต่แปลกที่การเตรียมอาหาร เพราะจะมีการมัดคอไก่ที่ปรุงเตรียมไว้กับปรอทและกำมะถันทำให้เมื่อนำไปอุ่นให้ร้อน จะมีเสียงเหมือนกับไก่ร้องเพลง

แถมบางครั้งยังมีการเสิร์ฟคู่กับหงส์ ปลา หรือหมูที่พ่นไฟได้จากการเอาสำลีชุบแอลกอฮอล์จุดไฟยัดใส่ในตัวอีกด้วย

ที่มา neatorama

 

ปลาไหล Lamprey

นี่เป็นปลาชนิดหนึ่งที่หน้าตาอัปลักษณ์ แถมยังดูดเลือดเป็นอาหาร อย่างไรก็ตามในสมัยก่อนเจ้าปลาชนิดนี้กลับถูกมองว่าเป็นอาหารอันโอชะ ถึงขนาดที่ว่ากษัตริย์เฮนรี่ที่ 1 แห่งอังกฤษทานมันทั้งๆ ที่โดนหมอสั่งห้ามจนถึงแก่ความตายเลยทีเดียว

ที่มา nanfa

 

ที่มา allthatsinteresting

Comments

Leave a Reply