คูคลักซ์แคลน “KKK” ที่สุดของความเกลียดชัง ความมืดมิดไร้ที่สิ้นสุดแห่งสหรัฐอเมริกา

เคยเห็นภาพของกลุ่มคนแต่งตัวด้วยหมวกคลุมหน้าแหลมสูงสีขาวกันไหม? เคยเห็นภาพการเผาไม้กางเขนขนาดใหญ่มาก่อนหรือไม่? ไม่ว่าจะเป็นในหนังหรือประวัติศาสตร์ ชื่อเสียงของคนเหล่านี้ก็มีเพียงความโหดร้าย

พวกเขาคือ “คูคลักซ์แคลน” (Ku Klux Klan) หรือ KKK หนึ่งในกลุ่มขบวนการโฉดของสหรัฐอเมริกาที่สนับสนุนความคิดชาตินิยมคนผิวขาว และเชื่อว่าคนขาวเป็นเผ่าพันธุ์ที่สูงส่งที่สุด พวกเขาต่อต้านคาทอลิก และต่อต้านชาวยิว รวมทั้งเหยียดสีผิวอย่างสุดโต่งอีกด้วย

 

 

KKK ปรากฏขึ้นมาในประวัติศาสตร์อยู่สามครั้งใหญ่ๆ โดยเริ่มต้นขึ้นหลังแรกในปลายยุค 1860 แทบจะทันทีหลังจากสงครามกลางเมืองของสหรัฐอเมริกาจบลง และเริ่มออกสร้างความเดือดร้อนแก่ชาวแอฟริกัน-อเมริกัน และคนเชื้อชาติอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำร้ายร่างกาย ข่มขืน เผาทำลายทรัพย์สิน

กลุ่มที่หนึ่งนี้แยกตัวกันไปในช่วงยุค 1870 จากการปราบปรามของรัฐบาลที่นำโดยประธานาธิบดีอูลิเซส เอส. แกรนท์ ทิ้งเอาไว้เพียงหมวกคลุมหน้าแหลมสูงที่กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความน่าหวาดกลัว และโหดร้ายทารุณ

 

KKK ในช่วงยุค 1860

 

KKK กลับมาอีกครั้งในปี 1915 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง คราวนี้อยู่ในพื้นที่เมืองของมิดเวสต์และทางตะวันตก โดยมีรากเหง้าจากชาวโปรเตสแตนต์ท้องถิ่นที่คัดค้านคาทอลิกและยิว ซึ่งการเผาไม้กางแขนอันเป็นเอกลักษณ์ของ KKK ก็เริ่มต้นขึ้นจากกลุ่มนี้

การก่อเหตุของ KKK กลุ่มที่สองนั้นค่อยๆ หายไปตามกาลเวลาก็จริงอยู่ แต่ก็ไม่เคยมีข่าวการสลายตัวอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด และกลายเป็นภาพลักษณ์ของ KKK ที่เราเห็นกันบ่อยที่สุด

 

ชุดขาว หมวกขาว เผาไม้กางเขน นี่คือภาพลักษณ์ที่สร้างออกมาโดย KKK รุ่นปี 1915

 

จนกระทั่งหลังจากปี 1950 ไม่นาน กลุ่ม KKK ก็กลับมาอีกครั้ง แม้ว่าจะไม่สามารถบอกได้ว่านี่เป็น KKK กลุ่มที่สาม หรือว่าเป็นกลุ่มที่สองกลับมากันแน่

กลุ่ม KKK ในครั้งนี้มีชื่อเสียงในการใช้ความรุนแรงและการสังหารเพื่อปราบปรามนักสิทธิพลเมือง โดยในปี 2016 ชื่อกันว่ามีจำนวนสมาชิกทั้งหมดอยู่ที่ราวๆ 9,000 คน

 

 

ดูเหมือนว่า KKK จะเป็นที่รังเกียจของผู้คนหลายๆ ฝั่งเป็นอย่างมาก เพราะแม้แต่กลุ่มแฮกเกอร์ชื่อดังอย่าง Anonymous ยังเคยออกมาประกาศสงครามไซเบอร์กับทาง KKK มาแล้ว อย่างไรก็ตามแม้แต่ในปัจจุบัน ก็ยังไม่มีใครที่สามารถการจัดการกับกลุ่ม KKK อย่างเด็ดขาดได้อยู่ดี

 

 

ที่มา britannicahistorywikipedia

Comments

Leave a Reply