10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ‘โลกของเรา’ ที่จะทำให้เพื่อนๆ รู้จักกับดาวเบี้ยวๆ ดวงนี้มากขึ้น!!

‘โลก’ก็เปรียบเสมือนเป็นบ้านหลังใหญ่ของเรา ที่มีสิ่งมีชีวิตมากมายเป็นล้านๆ ชีวิตอาศัยอยู่ แน่นอนว่าโลกของเรานั้นกว้างใหญ่ไพศาลและมีเรื่องราวอีกมากมายที่เราอาจจะยังไม่เคยรู้

สำหรับวันนี้ #เหมียวหง่าว อยากจะขอพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกับ ‘โลก’ ที่เป็นเสมือนกับบ้านของเรากันสักหน่อยดีกว่า รับรองว่าเพื่อนๆ จะต้องว้าวอย่างแน่นอน!!

 

1. แผ่นเปลือกโลก ช่วยให้โลกของเรารู้สึกสบายยิ่งขึ้น

 

โลกนั้นเป็นดาวเพียงดวงเดียวในระบบสุริยะที่มี ‘แผ่นเปลือกของดวงดาว’ และมันก็กระจายกันออกไปแบ่งเป็นทวีปต่างๆ

เจ้าแผ่นเปลือกโลกนี้จะมีกระบวนการในการเคลื่อนที่อยู่แทบจะตลอดเวลา และเจ้ากระบวนการนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้โลกของเราสามารถถ่ายเทก๊าซคาร์บอนออกไปสู่นอกชั้นบรรยากาศได้อีกด้วย

เพราะสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในมหาสมุทรเมื่อตายไป ก็จะตกลงไปสู่ที่ก้นของมหาสมุทร และเวลาผ่านไปนานหลายปีก็จะทับถมจนเกิดเป็นคาร์บอน จากนั้นมันก็จะถูกส่งขึ้นไปยังชั้นบรรยากาศและทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ

หากแผ่นเปลือกโลกไม่เคลื่อนไหว กระบวนการระบายคาร์บอนออกไปก็จะไม่เกิดขึ้นและทำให้โลกร้อนระอุ กลายเป็นดวงดาวที่เต็มไปด้วยเปลวไฟก็เป็นได้

 

2. จริงๆ แล้วโลกของเราไม่ใช่ทรงกลม แต่เป็นทรง ‘เกือบกลม’ ต่างหาก!!

 

หลายๆ คนคิดว่าโลกของเรานั้นเป็นทรงกลม แต่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่แบบนั้น เพราะจากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ได้ข้อสรุปมาแล้วว่าโลกของเรามีลักษณะเป็นทรงวงรี

นั่นเป็นเพราะโลกของเรามีการหมุนรอบตัวเองอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้รูปร่างของมันปรับเปลี่ยนไปตามแกนหมุน ซึ่งหากวัดขนาดจากขั้วโลกเหนือไปขั่วโลกใต้จะมีความแตกต่างกับวัดจากเส้นศูนย์สูตรเพียงแค่ 43 กิโลเมตรเท่านั้น

 

3. ในโลกของประกอบไปด้วยธาตุเหล็ก ออกซิเจน และ ซิลิคอน เกือบจะทั้งหมด

 

หากเราจำแนกโลกออกเป็นส่วนๆ จะประกอบไปด้วย เหล็ก 32.1%, ออกซิเจน 30.1%, ซิลิคอน 15.1%, และ แม็กนีเซียม 13.9% แน่นอนว่าเหล็กเกือบทั้งหมด (88%) จะอยู่ในแกนกลางของโลก

 

4. 70% ของพื้นผิวโลกถูกปกคลุมไปด้วยน้ำ

 

เมื่อนักบินอวกาศได้ออกไปเห็นโลกจากนอกอวกาศ พอมองกลับมาที่โลกจะเห็นแต่สีฟ้าเต็มไปหมด โลกจึงถูกขนานนามว่า ‘ดวงดาวสีฟ้า’ หรือ Blue Planet นั่นเอง ส่วนอีก 30% ที่เหลือก็เป็นพื้นดินล้วนๆ ที่โผล่ขึ้นมาเหนือท้องทะเลให้เราเห็น

 

5. ชั้นบรรยากาศของโลกมีความหนาถึง 10,000 กิโลเมตร

 

บรรยากาศของโลกจะมีความหนาแน่นที่สุดที่ราวๆ 50 กิโลเมตรแรกเท่านั้น แต่หลังจากนั้นก็จะค่อยเบาบางลงไล่ไปถึงนอกอวกาศ ซึ่งมีความหนามากถึง 10,000 กิโลเมตรเลยทีเดียว

ชั้นบรรยากาศเหล่านี้จะแบ่งออกเป็น 5 ชั้นด้วยกันคือ โทรโพสเฟียร์, สตราโตสเฟียร์, เมโซสเฟียร์, เธอร์โมสเฟียร์, และเอ็กโซสเฟียร์

ในส่วนของชั้นเอ็กโซสเฟียร์ จะอยู่ห่างจากระดับน้ำทะเลราวๆ 700 กิโลเมตรขึ้นไป นับจากตรงนั้นอีกเกือบ 10,000 กิโลเมตรจนถึงในอวกาศก็นับเป็นชั้นบรรยากาศของโลกด้วยเช่นกัน

ในส่วนนี้จะมีความหนาแน่นของไฮโดรเจน, ฮีเลียม, และโมเลกุลต่างๆ ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับชั้นบรรยากาศที่อยู่ใกล้กับผิวโลก

 

6. แกนโลกเป็นตัวสร้างสนามแม่เหล็กขึ้นมา

 

โลกของเรานั้นเปรียบเสมือนกับก้อนแม่เหล็กขนาดใหญ่ ที่มีขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ทำหน้าที่เสมือนเป็นแกนแม่เหล็ก

ซึ่งสนามแม่เหล็กของโลกนี้จะมีความกว้างหลายพันกิโลเมตรจากพื้นโลก นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสนามแม่เหล็กเกิดจากการหลอมละลายหินและธาตุต่างๆ ที่แกนโลก ทำให้เกิดความร้อนและกระแสไฟฟ้าออกมา

และกระแสแม่เหล็กนี้ก็ทำหน้าที่ปกป้องโลกของเราจากลมสุริยะ อยู่ในลักษณะที่เป็นพลังงานคอยปัดเป่าคลื่นพลังงานเหล่านั้นไม่ให้กระทบกับโลกโดยตรง เพราะหากลมนั้นพัดเข้าสู่โลกจะทำให้เกิดการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีอย่างรุนแรง

ขณะเดียวกันเมื่อกระแสลมสุริยะที่คอยปกคลุมโลกของเราอยู่ ก็ช่วยปกป้องโลกของเราจากสิ่งอันตรายต่างๆ ด้วย

 

7. จริงๆ แล้วโลกของเราไม่ได้ใช้เวลาในการหมุนรอบตัวเอง 24 ชั่วโมงแบบเป๊ะๆ หรอกนะ

 

จริงๆ แล้วโลกหมุนรอบตัวเองใช้เวลาที่ 23 ชั่วโมง 56 นาที และอีก 4 วินาที ต่างหากล่ะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าใน 1 วันจะมีเวลาสั้นกว่าที่เราคิด 4 นาทีหรอกนะ

เพราะโลกของเราจะต้องโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นประจำทุกวัน พระอาทิตย์เองก็เคลื่อนที่ด้วยเช่นกัน และเมื่อนำทุกอย่างมาหักลบกันแล้วใน 1 วันก็จะเท่ากับ 24 ชั่วโมงพอดี

 

8. ใน 1 ปี ก็ไม่ได้มี 365 วันแบบเป๊ะๆ หรอกนะ

 

จริงๆ แล้วมันเป็น 365.2564 วันต่างหากล่ะ!! แต่ไอ้จำนวน .2564 เนี่ย จะเกิดขึ้นทุกๆ 4 ปี และนั่นก็เป็นเหตุผลที่ว่าทำไม เราถึงต้องมีวันเพิ่มขึ้นมาในเดือนกุมภาพันธ์นั่นเอง!!

 

9. โลกของเรามีดวงจันทร์ 1 ดวง และดาวเคราะห์น้อยอีก 2 ดวง เป็นบริวาร

 

เราอาจจะรู้กันดีว่าโลกของเรานั้นมีดวงจันทร์ 1 ดวงเป็นบริวาร แต่หากเจาะข้อมูลลึกลงไปอีกจะทราบว่าโลกของเรามีดาวเคราะห์น้อยอีก 2 ดวงที่ทำการโคจรรอบโลกอยู่ มันมีชื่อว่า 3753 Cruithne และ 2002 AA29

ดาวเทียมดวงแรก 3753 Cruitne นั้นจะมีขนาดหน้าตัดประมาณ 5 กิโลมตร และบางครั้งก็ถูกเรียกว่า ‘ดวงจันทร์ดวงที่สองของโลก’ จริงๆ แล้วมันไม่เชิงว่าจะโคจรรอบโลกของเรา แต่เพียงแค่หมุนวนไปเรื่อยๆ ตามเส้นทางของตัวเองเท่านั้น แต่บังเอิ๊ญเส้นทางนั้นดันเป็นรอบโลกของเราพอดี

ส่วนอีกดวงหนึ่งคือ 2002 AA29 มีขนาดหน้าตัดเพียง 60 เมตร ทำการโคจรเป็นรูปเกือกม้ารอบโลก และมันจะเข้าใกล้โลกทุกๆ 95 ปี

 

10. โลกของเราเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียว ที่เรารู้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

 

แม้จากการสำรวจดวงดาวต่างๆ ทั้งดาวอังคาร, ดวงจันทร์ของดาวเสาร์ที่มีชื่อว่า Titan ก็ทำให้พบว่าอาจจะมีร่องรอยของสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

แต่มันก็เป็นเพียงร่องรอยและความน่าจะเป็นเท่านั้น ยังไม่รู้แน่ชัดว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่จริงหรือไม่ แน่นอนว่าขณะนี้เหล่านักวิทยาศาสตร์และองค์กร NASA ก็พยายามตั้งหน้าตั้งตาพัฒนาอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อจับกระแสชีวิตที่อยู่นอกโลกให้ได้

 

เป็นอย่างไรกันบ้างจ๊ะเพื่อนๆ หวังว่าจะได้รับความรู้จากบทความนี้ไปไม่มากก็น้อย ไม่น่าเชื่อว่าโลกของเราก็ยังมีเรื่องราวที่เราไม่รู้มากมายขนาดนี้เลยนะเนี่ย

 

ที่มา : universetoday

Comments

Leave a Reply